หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระอธิการจตุรงค์ อธิปญฺโญ (เถียรอ่ำ)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๖ ครั้ง
วิเคราะห์บทบาทพระสังฆาธิการในการปลูกฝังศรัทธาแก่เด็กและเยาวชน
ชื่อผู้วิจัย : พระอธิการจตุรงค์ อธิปญฺโญ (เถียรอ่ำ) ข้อมูลวันที่ : ๐๖/๐๘/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชวชิรเมธี
  อานนท์ เมธีวรฉัตร
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2557
 
บทคัดย่อ

              งานวิจัยเรื่อง วิเคราะห์บทบาทของพระสังฆาธิการในอำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร ในการปลูกฝังศรัทธาแก่เด็กและเยาวชนมีจุดประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาหลักความศรัทธาในพระพุทธศาสนาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาบทบาทของพระสังฆาธิการในพระพุทธศาสนาเถรวาท และ ๓) เพื่อวิเคราะห์บทบาทของพระสังฆาธิการในอำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร ในการปลูกฝังศรัทธาแก่เด็กและเยาวชน

             ผลการวิจัยพบว่า

             ๑. หลักความศรัทธาในพระพุทธศาสนาเถรวาท  พบว่า ตามหลักความศรัทธาในพระพุทธศาสนาเถรวาทหลักของความเชื่อหรือความศรัทธาทางพระพุทธศาสนาแบ่งได้เป็น ๒ แบบ คือ

             แบบที่ ๑ เป็นศรัทธาแบบที่ถูกต้องเป็นศรัทธาที่นำไปสู่ปัญญาเกิดจากการสืบค้น สนใจและเข้าไปหาในเรื่องราวต่าง ๆ

         แบบที่ ๒ เป็นศรัทธาแบบที่ผิดเป็นศรัทธาที่ปิดกั้นปัญญา ห้ามถาม ห้ามสงสัย ประพฤติปฏิบัติตามอย่างเดียว

             หลักการปลูกฝังศรัทธา ได้แก่  ๑) ด้านรูปัปปมาณิกา บุคคลผู้เลื่อมใสในรูป  ๒) ด้านลูขัปปมาณิกา บุคคลผู้เลื่อมใสในความเศร้าหมอง ๓) ด้านโฆสัปปมาณิกา บุคคลผู้เลื่อมใสในเสียง ๔) ด้านธัมมัปปมาณิกา บุคคลผู้เลื่อมใสในธรรม

             ๒. บทบาทการปลูกฝังศรัทธาของพระสังฆาธิการในพระพุทธศาสนาเถรวาทในสมัยพุทธกาลพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้ามีบทบาทอย่างมากในการเผยแผ่หลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ บทบาทหน้าที่หลักของพระสงฆ์นั้นมี ๓ ประการ พระสงฆ์ได้ทำหน้าที่เป็นครูมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล พระสงฆ์ได้ทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ให้ความรู้ที่จะนำไปประกอบอาชีพ และให้คุณธรรม คือ ความประพฤติดีปฏิบัติชอบสำหรับเป็นเครื่องอุปถัมภ์ค้ำจุนวิชาชีพของประชาชนให้เจริญรุ่งเรืองและคงอยู่ตลอดไป พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระสงฆ์ในสมัยนั้น ส่วนใหญ่จะมีบทบาทในการเผยแผ่หลักธรรมคำสอนโดยเข้าไปสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นแก่ผู้นำในภูมิภาคนั้นก่อน  เป็นอันดับแรก หลังจากนั้น จึงค่อยสอนธรรมแก่ผู้นำชุมชน และใช้ผู้นำเป็นฐานขยายพระพุทธศาสนาให้กว้างขวางออกไปสืบเนื่องจากการที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงเป็นผู้อุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา พระองค์ได้จัดส่งพระสมณะทูต คือ พระโสณะเถระกับพระอุตรเถระนำพระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ประเทศไทย ตามเส้นทางของชาวอินเดียเข้ามาสู่สุวรรณภูมิ ประชาชนคนไทยจึงได้รับอิทธิพลยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาของตนและนับถือตลอดมาจนกระทั่งบัดนี้

             บทบาทของพระสงฆ์ สำหรับพระสงฆ์ไทยมีหน้าที่ และบทบาทที่ต้องรับผิดชอบซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยตรงและเป็นหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ ๕ ด้าน คือ (๑) บทบาทด้านการปกครองคณะสงฆ์ (๒). บทบาทด้านการจัดการศึกษาแก่พระภิกษุสามเณรและประชาชนทั่วไป (๓) บทบาทด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา (๔) บทบาทด้านการก่อสร้างและการบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม (๕) บทบาทด้านการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์แก่สังคม

             ๓. วิเคราะห์บทบาทของพระสังฆาธิการในอำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตรในการปลูกฝังศรัทธาแก่เด็กและเยาวชน

             พบว่า พระสังฆาธิการในอดีตมีบทบาทในการปลูกฝังศรัทธาแก่ประชาชน ๒ ด้าน ใช้วิธีปลูกฝังศรัทธาด้วยกัน ๔ วิธี สำหรับพระสังฆาธิการในเขตอำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร ๑๐ รูป จะมีการปลูกฝังศรัทธาโดยยึดรูปแบบหรือวิธีการปลูกฝังศรัทธาแก่เด็กและเยาวชนที่หลากหลายแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับสถานการณ์และในโอกาสต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕