หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาถาวร อภิชฺชโว ( วิเศษเลิศ )
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๔ ครั้ง
ประสิทธิผลการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการ ในอำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาถาวร อภิชฺชโว ( วิเศษเลิศ ) ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ, รศ.
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของพระสังฆาธิการและพระสงฆ์ ต่อประสิทธิผลการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในอำเภอเมือง  จังหวัดบึงกาฬ ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสังฆาธิการและพระสงฆ์ต่อประสิทธิผลการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการ  ในอำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ โดยจำแนกปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อศึกษา ปัญหา อุปสรรคและ ข้อเสนอแนะ ต่อประสิทธิผลการบริหารกิจการคณะสงฆ์ ของพระสังฆาธิการ ในอำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ( Mixed  methods) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือพระสังฆาธิการและพระสงฆ์ จากเขตการปกครองคณะสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ จำนวน๒๑๒ รูป จากจำนวน พระสงฆ์และพระสังฆาธิการ ๔๕๒ รูป โดยใช้สูตรคำนวณวิธีการของทาโร่ยามาเน่(Taro Yamane) ข้อมูลทั่วไปของประชากร คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ระดับความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการ ในอำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ  (Percentage)  ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard  Deviation)และทดสอบสมมติฐานเพื่อบรรยายข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล การทดสอบค่าที (t –test) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way  Analysis  of  Variance : ANOVA ) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า
๑) ประสิทธิผลการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการ ในอำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = ๓.๒๘) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านแล้ว พบว่า อยู่ในระดับมาก ๒ ด้าน คือ ด้านการปกครอง ( = ๓.๕๐) และ ด้านสาธารณูปการ ( = ๓.๔๑) ส่วนอีก ๔ ด้านอยู่ในระด้บปานกลาง ได้แก่ ด้านการเผยแผ่ ( = ๓.๒๘) ด้านการศาสนการศึกษา ( = ๓.๕๐) ด้านสาธารณสงเคราะห์  ( = ๓.๒๐)  ด้านการศึกษาสงเคราะห์  ( = ๓.๐๕)   ตามลำดับ
๒) เปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสงฆ์ต่อประสิทธิผลการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการ ในอำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ เมื่อจำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล พบว่า พระสงฆ์ที่มี อายุ พรรษา ตำแหน่ง วุฒิการศึกษาสามัญ  วุฒิการศึกษาทางธรรม และวุฒิการศึกทางเปรียญธรรม พบว่า พระสงฆ์ที่มีวุฒิการศึกษาทางธรรม และวุฒิการศึกษาทางเปรียญธรรม  ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการ ในอำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ส่วนพระสงฆ์ที่มี อายุ พรรษา ตำแหน่ง และวุฒิการศึกษาสามัญต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในอำเภอเมืองจังหวัดบึงกาฬ ไม่แตกต่างกัน 
๓) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประสิทธิผลการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในอำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ  พบว่า 
ด้านการปกครอง พระภิกษุสามเณรขาดความรู้ในเรื่องการปกครองคณะสงฆ์ ควรส่งเสริมผู้มีรู้ความสามารถเหมาะสมเข้ามาบริหารปกครองด้วยหลักธรรมและดูแลพระภิกษุสงฆ์ให้ทั่วถึง 
ด้านการศาสนศึกษา พระภิกษุสามเณรขาดทุนในการศึกษาในระดับสูง ควรส่งเสริมให้พระสงฆ์ทุกรูปในวัดได้เรียนพระธรรมวินัยเป็นประจำ
ด้านการศึกษาสงเคราะห์ การตั้งกองทุนสนับสนุนการศึกษาสำหรับพระภิกษุสามเณรยังไม่เพียงพอ ควรมีการจัดตั้งทุนให้พระภิกษุสามเณรศึกษาต่อในระดับที่สูง
ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา   รูปแบบการเผยแพร่ยังไม่ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบัน ควรนำสื่อรูปแบบต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการเผยแผ่
ด้านการสาธารณูปการ การสร้างถาวรวัตถุในปัจจุบันมักไม่คำนึงถึงความจำเป็นมากน้อยในการสร้าง ยังขาดการดูแลบำรุงรักษารวมทั้งความสะอาด ควรจัดตั้งกองทุนและมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลด้านนี้โดยเฉพาะ
ด้านสาธารณสงเคราะห์ ขาดการมีส่วนร่วมกับชุมชน ไม่มีการจัดตั้งศูนย์อาชีพเพื่อส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น  ควรกำหนดแผนการปฏิบัติงานในด้านนี้

ดาวน์โหลด

 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕