หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระณรงค์ วุฑฺฒิเมธี (สังขวิจิตร)
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๓ ครั้ง
การบริหารจัดการตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของ บริษัท เอ็นอีซี อินฟอนเทียร์ (ไทย) จำกัด (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระณรงค์ วุฑฺฒิเมธี (สังขวิจิตร) ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.ธัชชนันท์ อิศรเดช
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ, รศ.
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาระดับการบริหารจัดการองค์กรที่ปรากฎในทุติยปาปณิกสูตรของบริษัท เอ็นอีซี อินฟอนเทียร์ (ไทย) จำกัด ตามความคิดเห็นของบุคลากร 

๒) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารจัดการองค์กรตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของ บริษัท เอ็นอีซี อินฟอนเทียร์ (ไทย) จำกัด ตามความคิดเห็นของบุคลากรโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการองค์กรตามหลักทุติยปาปณิกสูตร ตามความคิดเห็นของบุคลากร การศึกษาครั้งนี้ ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Research Method)  โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือบุคลากรที่มีอายุ ๒๐ ปีขึ้นไป โดยเลือกบุคลากรจากบริษัทเอ็นอีซี อินฟอนเทียร์ (ไทย) จำกัด ตำบลคลองหนึ่ง  อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี จำนวน ๒๖๙ คน จากจำนวนประชากร ๙๐๐ คน  ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง ด้วยการใช้สูตรของเครซี่และมอร์แกน (R.V. krejcie & D.W. Morgan)  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่  ค่าร้อยละ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ระดับความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของ บริษัทเอ็นอีซี อินฟอนเทียร์ (ไทย) จำกัด คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ร้อยละค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐาน โดยเพื่อบรรยายข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล การทดสอบค่าที (t-test) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) ๗ ท่าน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
๑) การบริหารจัดการตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของ บริษัท เอ็นอีซี อินฟอนเทียร์ (ไทย) จำกัด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  =๓.๖๙) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้านตามลำดับ คือ ด้านการจักขุมา (วิสัยทัศน์) ( =๓.๗๗) ด้านวิธูโร (การจัดการ) ( = ๓.๖๙) และด้านนิสสยสมฺปนฺโน (มนุษยสัมพันธ์) ( =๓.๖๑) 
๒) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อการบริหารจัดการตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของ บริษัท เอ็นอีซี อินฟอนเทียร์ (ไทย) จำกัด จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน พบว่า บุคลากรที่มีเพศ ระดับการศึกษาและประสบการณ์ทำงาน ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ส่วนบุคลากรที่มีอายุ ต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของ บริษัท เอ็นอีซี อินฟอนเทียร์ (ไทย) จำกัด ไม่แตกต่าง จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้
๓) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารจัดการตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของ บริษัท เอ็นอีซี อินฟอนเทียร์ (ไทย) จำกัด
ด้านจักขุมา (วิสัยทัศน์) (๑) วิสัยทัศน์ที่คิดขึ้นขาดการมีส่วนร่วมจากคนรุ่นใหม่ (๒) ไม่สามารถสื่อสารให้ทุกคนเข้าใจตรงกัน เพื่อการทำงานที่มุ่งไปที่เป้าหมายเดียวกัน
ด้านวิธูโร (การจัดการ) (๑) ผู้บริหารยังไม่มีการกระจายอำนาจมายังผู้บริหารระดับล่างทำให้ภาระงานต่างๆถูกกระจุกตัวที่ผู้บริหารระดับบน (๒) หัวหน้างาน บางคนยังขาดทักษะ คือใช้คนไม่ตรงกับงาน ส่งผลให้การแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ ไม่ชัดเจนทำให้คนทำงานเกิดความสับสน
ด้านนิสสยสมฺปนฺโน (มนุษยสัมพันธ์) (๑) ผู้บริหารระดับสูงและพนักงานมีปัญหาเรื่องมนุษยสัมพันธ์ มีการใช้อำนาจกดขี่ (๒) บริษัทมีคนญี่ปุ่นทำงานด้วย คนไทย (พนักงาน) ไม่กล้าที่จะเข้าไป คุยด้วยเพราะไม่เก่งภาษาอังกฤษ
ข้อเสนอแนะ 
ด้านจักขุมา (วิสัยทัศน์)  (๑) ผู้บริหารระดับสูง ควรเปิดรับความคิดเห็นของคนรุ่นใหม่ได้เสนอความคิด และกิจกรรม ต่างๆ ที่สร้างสรรค์ อย่างต่อเนื่อง (๒) ผู้บริหารต้องทำความเข้าใจในระดับผู้จัดการให้เข้าใจทิศทางและวิสัยทัศน์ขององค์กรจริงๆก่อน และการสื่อสารต่อไปยังผู้ใต้บังคับบัญชา
ด้านวิธูโร (การจัดการ) (๑) ผู้บริหารระดับสูงควรปรับเปลี่ยนทัศนคติของผู้บริหารให้มีใจเปิดกว้างและต้องมีการจัดการในด้านต่างๆให้เสมอภาคกัน (๒) ใช้คนให้ถูกทาง บุคคลไหนมีความถนัดด้านใดเป็นพิเศษควรส่งเสริม
ด้านนิสสยสมฺปนฺโน (มนุษยสัมพันธ์) (๑) ให้มีการอบรมความเป็นภาวะผู้นำโดยการปลูกจิตสำนึกความเข้าใจ เอาใจเขามาใสใจเรา (๒) จัดให้มีการอบรมบ่อยๆเกี่ยวกับภาษา
๔) ผลการสัมภาษณ์เชิงลึกของบุคลกรผู้ให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการบริหารจัดการตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของ บริษัท เอ็นอีซี อินฟอนเทียร์ (ไทย) จำกัด สามารถสรุปได้ดังนี้ ผู้บริหารและบุคลากรทุกระดับ ต้องตระหนักและให้ความสำคัญต่อหลักการของทุติยปาปณิกสูตร ซึ่งประกอบไปด้วย ๓ ด้าน คือ ๑. ด้านจักขุมา (วิสัยทัศน์) การมองการณ์ไกล ๒.ด้านวิธูโร (การจัดการ) การจัดการธุระได้ดีมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ๓. ด้านนิสสยสมฺปนฺโน การมีมนุษยสัมพันธ์ดี ทั้งนี้เพื่อให้การบริหารจัดการประสบความสำเร็จทั้งคนและงานและสามารถยืนหยัดอยู่ท่ามกลางยุคโลกาภิวัตน์อย่างไม่สูญเสียคุณค่าของความเป็นมนุษย์พร้อมเติบโตไปกับโลกทุนนิยมอย่างแข้มแข็ง

ดาวน์โหลด

 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕