หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูโอภาสนนทกิตติ์ (ศักดา โอภาโส)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๕ ครั้ง
การวิเคราะห์ทักษะภาวะผู้นำของผู้บริหารตามหลักพุทธธรรมโรงเรียนวิถีพุทธ ระดับประถมศึกษา จังหวัดนนทบุรี (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พุทธบริหารการศึกษา))
ชื่อผู้วิจัย : พระครูโอภาสนนทกิตติ์ (ศักดา โอภาโส) ข้อมูลวันที่ : ๑๕/๑๐/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สิน งามประโคน
  สุเทพ พรมเลิศ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2558
 
บทคัดย่อ

 การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารตามหลักพุทธธรรมในการบริหารจัดการโรงเรียนวิถีพุทธระดับประถมศึกษา จังหวัดนนทบุรี ๒) เพื่อศึกษาทักษะภาวะผู้นำของผู้บริหารตามหลักพุทธธรรมในการบริหารจัดการโรงเรียนวิถีพุทธ ระดับประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรี ๓) เพื่อนำเสนอทักษะภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ ในการบริหารงานระดับประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรี การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed-Method Research) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารและครูโรงเรียนวิถีพุทธระดับประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรี จำนวน ๒๐๐ คน ส่วนการศึกษา         เชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารโรงเรียนวิถีพุทธ จำนวน  ๓๐ รูป/ โดยแบ่งเป็น กลุ่มบ้าน กลุ่มวัด และกลุ่มโรงเรียน  จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ โดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า

๑. ภาวะผู้นำของผู้บริหารตามหลักพุทธธรรมในการบริหารจัดการโรงเรียนวิถีพุทธ   ในระดับประถมศึกษา จังหวัดนนทบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทั้งในด้านปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลกระทบ โดยด้านผลกระทบมีผลการศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านปัจจัยนำเข้าอยู่      ในระดับมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ภาวะผู้นำของผู้บริหารในการบริหารจัดการโรงเรียนวิถีพุทธเน้นผลสำเร็จที่เกิดขึ้น เช่น การมีความรู้ การมีคุณธรรม มากกว่าปัจจัยนำเข้า เช่น การตัดสินใจและแรงจูงใจ

๒. ทักษะภาวะผู้นำของผู้บริหารตามหลักพุทธธรรมในการบริหารจัดการโรงเรียนวิถีพุทธในระดับประถมศึกษา จังหวัดนนทบุรี พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทั้งในด้านการตัดสินใจ แรงจูงใจ การมีมุนษยสัมพันธ์ การติดต่อสื่อสาร และการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ซึ่งสัมพันธ์กับภาวะผู้นำที่เป็นกระบวนการบริหาร คือ การเสริมสร้างปัจจัยนำเข้า การพัฒนากระบวนการ และการให้เกิดผลกระทบหรือผลสัมฤทธิ์ที่เหมาะสม

๓. สำหรับหลักพุทธธรรมที่สอดคล้องกับทักษะภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ    ในการบริหารงานระดับประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรี พบว่า อยู่ในระดับมาก โดยมีความสอดคล้องกัน ดังนี้ ๑) ทักษะด้านการตัดสินใจทางการบริหาร สอดคล้องกับหลักสัปปุริสธรรมและหลักไตรสิกขา
๒) ทักษะด้านการสร้างแรงจูงใจสอดคล้องกับหลักฆราวาสธรรมและหลักอิทธิบาท ๓) ทักษะด้านการติดต่อสื่อสารสอดคล้องกับอปริหานิยธรรม ๔) ทักษะด้านภาวะผู้การเปลี่ยนแปลงสอดคล้องกับหลักสังคหวัตถุ ๕) ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์สอดคล้องกับหลักศีล หลักพรหมวิหารธรรม และหลักกัลยาณมิตร ซึ่งผลการศึกษา

๔. รูปแบบทักษะภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ สามารถบูรณาการเพื่อนำไปสู่การบริหารโรงเรียนวิถีพุทธของผู้บริหารโรงเรียนใน ๓ ด้าน ดังนี้ ๑) ทักษะภาวะผู้นำด้านการครองตน (Leader Skills) สอดคล้องกับหลักไตรสิกขา ๓ (Sikkhà) หลักฆราวาสธรรม ๔ (Gharàvàsa-dhamma) และ หลักสัปปุริสธรรม ๗ (Sappurisa-dhamma) ๒) ทักษะภาวะผู้นำด้านการครองคน (Leader Skills) สอดคล้องกับหลักพรหมวิหาร ๔ (Brahmavihàra) หลักศีล ๕ (five precepts) และหลักกัลยาณมิตร ๗ (Kalyànamittatà) ๓) ทักษะภาวะผู้นำด้านการครองงาน (Leader Skills) สอดคล้องกับหลักอิทธิบาท ๔ (Iddhipàda) หลักสังคหวัตถุ ๔ (Saïgahavatthu) และ อปริหานิยธรรม ๗ (aparihàniyadhamma)

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕