หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » สุรชัย แก้วคูณ
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๐ ครั้ง
การประยุกต์ใช้พุทธสันติวิธีเพื่อการควบคุมฝูงชน ของกองบัญชาการ ตำรวจนครบาล (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์))
ชื่อผู้วิจัย : สุรชัย แก้วคูณ ข้อมูลวันที่ : ๑๖/๑๐/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สุรพล สุยะพรหม
  สมชัย ศรีนอก
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2558
 
บทคัดย่อ

 การวิจัยเรื่อง การประยุกต์ใช้พุทธสันติวิธีเพื่อการควบคุมฝูงชน ของกองบัญชาการตำรวจนครบาล ผู้วิจัยได้กำหนดวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของรูปแบบการควบคุมฝูงชน ของกองบัญชาการตำรวจนครบาล ๒) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักพุทธสันติวิธีที่เหมาะสมสำหรับการควบคุมฝูงชน ๓) เพื่อนำเสนอการประยุกต์ใช้พุทธสันติวิธีเพื่อการควบคุมฝูงชน ของกองบัญชาการตำรวจนครบาล กำหนดรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเก็บ

รวบรวมข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก(In-depth Interview ) จากกลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ๒๕ รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion : FGD) โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน ๑๑ รูป/คน เพื่อทำการตรวจสอบข้อมูล
ผลการศึกษาวิจัย พบว่า
๑. สภาพทั่วไปของรูปแบบการควบคุมฝูงชนของกองบัญชาการ ตำรวจนครบาล จากผลการศึกษาวิจัย พบว่า กองบัญชาการ ตำรวจนครบาล ยึดรูปแบบการควบคุมฝูงชนตามหลักสากล มียุทธวิธีในการควบคุมฝูงชนตามมาตรการทางด้านการใช้กำลังของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติอยู่ภายใต้หลักการสำคัญ ๒ ประการ ประกอบด้วย ๑) กฎการใช้กำลังควบคุมฝูงชนของสำนักงานตำรวจ
แห่งชาติ ควบคู่กับ ๒) ระดับการใช้กำลังควบคุมฝูงชนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
๒. หลักพุทธสันติวิธีที่เหมาะสมสำหรับการควบคุมฝูงชนของกองบัญชาการตำรวจนครบาลจากผลการศึกษาวิจัย พบว่า โยนิโสมนสิการ วิธีคิด ๑๐ ประการ เป็นหลักปฏิบัติที่มีความเหมาะสมสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการควบคุมฝูงชนได้ ประกอบด้วย ๑) วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย ๒) วิธีคิดแบบแยกแยะองค์ประกอบ ๓) วิธีคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา ๔) วิธีคิดแบบแก้ปัญหา ๕) วิธีคิดแบบอรรถธรรม
สัมพันธ์ ๖) วิธีคิดแบบคุณโทษและทางออก ๗) วิธีคิดแบบคุณค่าแท้-คุณค่าเทียม ๘) วิธีคิดแบบสร้างสรรค์ ๙)วิธีคิดแบบเป็นอยู่ในปัจจุบัน ๑๐) วิธีคิดแบบวิเคราะห์
๓. การประยุกต์ใช้พุทธสันติวิธีเพื่อการควบคุมฝูงชน ของกองบัญชาการตำรวจนครบาลผู้วิจัยได้ค้นพบการบูรณาการหลักโยนิโสมนสิการเข้ากับกฎการใช้กำลัง และระดับการใช้กำลังในการควบคุมฝูงชน เป็นรูปแบบกฎการใช้กำลัง และระดับการใช้กำลังตามแนวพุทธสันติวิธี ดังนี้
๓.๑ กฎการใช้กำลังตามแนวพุทธสันติวิธี
กฎการใช้กำลังตามแนวพุทธสันติวิธี คือ การนำวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการมาปรับใช้
ควบคู่กับกฎการใช้กำลังในการควบคุมฝูงชน ประกอบด้วย ๑) คิดแยกแยะวิธีการที่ไม่รุนแรงต้องใช้เป็นอันดับแรกก่อน ๒) คิดถึงคุณโทษหากใช้กำลังต้องมีความจำเป็นอย่างแท้จริงเท่านั้น ๓) คิดสืบสาวเหตุปัจจัยในใช้กำลังด้วยจุดประสงค์ในการบังคับใช้กฎหมาย ๔) คิดแบบอรรถสัมพันธ์ คือ พิจารณาถึงหลักความจริงที่ว่าไม่มีข้อยกเว้นใดๆ สำหรับการใช้กำลังด้วยวิธีการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ๕) คิดแบบแก้ปัญหา หาเหตุและผลใช้กำลังตามจุดประสงค์ของกฎหมาย ๖) คิดแบบรู้เท่าทันธรรมดาคือต้องมองอย่างรู้เท่าทันเพื่อใช้กำลังให้น้อยที่สุดและหยุดเมื่อหมดความจำเป็น ๗) คิดแบบคุณค่าแท้-คุณค่าเทียมพิจารณาถึงความเสียหายหรือการบาดเจ็บจะต้องให้เกิดน้อยที่สุด ๘) คิดแบบสร้างสรรค์คือพิจารณาถึงระดับการใช้กำลังมีหลากหลายและให้ใช้ตามความรุนแรงของสถานการณ์ ๙) คิดแบบอยู่ในขณะปัจจุบันเจ้าหน้าที่ทุกคนต้องมีสติ และตระหนักถึงสิ่งที่ได้รับการฝึกการใช้กำลังให้สามารถใช้ได้หลากหลายวิธี ๑๐) คิดแบบวิเคราะห์ เจ้าหน้าที่ทุกคนมองถึงการที่ไม่ใช้ความรุนแรง
๓.๒. ระดับการใช้กำลังตามแนวพุทธสันติวิธีระดับการใช้กำลังตามแนวพุทธสันติวิธี คือ การนำวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการมาปรับใช้ควบคู่ไปกับระดับการใช้กำลังในการควบคุมฝูงชนของกองบัญชาการตำรวจนครบาล ประกอบด้วย๑) วางกำลังในเครื่องแบบปกติ คิดแยกแยะถึงสถานการณ์การชุมนุมอย่างเป็นระเบียบอยู่ในกรอบของ
กฎหมาย ๒) มองถึงความเป็นจริงในการจัดรูปขบวนเพื่อควบคุมฝูงชน ๓) การตั้งแถว พร้อมอุปกรณ์ควบคุมฝูงชนต้องคิดสืบสาวเหตุปัจจัยและจุดประสงค์ ๔) การเคลื่อนที่เข้าหากลุ่มผู้ชุมนุมคิดพิจารณาให้เข้าใจก่อนลงมือปฏิบัตินึกถึงหลักการและจุดมุ่งหมาย ๕) การใช้คลื่นเสียงเป็นการพิจาณาหาทางปัญหา หาเหตุและผลใช้กำลังอย่างเหมาะสม ๖) การใช้แก๊สน้ำตา พิจารณาใช้เพื่อใช้กำลังให้น้อยที่สุดและหยุดเมื่อหมดความจำเป็น ๗) ปะทะบังคับร่างกายต้องพิจารณาถึงความเสียหายหรือการบาดเจ็บจะต้องให้เกิดน้อยที่สุด ๘) การฉีดน้ำต้องคิดแบบคุณค่าแท้-คุณค่าเทียมพิจารณาถึงความเสียหายหรือการบาดเจ็บจะต้องให้เกิดน้อยที่สุด ๙) การใช้กระสุนยางพิจารณาตามความรุนแรงของสถานการณ์๑๐) การใช้อาวุธปืนคิดแบบวิเคราะห์ พิจารณาการใช้ความรุนแรงให้น้อยที่สุด หากไม่จำเป็น
 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕