หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระอุทิศ อาสภจิตฺโต (สุขแสง)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๗ ครั้ง
การมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด : กรณีศึกษา ศูนย์บำบัดยาเสพติด วัดศรีทรงธรรม จังหวัดอุดรธานี (การพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : พระอุทิศ อาสภจิตฺโต (สุขแสง) ข้อมูลวันที่ : ๑๐/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูปุริมานุรักษ์
  ผศ.ดร.ภัทรพล ใจเย็น
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ คือ ๑) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ของศูนย์บำบัดยาเสพติด วัดศรีทรงธรรม จังหวัดอุดรธานี  ๒) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ของศูนย์บำบัดยาเสพติด            วัดศรีทรงธรรม จังหวัดอุดรธานี และ  ๓) เพื่อทราบปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ต่อ ศูนย์บำบัดยาเสพติด วัดศรีทรงธรรม จังหวัดอุดรธานี ดำเนินการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methodolgy Research) ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ที่เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ที่เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview)  ประชากร ได้แก่ ประชาชนในชุมชนของ      ศูนย์บำบัดยาเสพติด วัดศรีทรงธรรม อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี จำนวน ๒๑๗ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์แบบบันทึกข้อมูลภาคสนามและแบบสอบถามการมีส่วนร่วม การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามใช้โปรแกรมสำเร็จรูปโดยใช้สถิติร้อยละสำหรับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม และใช้สถิติค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับระดับการมีส่วนร่วม ข้อมูลจากการบันทึกภาคสนามใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัย
ระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ของศูนย์บำบัดยาเสพติด        วัดศรีทรงธรรม จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย  เท่ากับ ๓.๗๑ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. เท่ากับ ๐.๔๐ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด การมีส่วนร่วมด้านการประเมินผล การมีส่วนร่วมด้านการสนับสนุน การมีส่วนร่วมด้านการปฏิบัติการ อยู่ในระดับมาก ส่วนการมีส่วนร่วมด้านการวางแผน และการมีส่วนร่วมด้านการรับผลประโยชน์ อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ของศูนย์บำบัดยาเสพติด วัดศรีทรงธรรม จังหวัดอุดรธานี จำแนกตามเพศ  อายุ  สถานภาพ ความสัมพันธ์ วุฒิการศึกษา และอาชีพ แตกต่างกัน มีการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีรายได้ ต่างกัน  มีการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติด แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้  และปัญหา อุปสรรค และแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ศูนย์บำบัดยาเสพติด     วัดศรีทรงธรรม จังหวัดอุดรธานี พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือนน้อย อยู่ในช่วงสูงวัย ขาดความรู้ความเข้าใจ และไม่ให้ความสำคัญในการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดของชุมชน เพราะคิดว่าเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการศูนย์บำบัดยาเสพติด และขาดการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง ขาดการสนับสนุนจากองค์กรส่วนปกครองท้องถิ่น
 

ดาวน์โหลด

 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕