หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ฐิติวรรณ แสงสิงห์
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๑ ครั้ง
การศึกษาวิถีชีวิตของผู้สูงอายุตามหลักพุทธธรรม : กรณีศึกษาชุมชนบ้านลือคำหาญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
ชื่อผู้วิจัย : ฐิติวรรณ แสงสิงห์ ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๐๘/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูธรรมธรศิริวัฒน์ สิริวฑฺฒโน
  พระครูสมุห์เฉวียน กตปุญฺโญ
  เรืองเดช เขจรศาสตร์
วันสำเร็จการศึกษา : 2557
 
บทคัดย่อ

             การศึกษาวิจัยครั้งนี้ศึกษาเรื่อง “การศึกษาวิถีชีวิตของผู้สูงอายุตามหลักพุทธธรรม : กรณีศึกษาชุมชนบ้านลือคำหาญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี” มีวัตถุประสงค์            ๓ ประการ  (๑) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของผู้สูงอายุ  (๒) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมสุขภาพตามหลักพุทธธรรมของผู้สูงอายุ  และ (๓) เพื่อศึกษาผลการนำหลักพุทธธรรมมาส่งเสริมและแก้ปัญหาวิถีชีวิตของผู้สูงอายุ วิธีการดำเนินการวิจัยเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ เน้นการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร และการวิจัยภาคสนาม    

            ผลการศึกษาพบว่า หลักพุทธธรรมที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของผู้สูงอายุในพระพุทธศาสนา        ที่ศึกษาคือไตรลักษณ์, อริยสัจ๔, เบญจศีลเบญจธรรม, ฆราวาสธรรม๔, พรหมวิหาร๔, สังคหวัตถุ๔,          อปริหานิยธรรม๗, สาราณียธรรม๖ และอบายมุข๖   

            ผลการศึกษาแนวทางการส่งเสริมสุขภาพตามหลักพุทธธรรมของผู้สูงอายุพบว่า            (๑) ด้านร่างกายหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมสุขภาพ ไตรลักษณ์ อริยสัจ๔  ความไม่เที่ยงของสังขาร ความไม่คงที่ สภาวะเสื่อมของสังขารทำให้เป็นทุกข์ร่างกายที่อาศัยอยู่ไม่ใช่ของเราไม่มีตัวตน       เป็นอนัตตา  (๒) ด้านจิตใจและอารมณ์หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมสุขภาพ เบญจศีลเบญจธรรม, ฆราวาสธรรม๔ เมื่อมีอะไรมากระทบจิตใจจะยึดหลักศีล๕  ใช้ชีวิตไม่เบียดเบียนสรรพสัตว์ทั้งหลาย เจริญสติ รักษาศีล ปฏิบัติตนไม่ให้เกิดปัญหากับลูกหลานและช่วยเหลือลูกหลานตามอัตภาพ (๓) ด้านสังคมและครอบครัวหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมสุขภาพ พรหมวิหาร๔, สังคหวัตถุ๔,               อปริหานิยธรรม๗, สาราณียธรรม๖  มีเมตตากรุณาแก่บุคคลในครอบครัวและสังคม  มีความอดทนอดกลั้น เผื่อแผ่แบ่งปันสิ่งของให้เพื่อนบ้าน เคารพซึ่งกันและกัน ให้กำลังใจ ให้ความร่วมมือ          ในหมู่คณะ ปฏิบัติตามข้อกำหนดของสังคม ช่วยเหลือสังคมตามความสามารถ (๔) ด้านเศรษฐกิจและรายได้หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมสุขภาพ อบายมุข๖ รู้สิ่งใดเป็นโทษไม่เป็นโทษ ใช้วิถีชีวิตด้วยความไม่ประมาทและใช้หลักความพอเพียงในวิถีของชีวิต

             ผลการนำหลักพุทธธรรมมาส่งเสริมและแก้ปัญหาพบว่า ผู้สูงอายุชุมชนบ้านลือคำหาญ ปัญหาที่เกิดขึ้น (๑) ด้านร่างกาย  ผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงมีปัญหาทางด้านร่างกายคล้ายๆ กัน   โรคข้อเข่าเสื่อม ปวดหลัง ปวดเอว ปวดกล้ามเนื้อ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ผู้สูงอายุยอมรับความจริงของสังขาร และความทุกข์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นธรรมดาของธรรมชาติ (๒) ด้านจิตใจและอารมณ์ ผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงกลัวการอยู่คนเดียว บางครั้งอารมณ์หงุดหงิด โกรธง่าย แต่เป็นเพียงชั่วครั้งชั่วคราวสามารถควบคุมอารมณ์ได้ปฏิบัติตนไม่เบียดเบียนสรรพสัตว์ทั้งหลาย            (๓) ด้านสังคมและครอบครัว ผู้ที่รับบำนาญจะร่วมกิจกรรมทางสังคมอยู่เสมอ แต่ผู้ที่ประกอบอาชีพค้าขายหรืออาชีพอิสระจะเข้าร่วมกิจกรรม  ทางสังคมน้อยมาก เพราะอาชีพไม่อำนวย  ผู้สูงอายุ     มักขัดแย้งกับลูกหลานเพราะเป็นห่วงลูกหลานมากกลัวประพฤติตนไม่ดี ห่วงมากเกินไป จนทำให้ลูกหลานไม่พอใจ แต่ก็เข้าใจกันได้ดี มีความเมตตากรุณา อดทนอดกลั้น ให้กำลังใจ เคารพซึ่งกัน  และกัน  (๔) ด้านเศรษฐกิจและรายได้ในเรื่องนี้ส่วนใหญ่ไม่ค่อยจะมีปัญหารับเงินบำนาญและเงิน    ที่ทางราชการช่วยเหลือ  ผู้สูงอายุบางคนต้องเลี้ยงดูหลานที่กำพร้าหรือลูกที่พิการทำให้รายจ่ายภายในครอบครัวมากขึ้น และไม่พอมีหนี้เพิ่ม สามารถแก้ปัญหาในด้านนี้ได้เพราะลูกหลานที่ทำงานจะส่งเงินมาช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา ลูกหลานบางคนอยู่ร่วมกับผู้สูงอายุไม่ทอดทิ้ง ผู้สูงอายุใช้ชีวิต        ด้วยความไม่ประมาท ลดเลิกอบายมุขอยู่ในความพอเพียง รู้ว่าสิ่งใดเป็นดีสิ่งใดไม่ดี และไม่ยอมให้กิเลสเข้ามาครอบงำจนทำให้ตนเองต้องพินาศ

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕