หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ธงชัย สิงอุดม
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๔ ครั้ง
การพัฒนาภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๘
ชื่อผู้วิจัย : ธงชัย สิงอุดม ข้อมูลวันที่ : ๒๗/๑๒/๒๐๑๖
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  เติมศักดิ์ ทองอินทร์
  สุรพล สุยะพรหม
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

          วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้มี ๓ ประการคือ ๑) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการมี ภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค ๘  ๒) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรม และทฤษฎีภาวะผู้นำที่เหมาะสมในการพัฒนาภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการ ๓) เพื่อนำเสนอการบูรณาการในการพัฒนาภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค ๘  

          ระเบียบวิธีวิจัยครั้งนี้เป็นแบบผสม (Mixed Research Method) โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณโดยการแจกแบบสอบถาม คือ พระสังฆาธิการในเขต ปกครองคณะสงฆ์ ภาค ๘ จำนวน ๒๙๗ รูป วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) การหาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจง จำนวน ๑๕ คน และจากการสนทนากลุ่มของผู้เชี่ยวชาญพิเศษจำนวน ๗ รูป/คน โดยวิธีวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการอุปนัยวิเคราะห์และการพรรณนาความ

 

               ผลการวิจัยพบว่า

สภาพทั่วไปของการมีภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค ๘ พบว่า ได้แก่ ๑) ภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการด้านการมีวิสัยทัศน์กว้างไกล มองสภาพการณ์ออก (จักขุมา) ๒) ภาวะผู้นำด้านความชำนาญในงาน (วิธุโร ๓) ภาวะผู้นำด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ดี (นิสสยสัมปันโน) และการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักธรรมสังฆโสภณสูตร อยู่ในระดับมากทั้งหมด และ ภาวะผู้นำด้านการมีปัญญา/ความสามารถ (วิยตโต) ภาวะผู้นำด้านการเป็นผู้มีระเบียบวินัยดี (วินีโต) ภาวะผู้นำด้านความแกล้วกล้า/กล้าหาญ (วิสารโท) ภาวะผู้นำด้านการรักษาความถูกต้องในสิ่งที่ถูกที่ควร (ธัมมานุธัมมปฏิปันโน) อยู่ในระดับมาก

               ๒ หลักพุทธธรรม และ ทฤษฎีภาวะผู้นำที่เหมาะสม สำหรับประยุกต์ใช้ในการพัฒนาภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการ พบว่า  การพัฒนาภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๘ ตามทฤษฎีภาวะผู้นำ ประกอบไปด้วย ๔ ทฤษฎี (๑) ภาวะผู้นำด้านคุณลักษณะผู้นำ (๒) ภาวะผู้นำด้านพฤติกรรมผู้นำ (๓) ผู้นำตามสถานการณ์ (๔) ภาวะผู้นำด้านความเป็นผู้นำเชิงปฏิรูป จะมีความเหมาะกับสภาพพื้นที่ในระดับมากที่สุดและพระสังฆาธิการต้องมีปัญญาที่กว้างไกล มีความชำนาญในการใช้ความคิด หรือ มีทักษะทางด้านความคิดหรือที่เรียกว่าผู้นำต้องเก่งความคิดที่จะก่อให้เกิดเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลก

               ๓ การบูรณาการหลักพุทธธรรมและทฤษฎีภาวะผู้นำในการพัฒนาภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค ๘ พบว่า พฤติกรรมของผู้นำที่ควรให้ความสนใจในสมาชิกในการส่งเสริมขวัญและกำลังใจให้เกิดขึ้นกับบุคคลากร และ พฤติกรรมของผู้นำที่ต้องให้ความสนใจกับการทำให้เป้าหมายของงาน จะมีการกำหนดเป้าหมายมาตรฐาน มีการมอบหมายงานรวมทั้งการผลักดันให้เกิดความสำเร็จ ส่วนการภาวะผู้นำที่ผู้นำควรมีและควรได้รับการพัฒนา สามารถจำแนกได้เป็น ๒ ประการดังนี้

               ประการแรก เป็นพฤติกรรมของผู้นำที่ควรให้ความสนใจในสมาชิก โดยผู้นำที่ให้ความสนใจแก่สมาชิกจะส่งเสริมขวัญและกำลังใจให้เกิดขึ้นกับบุคคลากร

               ประการที่สอง เกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้นำที่ต้องให้ความสนใจกับการทำให้เป้าหมายของงาน หรือขององค์การประสบความสำเร็จ จะต้องให้ ความสนใจในการทำให้เป้าหมายและงานประสบความสำเร็จ โดยจะมีการกำหนดเป้าหมายมาตรฐาน มีการมอบหมายงานรวมทั้งการผลักดันให้เกิดความสำเร็จ เหล่านี้คือ พฤติกรรมภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพได้     ซึ่งทำเกิดความสงบสุขและความสามัคคีแก่สังคมได้

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕