หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » สุภางค์พิมพ์ คล้ายธานี
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๘ ครั้ง
การพัฒนาภาวะผู้นำในการสื่อสารตามแนวทางพระพุทธศาสนา (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์))
ชื่อผู้วิจัย : สุภางค์พิมพ์ คล้ายธานี ข้อมูลวันที่ : ๑๖/๑๐/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  เติมศักดิ์ ทองอินทร์
  สุรพล สุยะพรหม
  อภินันท์ จันตะนี
วันสำเร็จการศึกษา : 2558
 
บทคัดย่อ

 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการพัฒนาภาวะผู้นำในการสื่อสารของผู้บริหารตามแนวทางพระพุทธศาสนา ๒) เพื่อศึกษาทฤษฎีและหลักธรรมสำหรับการพัฒนาภาวะผู้นำในการสื่อสารของผู้บริหารตามแนวทางพระพุทธศาสนา ๓) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำในการสื่อสารของผู้บริหารตามแนวทางพระพุทธศาสนา

ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงปริมาณ กำหนดกลุ่มตัวอย่างจากกลุ่มข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราวในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดอุทัยธานีเขต ๑ และเขต ๒ จำนวน ๒๕๕ คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบบประมาณค่า ๕ ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ ๐.๙๒ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๑๕ รูป/คน ซึ่งเป็นนักวิชาการทางพระพุทธศาสนา ผู้ทรงคุณวุฒิด้านภาวะผู้นำและด้านการสื่อสาร ด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ

ผลการวิจัยพบว่า

                      ๑. สภาพทั่วไปของการพัฒนาภาวะผู้นำในการสื่อสารของผู้บริหารประเด็นการรับรู้ข้องมูลข่าวสารผ่านสื่อต่างๆ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x = ๓.๘๕) เมื่อพิจารณารายละเอียดความรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำในการสื่อสารผ่านสื่อ วิทยุ อยู่ในระดับ ปานกลาง (x = ๓.๓๒) ปัจจุบันช่องทางในการสื่อสารเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษาของสังคมไทย อยู่ในระดับมาก (x = ๓.๓๒) การสื่อสารของผู้นำเป็นสาเหตุของพัฒนาสถานการศึกษาเหล่านั้น อยู่ในระดับมาก  (x = ๓.๘๔) พระพุทธศาสนาเข้าไปมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการสื่อสารของผู้บริหาร อยู่ในระดับมาก (x = ๓.๗๒) และประเด็นข้ออื่นๆ การได้รับความรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำในการสื่อสารผ่านสื่อ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ตอยู่ในระดับมาก

        ดังนั้น สภาพทั่วไปของการพัฒนาภาวะผู้นำในการสื่อสารของผู้บริหาร จะเห็นได้ว่าการสื่อสารในองค์กรผ่านสื่อต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีดังกล่าวเป็นช่องทางประโยชน์ต่อการพัฒนาเมื่อบุคคลทั้งสองฝ่ายมีการรับรู้ความต้องการ และทัศนคติอย่างเดียวกันให้สำเร็จตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

                      ๒. ภาวะผู้นำทางการสื่อสารมีองค์ประกอบที่สำคัญ ๓ ด้านคือ ๑) ความสามารถในการส่งสาร ๒) ความสามารถในการรับสาร และ ๓) ความสามารถในการตอบสนอง ภาวะผู้นำทางการสื่อสารที่จะเกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลนั้น ผู้บริหารควรยึดถือหรือประยุกต์ใช้หลักสัจจวาทีหรือการพูดความจริงมาเป็นอันดับแรก ส่วนลำดับที่รองลงมานอกจากจะพูดแต่ความจริงแล้ว ผู้บริหารจะต้องพูดในสิ่งที่เป็นจริงหรือพูดอยู่บนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์หรือก่อประโยชน์ไม่ใช่การพูดไร้สาระ ขณะเดียวกันก็ต้องพึงระวังว่าจะต้องพูดด้วยความเป็นธรรมโดยอยู่บนบรรทัดฐานแห่งจรรยาบรรณ และสิ่งที่ไม่ควรละเลยก็คือการพูดที่ต้องอาศัยจังหวะเวลาหรือกาลเทศะที่เหมาะสมจึงจะทำให้ทักษะทางการสื่อสารประสิทธิผลและมีส่วนสนับสนุนส่งเสริมให้ภาวะผู้นำของผู้บริหารเป็นที่ยอมรับมากขึ้น

                      ๓. การพัฒนาภาวะผู้นำในการสื่อสารของผู้บริหารตามแนวทางพระพุทธศาสนาผลการวิจัยโดยการสังเคราะห์ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ทำให้ได้แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำในการสื่อสารตามรูปแบบการสังเคราะห์ (Synthesis Model) คือ SUPHANGPIM-Model ประกอบด้วย๓ ด้าน ดังนี้ ๑) ความสามารถในการส่งสาร (Sender) ประกอบด้วย S = Sender เป็นผู้ส่งสารที่ดี P = Personality มีบุคลิกภาพที่ดี N = Niceness ความสุภาพ ความมีมารยาทในการสื่อสาร M = Morality มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณ ๒) ความสามารถในการรับสาร (Receiver) ประกอบด้วย U = Universality มีโลกทัศน์กว้างไกล A = Awareness รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงทางสังคม P = Purity มีความบริสุทธิ์ใจ ยอมรับสิ่งที่เป็นจริง และ ๓. ความสามารถในการตอบสนอง (Responsibility) ประกอบด้วย H = Hospitality มีน้ำใจเสียสละเพื่อส่วนรวม        G = Generality สื่อสารได้กับทุกระดับ ไม่เลือกปฏิบัติ และสุดท้าย I = Implementation การสื่อสารสามารถนำไปปฏิบัติได้ 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕