หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระพรชัย สีลเตโช (สิงห์โตแก้ว)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๒ ครั้ง
ความพึงพอใจในการเผยแผ่ธรรมแก่ประชาชนในรายการธรรมะของสถานีวิทยุกระจายเสียงบินหลา จังหวัดภูเก็ต
ชื่อผู้วิจัย : พระพรชัย สีลเตโช (สิงห์โตแก้ว) ข้อมูลวันที่ : ๑๖/๐๒/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ธรรมนิเทศ)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูปลัดสุวัฒนบัณฑิตคุณ
  บุญเลิศ โอฐสู
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

งานวิจัยเรื่อง "ความพึงพอใจในการเผยแผ่ธรรมแก่ประชาชนในรายการธรรมะ ของสถานีวิทยุกระจายเสียงบินหลา จังหวัดภูเก็ต" มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ  (๑) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเผยแผ่ธรรมแก่ประชาชนในรายการธรรมะโดยสถานีวิทยุกระจายเสียงบินหลา จังหวัดภูเก็ต (๒) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อสถานีวิทยุกระจายเสียงบินหลา จ.ภูเก็ต การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)  จากการวิจัยสรุปผลได้ ๔ ประเด็น ดังนี้

 

. ด้านผลที่ได้รับจากการเปิดรับฟังรายการธรรมทางวิทยุของผู้ฟัง ใน ๔ ด้าน พบว่า ด้านความรู้ที่ได้รับของผู้ฟังระดับดีมากเช่น อิทธิบาท ๔ เป็นต้น ด้านการส่งเสริมความเข้าใจอันดีของผู้ฟังระดับดีมากเช่น สังคหวัตถุ ๔ เป็นต้น  ด้านการส่งเสริมการนำหลักธรรมมาใช้ของผู้ฟังระดับดีมากเช่น กุศลกรรมบท ๑๐ เป็นต้น ด้านการประยุกต์ใช้ธรรมเพื่อการพัฒนาชีวิตระดับดีมาก โดยภาพรวมผลของผู้ฟังที่ได้รับในการเปิดรับฟังรายการธรรมระดับดีมากเช่น ศีล ๕ เป็นต้น  โดยภาพรวมผลของผู้ฟังที่ได้รับในการเปิดรับฟังรายการธรรมะ อยู่ในระดับ ดีมาก

 

. ด้านความพึงพอใจของผู้ฟังต่อการเผยแผ่ธรรมทางสถานีวิทยุ พบว่าผู้ฟังมีความพึงพอใจรายการธรรม ระดับดีมาก. ส่วนความพึงพอใจของผู้ฟังด้านเนื้อหารายการระดับดีมากเช่น

การบรรยายธรรมเรื่อง วันสำคัญทางพุทธศาสนา เป็นต้น ด้านการมีส่วนร่วมในรายการระดับดีมาก เช่น การโทรศัพท์เข้ามาสอบถามเกี่ยวกับข้อธรรมต่างๆเป็นต้น   โดยภาพรวมผู้ฟังมีความพึงพอใจต่อรายการธรรมะด้าน เนื้อหา ผู้ดำเนินรายการ การมีส่วนร่วม การออกอากาศ ระดับดีมาก

 

. ด้านความคิดเห็นของผู้ฟังต่อการเผยแผ่ธรรมทางสถานีวิทยุ ผู้ฟังมีความคิดเห็นว่า รายการธรรมมีความหลากหลายมีสาระน่าติดตาม ได้ความรู้ในหลักธรรมนำมาสอนลูก หลาน การเผยแผ่ธรรมทางสถานีวิทยุ ยังน่าสนใจเป็นประโยชน์ และมีความจำเป็นต่อประชาชนอีกช่องทางหนึ่งในการได้รับฟังสาระธรรม การเผยแผ่ธรรมควรให้มีจุดเด่นที่จะสื่อธรรมให้เข้าถึงกลุ่มผู้ฟังกลุ่มใดเป็นหลัก เช่น กลุ่มวัยรุ่น กลุ่มวัยหนุ่มสาว กลุ่มวัยผู้ใหญ่ ผู้นำเสนอธรรมจะได้จัดเนื้อหาธรรม และวิธีการเสนอได้อย่างเหมาะสม เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ฟังรายการธรรมทางวิทยุ

 

. ด้านเกี่ยวกับข้อเสนอแนะของผู้ฟังต่อการเผยแผ่ธรรมทางสถานีวิทยุ ผู้ฟังมีข้อ เสนอแนะว่า การเผยแผ่ธรรมควรมีการเน้นให้มีการพัฒนาเป็นทีมงาน ต้องมีการร่วมกันวางแผนปฏิบัติ ตรวจสอบ และปรับปรุงการเผยแผ่ธรรมอยู่เสมอ ทั้งในส่วนของบุคคล อุปกรณ์ วิธีการ การบริหารจัดการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และคุณภาพของการเผยแผ่ธรรมให้ดียิ่งขึ้นไป

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕