หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » วิจิตร เรือนอินทร์
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๓ ครั้ง
ศึกษาเปรียบเทียบวิธีการสอบสวนวินัยพระสังฆาธิการ กับ วินัยตำรวจ
ชื่อผู้วิจัย : วิจิตร เรือนอินทร์ ข้อมูลวันที่ : ๒๗/๑๒/๒๐๑๖
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูพิพิธสุตาทร
  เทพประวิณ จันทร์แรง
  พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

ดุษฎีนิพนธ์ เรื่องนี้ ผู้วิจัยมีความประสงค์ที่จะศึกษาดังนี้  ๑. วิธีการสอบสวนวินัยพระ-สังฆาธิการ ๒. วิธีการสอบสวนวินัยตำรวจ  ๓. เปรียบเทียบวิธีการสอบสวนวินัยพระสังฆาธิการ กับ วิธีการสอบสวนวินัยตำรวจวินัยเป็นกฎกติกาของสังคมเพื่อให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ส่วนวินัยพระพุทธศาสนานั้น แบ่งเป็น ๒ ประเภท  คือ  (๑) อนาคาริยวินัย คือ วินัยของบรรพชิต ได้แก่  พระภิกษุสงฆ์ เป็นผู้ปฎิบัติโดยยึดถือพระวินัยปิฎก เป็นหลักในการควบคุมประพฤติและปฏิบัติหน้าที่  (๒) อาคาริยวินัย ได้แก่ วินัยคฤหัสถ์เป็นผู้ปฎิบัติ คือ การงดเว้นจากอกุศลกรรมต่างๆ โดยยึดถือจารีตประเพณี  กฎหมายระเบียบ เป็นหลักในการควบคุมความประพฤติและปฏิบัติหน้าที่วิธีการสอบสวนวินัยพระสังฆาธิการ คือ  การลงโทษวินัยทางปกครองของคณะสงฆ์มีอำนาจสอบสวนตามลำดับชั้น โดยอาศัยอำนาจพระราชบัญญัติคณะสงฆ์  พ.ศ.๒๕๐๕  แก้ไขเพิ่มเติม   (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ และ ตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๔ (พ.ศ.๒๕๔๑) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอกถอนพระสังฆาธิการ มีโทษวินัยหรือจริยา ๒ ประเภท (๑) วินัยอย่างร้ายแรง (๒)วินัยไม่ร้ายแรง  มี  ๔ สถาน (๑) ถอดถอนออกจาหน้าที่ (๒) ปลดออกจากหน้าที่  (๓) ตำหนิโทษ  (๔) ภาคทัณฑ์โทษทางนิคหกรรม  มีโทษ  ๒ ประเภท (๑) ให้สึก  (๒) ไม่ให้สึก วิธีการสอบสวนวินัยตำรวจ  คือการลงโทษตำรวจทุกระดับ ชั้น ยศ  มีวินัย ๒ ประเภท  (๑) วินัยอย่างร้ายแรง   (๒) วินัยไม่ร้ายแรง  อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติมใหม่ พ.ศ.๒๕๕๔) มี ๗ สถาน (๑) ไล่ออก   (๒)ปลดออก   (๓) ตัดเงินเดือน   (๔) กักขัง   (๕) กักยาม   (๖) ภาคทัณฑ์ (๗) ทัณฑ์กรรม   และกฎคณะกรรมการข้าราชการตำรวจว่าด้วยการสอบสวนพิจารณาพ.ศ.๒๕๔๗ 

เมื่อนำมาเปรียบเทียบวิธีการสอบสวนวินัยพระสังฆาธิการกับวิธีการสอบสวนวินัยตำรวจ  ผู้วิจัย พบว่ามีหลักการที่สำคัญ ซึ่งมีความแตกต่างกัน  มี ๘ ประการ ดังนี้  (๑) การเป็นเจ้าพนักงาน   (๒) ประเภทวินัย  (๓) วิธีการลงนิคหกรรมกับการสอบสวน  (๔) การพิจารณาอธิกรณ์กับการสอบสวน  (๕) ระยะเวลาการลงนิคหกรรมกับการสอบสวน  (๖) การอ้างพยาน หลักฐาน        (๗) การมีสิทธิของ ผู้ถูกกล่าวหา  (๘) การลงโทษทางวินัย ซึ่งรายละเอียดเป็นเรื่องที่น่าศึกษาต่อไป.

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕