หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » วิภาวรรณ แสนสวาท
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๓ ครั้ง
การประยุกต์หลักธรรมในการแก้ปัญหาพฤติกรรมบริโภคนิยมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนนครสวรรค์
ชื่อผู้วิจัย : วิภาวรรณ แสนสวาท ข้อมูลวันที่ : ๐๖/๐๘/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเทพปริยัติเมธี
  สุพรต บุญอ่อน
  วรกฤต เถื่อนช้าง
วันสำเร็จการศึกษา : 2556
 
บทคัดย่อ

          เสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนา

          ผลการวิจัยพบว่า
          ๑) ในปัจจุบันสังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลง ด้วยโครงสร้างทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป การรับวัฒนธรรมมาจากชาติตะวันตกเข้ามา มีความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม ค่านิยมต่างๆ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทาให้การดาเนินชีวิตของคนในสังคมเปลี่ยนวิถีชีวิตจากเดิม จากสังคมเกษตรกรรม มาเป็นสังคมอุตสาหกรรม เทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าทันสมัย มีการพัฒนาสิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ ในสังคมเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง ทาให้ชีวิตของคนในสังคมอยู่แบบดิ้นรน แข่งขันกันในทุกๆ ด้าน โดยมุ่งไปที่เงิน เกียรติยศ ชื่อเสียงเป็นสิ่งสาคัญที่จะทาให้ตนเองมีทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนต้องการและได้มาอานวยความสะดวกให้ตนเอง พึงพอใจ
         ๒) หลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคนิยม ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ที่ทุกคนพึงมี พึงปฏิบัติ คือ หลักสันโดษ หลักเบญจศีล-เบญจธรรม สัปปุริสธรรม ๗ นั้น การบริโภค ควรบริโภคด้วยความพอเพียง พอดี รู้จักกินใช้แต่พอประมาณ ไม่ฟุ่มเฟือย และต้องประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในเบญจศีล เพื่อเป็นการไม่เบียดเบียนผู้อื่นรู้จักมีเหตุผล รู้จักปฏิบัติตนอย่างเหมาะสม รู้จักคิด รู้จักทา รู้จักปฏิบัติตนให้ตรงต่อเวลา รู้จักความอ่อนน้อมเคารพผู้ใหญ่เชื่อฟังคาอบรมสั่งสอน จะเห็นได้ว่าหลักธรรมทั้งหมดเป็นหลักธรรมที่เอื้อประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นให้อยู่ร่วมกันอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขควรนามาถือปฏิบัติเพื่อใช้เป็นหลักในการดาเนินชีวิต
             ๓) โรงเรียนนครสวรรค์ ได้ประยุกต์ใช้หลักธรรมในการแก้ปัญหาพฤติกรรมบริโภคนิยมของนักเรียนโรงเรียนนครสวรรค์ ตลอดจนมีการส่งเสริม ปลูกฝังให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีหลักธรรมเป็นสิ่งยึดถือปฏิบัติ และนามาประยุกต์ใช้ในชีวิต ซึ่งมีการจัดการเรียนการสอน และมีการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ปฏิบัติธรรมเป็นประจาสม่าเสมอ เช่น กิจกรรมบรรพชาสามเณร เข้าวัด ฟังธรรม ร่วมกิจกรรมวันสาคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นต้น และอบรมสั่งสอนให้นักเรียนเป็นผู้ มีสติสัมปชัญญะ มีความเพียร มีความพยายามและพึงพอใจในสิ่งของตนที่มีอยู่ ปฏิบัติตนอยู่ในศีลในธรรมทั้งกาย วาจาและใจ เป็นผู้ประพฤติดีประพฤติชอบ รู้จักความพอเพียงพอประมาณรู้จักคิด รู้จักทา รู้จักปฏิบัติตนให้เป็นคนตรงต่อเวลา เชื่อฟังคาอบรมสั่งสอน และมีความอ่อนน้อมถ่อมตน เพื่อนาไปเป็นหลักในการใช้ชีวิตได้ต่อไป

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕