หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระบรรพต ตยานนฺโท (ปิ่นสง)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๘ ครั้ง
ความคาดหวังของประชาชนต่อการพัฒนาสังคมของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (การพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : พระบรรพต ตยานนฺโท (ปิ่นสง) ข้อมูลวันที่ : ๑๐/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสม กลฺยาโณ
  ผศ.ดร.โกนิฏฐ์ ศรีทอง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๘ มีนาคม ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

  งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑. เพื่อศึกษาความคาดหวังของประชาชนต่อการพัฒนาสังคมของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี  ๒. เพื่อเปรียบเทียบความคาดหวังของประชาชนต่อการพัฒนาสังคมของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรีจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 

๓. เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อความคาดหวังของประชาชนต่อการพัฒนาสังคมของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ประชากรในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จำนวน ๑๙๔ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม แบ่งเป็น ๓ ตอน คือ ตอนที่ ๑ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับลักษณะประชากรของกลุ่มตัวอย่าง  ตอนที่ ๒ เป็นแบบสอบถามความคาดหวังของประชาชนต่อการพัฒนาสังคมของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และ
ตอนที่ ๓ เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความคาดหวังของประชาชนต่อการพัฒนาสังคมของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การหาค่าความถี่ (Frequency) และร้อยละ (Percentage) ใช้สถิติหาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ใช้สถิติ t test ใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) และในกรณีที่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจะนำไปเปรียบเทียบเป็นรายคู่ตามวิธีของ LSD
ผลการวิจัย พบว่า
๑.ลักษณะประชากรของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง ๔๑-๕๐ ปี มีระดับการศึกษาในระดับชั้นปริญญาตรี มีสถานภาพสมรสแล้ว ส่วนใหญ่มีอาชีพ ค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว และส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือน ๕,๐๐๑-๑๐,๐๐๐ บาท
๒.ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นต่อความคิดเห็นต่อความคาดหวังของประชาชนต่อการพัฒนาสังคมของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๕๓ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยได้ดังนี้  ๑) ด้านการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๖๐ ๒) ด้านทรัพยากรมนุษย์และสังคม โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๕๗  ๓) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๕๑ ๔) ด้านบริหารและการปกครอง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๕๑ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๔๔ ตามลำดับ
๓.ผลวิเคราะห์การทดสอบสมมติฐานการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับ
ความคาดหวังของประชาชนต่อการพัฒนาสังคมของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี สรุปได้ว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับความคาดหวังของประชาชนต่อการพัฒนาสังคมของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรีด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพแตกต่างกัน ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ 
ส่วนด้านสถานภาพและรายได้ต่อเดือน ไม่แตกต่างกัน ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้
๔.ข้อเสนอแนะส่วนใหญ่ คือ ๑) ด้านการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานควรมีการแก้ปัญหาเรื่องการที่ที่อยู่อาศัยหนาแน่น การจราจรติดขัด และให้พื้นที่ว่างให้เกิดประโยชน์ ๒) ด้านการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ควรดูแลเรื่องการว่างงานในชุมชน พัฒนาอาชีพในชุมชน ควรปรับปรุงความสะอาดของตลาด ๓) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควรดูแลเรื่องการจราจร และดูแลเรื่องการจัดเก็บขยะ รักษาความสะอาดให้มากกว่านี้ ๔) ด้านทรัพยากรมนุษย์และสังคม ควรดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ควรมีกล้องวงจรปิดที่สามารถใช้ได้ทุกจุด และ ๕) ด้านบริหารและการปกครอง ควรมีการร้องเรียนและดูแลเรื่องราวร้องทุกข์ให้รวดเร็วขึ้น มีการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร ต่าง ๆ ให้ถึงประชาชนมากขึ้นกว่านี้
ดังนั้น ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาคือ ควรรับฟังความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และนำผลที่ได้จากการวิจัยมาปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่เป็นปัญหาแก่ประชาชนให้มีความชัดเจนและตอบสนองความต้องการของประชาชนให้มากขึ้น เป็นต้น
 

ดาวน์โหลด

 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕