หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระอภิชาติ อภิชาโต (โต๊ะเตะ)
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๒ ครั้ง
การศึกษาการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของผู้บริหาร โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๗ จังหวัดปราจีนบุรี (การบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระอภิชาติ อภิชาโต (โต๊ะเตะ) ข้อมูลวันที่ : ๑๔/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ. ดร. สิน งามประโคน
  ผศ.ดร. ชวาล ศิริวัฒน์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๕ มีนาคม ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๗ จังหวัดปราจีนบุรี ๒) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หัวหน้าสาขา และครู โรงเรียนมัธยมศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๕๖ จำนวน ๔ โรงเรียน จำนวนทั้งหมด ๓๕๒ คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย
๑. การศึกษาการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า อยู่ในระดับมาก ทั้ง ๔ ด้าน เรียงจากมากไปหาน้อยคือ ด้านการใช้หลัก    อัตถจริยา, ด้านการใช้หลักสมานัตตตา, ด้านการใช้หลักทาน และด้านการใช้หลักปิยวาจา ตามลำดับ
๒. ข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๗ จังหวัดปราจีนบุรี มี ดังนี้
                ๑) ด้านทาน ผู้บริหารควรสร้างขวัญกำลังใจต่อบุคคลากรในการทำงานและให้บุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อการบริหารงาน
                ๒) ด้านปิยวาจา ผู้บริหารควรกำหนดเกณฑ์การพิจารณาความดีความชอบของบุคคลากรอย่างชัดเจนและควรใช้ถ้อยคำที่สร้างสรรค์ให้บุคคลากรทำงานอย่างมีความสุข
              ๓) ด้านอัตถจริยา ผู้บริหารควรมีนโยบายส่งเสริมให้บุคลากรพัฒนาตนเองด้วยการไปอบรม ศึกษาต่อทุกคนและควรประเมินภาระงานของบุคลากรอย่างยุติธรรม
                ๔) ด้านสมานัตตตา ผู้บริหารควรมีการแจ้งการโยกย้ายเปลี่ยนตำแหน่งบุคคลากรตามความรู้ความสามารถอย่างยุติธรรมและควรยอมรับความคิดเห็นของบุคคลากรในการปรับปรุงการบริหารงาน
 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕