หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาทวีศักดิ์ ปญฺญาสาโร (เกตเสนา)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๓ ครั้ง
การจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี จังหวัดนนทบุรี (การบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาทวีศักดิ์ ปญฺญาสาโร (เกตเสนา) ข้อมูลวันที่ : ๑๒/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย
  ผศ. ดร. อินถา ศิริวรรณ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี จังหวัดนนทบุรี       ๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับกาจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาจำแนกตามสถานภาพของนักเรียน ๓) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา  โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนจำนวน 285 คน ในโรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี จังหวัดนนทบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียน ต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา โดยใช้ค่าเฉลี่ยด้วย t-Test และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Anova)

ผลการวิจัย
๑) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา ในโรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี  จังหวัดนนทบุรี โดยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า  ทุกข้ออยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ๓ อันดับ ได้แก่ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน รองลงมา ด้านการใช้สื่อในการเรียนการสอน ด้านกระบวนการเรียนการสอนต่ำที่สุด
๒) การเปรียบเทียบข้อมูลพื้นฐานนักเรียน ในเรื่องเพศ อายุ และชั้นเรียน ของนักเรียนซึ่งมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา  นักเรียนที่มีอายุแตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็น ต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา โดยภาพรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.๐๕
๓) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ ในการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา 
  ๑) ด้านหลักสูตรการเรียนการสอน ครูควรมีความยืดหยุ่นเรื่องหลักสูตร  ๒) ด้านกระบวนการเรียนการสอน ครูควรให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนทั้งในและนอกห้องเรียน ๓) ด้านการใช้สื่อในการเรียนการสอน ครูควรเพิ่มสื่อการเรียนการสอนให้มากและทันสมัย ๔) ด้านกิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอน ครูควรมีการจักกิจกรรมที่ประกอบการเรียนน่าสนใจและทันสมัยมากขึ้น ๕) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน ครูควรนำผลการเรียนของนักเรียนมาปรับปรุงการเรียนการสอนให้ดีขึ้น

ดาวน์โหลด

 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕