หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระอินทรีย์ อตฺถยุตฺโต (กันทะวงศ์)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๕ ครั้ง
การศึกษาเรื่องวิบากกรรมในพุทธศาสนาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : พระอินทรีย์ อตฺถยุตฺโต (กันทะวงศ์) ข้อมูลวันที่ : ๒๕/๐๗/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเมธีธรรมาลังการ (ประยุทธ ภูริทตฺโต)
  วิกานดา ใหม่เฟย
  วรรณา มังกิตะ
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

       งานวิจัย เรื่อง  การศึกษาเรื่องวิบากกรรมในพุทธศาสนาเถรวาทนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑.เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องวิบากกรรมในพุทธศาสนาเถรวาท   ๒.เพื่อศึกษาตัวอย่างผู้ได้รับวิบากกรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท   ๓.เพื่อศึกษาวิเคราะห์วิบากกรรมในสังคมปัจจุบัน

  จากการวิจัยพบว่า แนวคิดเรื่องวิบากกรรมในพุทธศาสนาเถรวาท แบ่งได้เป็น ๒ ประเภท คือ  (๑) กุศลวิบาก หมายถึง วิบากกรรมที่ดี ให้ผลเป็นความสุข  (๒) อกุศลวิบาก  หมายถึง วิบากกรรมที่ไม่ดี ให้ผลเป็นความทุกข์โดยมีองค์ประกอบการกระทำด้วยเจตนาทางกาย วาจา ใจ ทั้ง ๒ ประเภท นี้ จะส่งผลกับเหล่าสัตว์ให้ทรามและประณีตต่างกันไปจนกว่าจะเข้าถึงพระนิพพาน

                ส่วนตัวอย่างผู้ที่ได้รับวิบากกรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ที่เป็นวิบากกรรมของพระพุทธเจ้า พระสาวก พระสาวิกา อุบาสก อุบาสิกา บุคคลทั่วไปนั้น โดยหลักใหญ่ ๆ แบ่งออกได้เป็น ๒ อย่าง คือ วิบากกรรมฝ่ายที่เป็นอกุศล กับ วิบากกรรมที่เป็นกุศลทั้งสองประการนี้ปรากฏค่อนข้างมากในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท แม้ในบางครั้งจะเป็นวิบากกรรมที่เป็นฝ่ายอกุศล หรือวิบากกรรมที่เป็นกุศล เพียงเศษกรรมเล็กน้อยก็ตามแต่ก็มีผลข้ามภพข้ามชาติไม่รู้จักจบสิ้น จนกว่าวิบากกรรมเหล่านั้นจะได้รับการชดใช้จนหมดไป

                  แต่ในวิบากกรรมในสังคมปัจจุบันที่เราได้พบ เช่น การเกิดแผ่นดินไหว , การเกิดคลื่นสึนามิ , การเกิดภัยแล้ง หรือทุพภิกขภัย (Droughts) , การเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เกิดมาจากสาเหตุหลัก ๒ ประการ คือ ๑.เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติเอง ตามกฎของไตรลักษณ์ ๒.เกิดจากการกระทำของมนุษย์ แต่ไม่ว่าจะเกิดโดยสาเหตุใดก็ตามก็ย่อมได้รับผลของวิบากกรรมร่วมกัน ผู้ที่ได้รับวิบากกรรมเล็กน้อย ก็คือ การสูญเสียทรัพย์สิน บาดเจ็บสาหัส ไปจนกระทั่งเสียชีวิต แต่บางครั้งก็ปลอดภัย ซึ่งเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังความจริง ก็คือ วิบากกรรมที่ดีและวิบากกรรมที่ไม่ดีของแต่ล่ะคนที่สั่งสมกันมาไม่เหมือนกันจึงได้รับผลที่ไม่เหมือนกัน ผู้ที่มีเศษกรรมก็จะได้รับบาดเจ็บ แต่ถ้าใครมีวิบากกรรมหนักมากก็ต้องเสียชีวิต แต่ทั้งนี้การที่คนจำนวนมากมายต้องมาตายพร้อมกัน ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะเคยทำวิบากกรรมร่วมกันมาทั้งหมด บางคนก็ทำกรรมแบบต่างกรรมต่างวาระกัน คือทำวิบากกรรมกันคนล่ะสถานที่ คนล่ะอย่าง แต่พอวิบากกรรมมาก็ส่งผลพร้อมกันก็เลยต้องมาตายด้วยกัน การรับวิบากกรรมแบบนี้เป็นการรับวิบากกรรมหมู่ ไม่ว่ามนุษย์เหล่านั้นจะทำมามากน้อยเพียงใดก็ตามก็ต้องได้รับผลของวิบากกรรมเหมือนกันทุกคน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕