หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นายมนตรี เพชรนาจักร
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๔ ครั้ง
แนวคิดเรื่องการข้ามพ้นความเป็นศาสนาของพุทธทาสภิกขุ (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ปรัชญา))
ชื่อผู้วิจัย : นายมนตรี เพชรนาจักร ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๐๖/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร (พรรณา), ผศ.,ดร.,พธ.บ,ศศ.ม.,พธ.ด.
  ศาสตราจารย์ ดร.สมภาร พรมทา, พธ.บ.,อ.ม.,อ.ด.
  ศาสตราจารย์ ดร.สมภาร พรมทา, พธ.บ.,อ.ม.,อ.ด.
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ

ปรากฏการณ์ทางศาสนาที่เกิดขึ้นในโลกคือ การที่ศาสนามีมากกว่าหนึ่งและไม่เหมือนกัน ส่งผลให้เกิดความความแตกต่างและความขัดแย้งทางศาสนา โดยเฉพาะความขัดแย้งเกี่ยวกับชีวิตทางศาสนาของผู้มีศาสนาที่ต่างกัน พุทธทาสภิกขุ ได้เสนอทางออกของปัญหานี้ด้วยแนวคิดเรื่อง“ไม่มีศาสนา”

“ไม่มีศาสนา” คือภาวะของการเปลี่ยนผ่านจากความเข้าใจว่ามีศาสนาไปสู่ความว่างจากการมีศาสนา อันเป็นพัฒนาการทางจิตจากการยึดโยงโลกทางกายภาพไปสู่ความว่างจากตัวตนอันเป็นที่ตั้งของความมี/เป็น

พุทธทาสภิกขุ เห็นว่า ศาสนาแท้จริงคือศาสนาแห่งการกระทำเพื่อความรอดจากทุกข์ ศาสนาทั้งหลาย ถูกปิดบังด้วยความไม่รู้ จึงมองไม่เห็นความจริงทางศาสนา อันเป็นปฐมเหตุของสรรพสิ่ง ความปรากฏของสรรพสิ่งอันเป็นกฎแห่งความเป็นปัจจัยแก่กันและกัน คือ การที่สรรพสิ่งไม่คงที่ เปลี่ยนแปลง และไม่ได้อยู่ในฐานะตัวตนแท้จริง หากเราถอดถอนสรรพสิ่งออกจะเหลือความว่าง (สุญญตา) จากสรรพสิ่ง ในภาวะแห่งว่าง ไม่มีความทุกข์ ภาวะเช่นนี้มีลักษณะหนึ่งเดียว แผ่ปกคลุมเต็มทั้งหมด (ไกวัลย์) ไม่มีอะไรทำให้เป็นอย่างอื่น (อสังขตะ) ทั้งหมดคืออย่างเดียวกัน (สุญญตา-อสังขตะ) อันเป็นความจริงตามธรรมชาติ ที่ต้องเป็นอย่างนั้น โดยไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้น การที่เราเข้าใจว่าศาสนามีอยู่ จึงมีอยู่ในฐานะ “ไม่มีศาสนา” เพราะว่างจากการมีศาสนาบนภาวะแห่งจิตว่าง

การ “ไม่มีศาสนา” จึงบอกไม่ได้ว่าเป็นอะไร เพราะไม่มีสิ่งใดจะเป็นได้ และไม่มีการที่จะเป็นสิ่งใด เพราะว่างจากที่จะเป็น จึงเป็นอย่างที่เป็น (ตถตา) ในภาวะ “ไม่มีศาสนา” จึงปลอดพ้นจากปัญหาศาสนาทั้งในเชิงทฤษฎีและชีวิตทางศาสนา เพราะเป็นการข้ามพ้นแล้วจากความเป็นศาสนา

 

คำสำคัญ               ศาสนา, ไม่มีศาสนา, พุทธทาส, พุทธศาสนา,พุทธปรัชญา

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕