หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหายงยุทธ กนฺตาโภ (เสริมจันทร์)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๖ ครั้ง
วิเคราะห์อัตถิภาวนิยมในพุทธปรัชญาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : พระมหายงยุทธ กนฺตาโภ (เสริมจันทร์) ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๐๒/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระศรีคัมภีรญาณ
  พระมหาพรชัย สิริวโร
  วีรชาติ นิ่มอนงค์
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้ชื่อ “วิเคราะห์อัตถิภาวนิยมในพุทธปรัชญาเถรวาท” มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษามโนทัศน์อัตถิภาวนิยมของ ฌอง-ปอล ซาร์ตร์ (๒) เพื่อศึกษามโนทัศน์อัตถิภาวะนิยมที่ปรากฎในพุทธปรัชญาเถรวาท (๓) เพื่อวิเคราะห์อัตถิภาวะนิยมตามแนวคิดของพุทธปรัชญาเถรวาท การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ

จากการวิเคราะห์วัตถุประสงค์ข้อที่ ๑ พบว่าแนวคิดอัตถิภาวนิยมของซาร์ตร์เป็นปรากฎการณ์วิทยาสองลักษณะคือ (๑) แนวคิดเชิงภววิทยากล่าวถึงภาวะสองอย่าง ได้แก่ ภาวะในตัวเอง กับภาวะเพื่อตัวเอง ภาวะสองชนิดนี้เป็นสิ่งมีอยู่ในโลก (๒) แนวคิดเชิงมนุษยนิยมกล่าวถึงความเป็นมนุษย์ว่าดำรงอยู่ก่อนสารัตถะ ข้อที่ ๒ พบว่าแนวคิดอัตถิภาวะในพุทธปรัชญามีอยู่สองส่วนคือ (๑) แนวคิดเชิงอภิปรัชญากล่าวถึงความมีอยู่ของรูปธรรมและนามธรรมพร้อมทั้งเหตุปัจจัย (๒) แนวคิดเชิงมนุษยนิยมกล่าวถึงความเป็นมนุษย์ว่าเป็นขันธ์ ๕ มิใช่อัตตา มีความทุกข์ ความต้องการ ข้อที่ ๓ พบว่าแนวคิดในพุทธปรัชญาเป็นอัตถิภาวนิยม เพราะให้ความสำคัญในความเป็นมนุษย์ที่มิใช่เพียงแค่มีชีวิตอยู่ แต่ให้ดำรงอยู่อย่างมีสติรู้เท่าทันปรากฏการณ์จึงชื่อว่าดำรงอยู่อย่างมีคุณค่า

ในการวิเคราะห์แนวคิดเรื่องอัตถิภาวนิยม ผู้วิจัยเห็นด้วยกับซาร์ตร์ที่ให้ความสำคัญกับการดำรงอยู่ของมนุษย์ แต่ไม่เห็นด้วยกับประเด็นที่เน้นการดำรงอยู่ของมนุษย์มากเกินไป เพราะการกระทำนั้นจะทำให้มนุษย์ยึดมั่นอัตตา พุทธปรัชญาเถรวาทไม่เพียงแต่ให้ความสำคัญกับคุณค่าของการดำรงอยู่เท่านั้น แต่ยังแนะนำให้คนเราไม่ให้ยึดมั่นถือมั่นตัวตน เพราะว่า เพียงการดำรงอยู่หาใช่เป้าหมายที่แท้จริงไม่ นิพพานต่างหากคือเป้าหมาย

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕