หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » สุวารีย์ ศรีคำ
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๖ ครั้ง
ศึกษาสภาพ และความต้องการการบริหารบุคลากรของโรงเรียนฝึกอาชีพ กรุงเทพมหานคร (การบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : สุวารีย์ ศรีคำ ข้อมูลวันที่ : ๒๓/๐๙/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ชวาล ศิริวัฒน์
  พระมหาสหัส ฐิตสาโร
  สิน งามประโคน
วันสำเร็จการศึกษา : 2553
 
บทคัดย่อ

                   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑. เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการการบริหารบุคลากรของโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร ๒. เพื่อศึกษาอุปสรรคและแนวทางการบริหารบุคลากรของโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ บุคลากรในโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีทั้งข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว วิทยากร จำนวน ๑๐ โรงเรียน รวม ๑๕๔ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์ จำนวน ๑๕๔ ชุด คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ แบ่งเป็น ๒ ส่วน ส่วนที่ ๑ สถิติพรรณนา เพื่อวิเคราะห์สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยการใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนที่ ๒ สถิติเชิงอนุมาน เพื่อวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient)

                  ผลการวิจัยพบว่า

              สภาพปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงานของโรงเรียนฝึกอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม อยู่ในระดับ ปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๐๗ เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการฝึกอบรม อยู่ในระดับ ปานกลางมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๐๐ ด้านการส่งบุคลากรไปศึกษาฝึกอบรมหรือดูงาน อยู่ในระดับ ปานกลางมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๒.๙๒ ด้านการพัฒนาบุคลากรโดยกระบวนการปฏิบัติการ อยู่ในระดับ ปานกลางมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๒๓ ด้านการพัฒนาด้วยตนเอง อยู่ในระดับ ปานกลางมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๐๗ ด้านการพัฒนาบุคลากรโดยกระบวนการบริหาร อยู่ในระดับ ปานกลางมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๑๕

                  ส่วนแนวทางการแก้ปัญหาของโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม อยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๙๙ เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการฝึกอบรม อยู่ในระดับ มากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๐๓ ด้านการส่งบุคลากรไปศึกษาฝึกอบรมหรือดูงาน อยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๐๔ ด้านการพัฒนาบุคลากรโดยกระบวนการปฏิบัติการอยู่ในระดับ มากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๐๓ ด้านการพัฒนาด้วยตนเองอยู่ในระดับ มากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๐๒ ด้านการพัฒนาบุคลากรโดยกระบวนการบริหารอยู่ในระดับ มากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๘๕

                  เมื่อศึกษาเปรียบเทียบแล้วพบว่า การบริหารงานของโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร      มีสภาพปัญหาอยู่ในระดับ ปานกลาง และ มีการแก้ปัญหาอยู่ในระดับ มาก” 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕