หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » สายใจ ช่างสลัก
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๐ ครั้ง
ศึกษาวิเคราะห์บทสวดมนต์พระคาถาชินบัญชร
ชื่อผู้วิจัย : สายใจ ช่างสลัก ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๑๒/๒๐๑๖
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสุทิตย์ อาภากโร
  ประพันธ์ ศุภษร
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ คือ (๑) เพื่อศึกษาความเป็นมาของบทสวดมนต์พระคาถาชินบัญชร  (๒) เพื่อศึกษาหลักธรรมที่ปรากฏในบทสวดมนต์พระคาถาชินบัญชร  และ(๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์คุณค่าและอิทธิพลของบทสวดมนต์พระคาถาชินบัญชรที่มีต่อสังคมไทย  การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยในเชิงเอกสาร โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากพระไตรปิฎกอรรถกถา วรรณกรรม และเอกสารที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาวิเคราะห์ ตามหลักการวิจัย และนำเสนอข้อมูลในเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า บทสวดมนต์นี้ผู้แต่งต้องการที่จะนำเสนอกรอบแนวคิดเรื่องเนื้อเรื่องและหลักธรรมที่ปรากฏ เป็นต้น ดังนั้นความหมายของบทสวดมนต์แม้ว่าจะมีผู้ตั้งชื่อไว้แตกต่างกันแต่ก็มีความหมายอยู่เพียงความหมายเดียวคือ บทสวดมนต์นี้มีประวัติความเป็นมาที่ยังไม่อาจจะหาข้อสรุปได้  แม้ว่าจะมีผู้ยืนยันประสบการณ์ทางจิต อันเกี่ยวเนื่องด้วยบทสวดมนต์นี้ก็ตาม ข้อยืนยันดังกล่าวมักจะถูกคัดค้านจากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับแหล่งที่มาของความรู้ดังกล่าว ดังนั้นประวัติความเป็นมาของบทสวดมนต์นี้จึงแบ่งได้เป็น ๒ แนวทางคือ () เชื่อว่าแต่งขึ้นที่ลังกาโดยพระพุทธโฆสาจารย์  () เชื่อว่าแต่งขึ้นที่ประเทศไทยโดยมีความเห็นที่แตกแยกออกไปอีกเป็น ๒แนวคิด คือ เชื่อว่าแต่งขึ้นในสมัยล้านนาและแต่งขึ้นโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) บทสวดมนต์นี้แต่ละคาถาล้วนมีหลักธรรมที่สำคัญปรากฏอยู่เช่น โอวาทปาฏิโมกข์ บารมี ๑๐ อริยสัจ ๔  และมรรค ๘ เป็นต้น นอกจากนั้นบทสวดมนต์นี้จะให้คุณค่าต่อผู้สวดใน ๓ ประเด็นหลัก คือ (๑) คุณค่าในทางพระพุทธศาสนา (๒) คุณค่าในทางสังคม  และ(๓) คุณค่าต่อบุคคล อีกทั้งจะมีอิทธิพลต่อสังคมไทยในหลาย ๆ ด้าน คือ

๑. ความเชื่อ - ความศรัทธาในด้านพุทธศิลป์ โดยเฉพาะอานุภาพพุทธคุณของพระสมเด็จวัดระฆัง กอรปกับความงดงามในด้านพุทธศิลป์ของพระสมเด็จในเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) มีการถวายพระนามอย่างสมพระเกียรติว่าเป็นจักรพรรดิ์แห่งพระเครื่อง”   

๒.  ความเชื่อ - ความศรัทธาต่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ซึ่งพุทธศาสนิกชนทั่วไปเชื่อกันว่าเฉพาะการท่องคาถาชินบัญชรเป็นประจำทุกวันก็เท่ากับมีพระสมเด็จบูชาอยู่กับตัว

๓. อิทธิพลด้านพิธีกรรม ในส่วนของราชพิธี และแม้กระทั่งพิธีกรรมการทำบุญของสามัญชนโดยทั่วๆไป

นอกจากนั้นพระคาถาชินบัญชรยังมีปรากฏในวรรณคดีและวรรณกรรมอื่นๆ เช่น     นวนิยายเรื่องเพชรพระอุมา  คัมภีร์ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตรกับวรรณกรรมล้านนา  เช่นคัมภีร์อุปปาตะสันติ และอุปปัตตินิทาน เป็นต้น

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕