หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ขันเตียน นามเกตุ
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๙ ครั้ง
การศึกษาคติความเชื่อประเพณีบุญเดือนเก้า( ข้าวประดับดิน)
ชื่อผู้วิจัย : ขันเตียน นามเกตุ ข้อมูลวันที่ : ๓๐/๐๗/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสมุห์เฉวียน กตปุญฺโญ
  พระครูธรรมธรศิริวัฒน์ สิริวฑฺฒโน
  สุพิมล ศรศักดา
วันสำเร็จการศึกษา : 2556
 
บทคัดย่อ

                 การศึกษาวิจัยเรื่องการศึกษาคติความเชื่อประเพณีบุญเดือนเก้า(ข้าวประดับดิน) มีวัตถุประสงค์๑.)เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของประเพณีบุญเดือนเก้า๒.)เพื่อศึกษาวิเคราะห์คติความเชื่อที่ปรากฏในประเพณีบุญเดือนเก้า๓.)เพื่อศึกษาอิทธิพลของพิธีกรรมบุญเดือนเก้าที่มีต่อสังคมของอีสาน กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยได้แก่ บุคคลในชุมชนวัดมหาวนารามและชุมชนวัดสารพัฒนึก ตำบลในเมือง อำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี  การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) คือเน้นการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร ( Documentary Research) และการวิจัยภาคสนามและการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ (interview)

ผลการวิจัยพบว่า

               ประเพณีบุญเดือนเก้าเป็นหนึ่งใน ฮีตสิบสอง คองสิบสี่ ซึ่งเป็นประเพณีที่สำคัญของชาวอีสานที่มีประวัติความเป็นมาจากตั้งแต่สมัยพุทธกาลที่เล่าสืบต่อกันในนิทานธรรมบทโดยปรารถถึงญาติของพระเจ้าพิมพิสารที่ตายไปเกิดเป็นเปรตในนรกตลอดพุทธันดร จึงได้ทำบุญอุทิศให้ไปซึ่งเป็นการทำบุญให้แก่ญาติที่ตายไป ทำให้ทุกข์ทุเลาเบาบางไป ที่แฝงไว้ซึ่งความกตัญญูกตเวทีจนเกิดเป็นประเพณีที่ยอมรับและปฏิบัติร่วมกันในชุมชน ทั้งเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ  มีความเป็นเอกลักษณ์สืบเนื่องต่อกันมาถึงปัจจุบัน

           คติความเชื่อที่ปรากฏในประเพณีบุญเดือนเก้าของชาวอีสาน

      ความเชื่อในการทำบุญเดือนเก้า สืบเนื่องมาจาก ความเชื่อของบุญ บาป  การเวียนว่ายตายเกิดที่มาจากนิทานธรรมบท ที่ชาวอีสานยึดถือปฏิบัติสืบเนื่องมาจนเป็นแนวจารีประเพณี ที่มีความเชื่อว่าเป็นผลที่สืบเนื่องมาจากผลแห่งกรรม ที่พบเห็นการยึดถือเป็นแนวปฏิบัติทั่วไปในภาคอีสานสาเหตุสำคัญที่เรียกบุญเดือนเก้านี้ เพราะกำหนดขึ้นในเดือนเก้า และเมื่อเดือนเก้าต้องทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติพี่น้องที่ตายไป เพื่อที่ญาติจะได้รับส่วนบุญเพื่อให้มีความสุขบรรเทาความทุกข์ที่ได้รับเป็นการทำบุญด้วยการให้ทานข้าวปลาอาหาร เมื่อได้ทำแล้วก่อให้เกิดความสุขด้านจิตใจที่ญาติพี่น้องได้รับบุญกุศลและเป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา  ความเชื่อนี้ส่งผลต่อประเพณีบุญเดือนเก้าและพิธีกรรมสืบต่อมาในภาคอีสานซึ่งความเชื่อที่ปรากฏในบุญเดือนเก้า

               อิทธิพลของพิธีกรรมบุญเดือนเก้านี้ ชาวอีสานให้ความสำคัญใน ๓ ด้าน

               ๑.อิทธิพลที่มีต่อครอบครัว  เป็นการสานสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว ในหมู่เครือญาติและได้ปลูกฝังไว้ว่าเมื่อพ่อแม่ญาติพี่น้องตายไปต้องปฏิบัติตามประเพณีบุญเดือนเก้า เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที เป็นการสร้างจิตสำนึกแฝงความเป็นปึกแผ่นให้บรรดาญาติได้เกิดความตระหนักถึงความสัมพันธ์ทางสายเลือดที่ก่อให้เกิดแน่นแฟ้นในครอบครัวซึ่งเป็นโครงสร้างสำคัญของสังคม                                                                                                                                                    

                ๒.อิทธิพลที่มีต่อวิถีวิชีวิต   วิถีชีวิตของชาวอีสานเกี่ยวข้องกับศาสนาไม่ว่าด้านความเชื่อวิถีชีวิตและประเพณีที่ชาวอีสานปฏิบัติสืบกันมาบ่งบอกถึงศรัทธาความเชื่อมั่นในพระพุทธศาสนาและวิถีชีวิตที่สะท้อนถึงความกตัญญูกตเวที ความสามัคคีโดยมีพื้นฐานมาจากพระพุทธศาสนา โดยชาวบ้านได้มีโอกาสทำบุญกันตามประเพณีเดือนฮีตสิบสองคองสิบสี่และที่สำคัญยิ่งก็คือ บุญเดือนเก้าที่บ่งบอกถึงความเอื้อเฟือเผื่อแผ่ต่อผู้อื่นไม่ว่าเป็นคนหรือผีบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ทำให้เห็นแสดงออกถึงความงดงามด้านจิตใจ ที่ควรอนุรักษ์ให้สืบเนืองอยู่คู่กับชาวอีสานต่อไป

     ๓.อิทธิพลที่มีต่อสังคม  ในการปฏิบัติตนตามความเชื่อประเพณีบุญข้าวประดับดินนั้นสร้างความรู้สึกเป็นญาติเป็นพี่เป็นน้องกับชาวบ้านร่วมชุมชน ส่งผลให้วิถีปฏิบัติต่อกันมีลักษณะของการช่วยเหลือ เกื้อกูลและแบ่งปันซึ่งกันและกัน ทำให้ชาวบ้านมีความใกล้ชิดสนิทสนมกันระบบความสัมพันธ์ทางสังคมดังกล่าวนับเป็นทุนทางสังคมของชุมชน ที่มีส่วนสำคัญในการยึดโยงชาวบ้านเข้าไว้ด้วยกัน สร้างความสมานสามัคคีในหมู่คณะให้เกิดขึ้นโดยพื้นฐานมาจากพระพุทธศาสนา ทำให้ชุมชนพึ่งตนเองได้และมีความเป็นปึกแผ่นทางสังคม

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕