หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระปริญญา ฐิตธมฺโม (จันทะมงคล)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๐ ครั้ง
บทบาทด้านการส่งเสริมวิถีชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ท่าช้าง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระปริญญา ฐิตธมฺโม (จันทะมงคล) ข้อมูลวันที่ : ๒๒/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตติปญฺโญ,ดร.
  ผศ.ดร.ธัชชนันท์ อิศรเดช
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาบทบาทด้านการส่งเสริมวิถีชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ท่าช้าง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ต่อประชาชนในพื้นที่ ๒) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทด้านการส่งเสริมวิถีชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ท่าช้าง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะ ต่อบทบาทด้านการส่งเสริมวิถีชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารองค์การส่วนตำบลแม่ท่าช้าง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือประชาชนที่มีอายุไม่เกิน ๒๐ ปี เป็นประชากรในการศึกษา โดยเลือกประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ท่าช้าง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน ๓๕๖ คน จากจำนวนประชากร ๓,๒๕๙ คน  ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรการคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของประชากร คือ ค่าความถี่  ค่าร้อยละ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ระดับความคิดเห็นต่อบทบาทด้านการส่งเสริมวิถีชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ท่าช้าง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ คือค่าความถี่ (Frequencies) ร้อยละค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยเพื่อบรรยายข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล การทดสอบค่าที (t-test) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
๑) บทบาทด้านการส่งเสริมวิถีชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ท่าช้าง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ประชาชนมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = ๓.๕๘) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน มีเพียงด้านการสร้างภูมิคุ้มกันของระบบเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ คือด้านการสร้างและพัฒนาการรวมกลุ่ม (  = ๓.๗๘) ด้านการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในการขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง (  = ๓.๖๘) ด้านการส่งเสริมการเกษตรทฤษฏีใหม่ (  = ๓.๕๔) และด้านการสร้างภูมิคุ้มกันของระบบเศรษฐกิจ (  = ๓.๓๒)
๒) เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อบทบาทด้านการส่งเสริมวิถีชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ท่าช้าง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อปี และตำแหน่ง พบว่า ประชาชนที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทด้านการส่งเสริมวิถีชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ท่าช้าง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีรายได้ ตำแหน่ง ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทด้านการส่งเสริมวิถีชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ท่าช้าง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
๓) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทด้านการส่งเสริมวิถีชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ท่าช้าง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลควรมีการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปลูกพืชผักสมุนไพรปลอดสารพิษ การแปรรูปผลผลิตการเกษตร ทั้งนี้ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนได้นำเสนอแนวทางการส่งเสริมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเรื่องประชาชนหางดงรักษ์สิ่งแวดล้อม การประชาสัมพันธ์และการรณรงค์สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะเรื่องขยะในชุมชน ตลอดถึงควรมีการบริการจัดศูนย์การเรียนรู้ ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของ    พระสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมถึงการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่อย่างต่อเนื่อง และการจัดฝึกอบรมการป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูข้าวให้กับประชาชน การดำเนินโครงการจัดตลาดนัดเพื่อสุขภาพในชุมชน การส่งเสริมให้ประชาชนได้ฝากเงินออมทุกรูปแบบ และควรจัดให้มีนิทรรศการเกี่ยวกับจัดจำหน่ายสินค้าหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล (OTOP) อย่างต่อเนื่อง

ดาวน์โหลด

 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕