หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระวิทูล ญาณธมฺโม (พันธุมิตร)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๔ ครั้ง
ศึกษาพฤติกรรมด้านความกตัญญูกตเวที ต่อบิดามารดาของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านหนองช้าง ตำบลเขวาทุ่ง อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด
ชื่อผู้วิจัย : พระวิทูล ญาณธมฺโม (พันธุมิตร) ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๑๐/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาดาวสยาม วชิรปัญโญ. ดร.,ป.ธ.๖,พธ.บ., ศศ.บ., M.A.,Ph.D(Pali & Theravada Buddhism)
  ผศ.ดร.สุวิน ทองปั้น, พธ.บ. ( ปรัชญา ), M.A. (Phil.), Ph.D. (Phil.)
  ดร.ไพฑูรย์ สวนมะไฟ ป.ธ.๔, ศน.บ., M.A., Ph.D. (Buddhism).
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

                      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ ๑)  เพื่อศึกษาความกตัญญูกตเวทีตามนัยพระพุทธศาสนาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาพฤติกรรมด้านความกตัญญูกตเวที ต่อบิดามารดา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านหนองช้าง ตำบลเขวาทุ่ง อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด  ๓) เพื่อศึกษาแนวทางในการปลูกฝังความกตัญญูกตเวที ต่อบิดามารดาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านหนองช้าง ตำบลเขวาทุ่ง อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด  เพื่อศึกษาพฤติกรรมด้านความกตัญญูกตเวที ต่อบิดามารดาของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านหนองช้าง ตำบลเขวาทุ่ง  อำเภอธวัชบุรี  จังหวัดร้อยเอ็ด  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบเจาะจง ได้แก่  คณะครู จำนวน     คน นักเรียน จำนวน  ๑๕  คน และผู้ปกครอง จำนวน ๕  คน รวมทั้งสิ้นจำนวน ๒๕ คน 

                      ความกตัญญูกตเวที ตามนัยแห่งในพระพุทธศาสนาเถรวาท  ความกตัญญูเป็นคุณธรรมพื้นฐานของมนุษย์ที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อกันและกัน ด้วยความสำนึกในบุญคุณของคนอื่นที่ทำแล้วแก่ตน ทั้งโดยตรงและโดยอ้อมไม่ว่าจะทำให้แก่ตนหรือไม่ก็ตาม โดยความบริสุทธิ์ใจ ส่วนกตเวที มี ๒ ลักษณะ คือ ประกาศคุณท่าน ได้แก่ ประกาศความดีของผู้พระคุณต่อตน หรือด้วยการปฏิบัติตนเป็นคนดี และ ตอบแทนคุณท่าน ได้แก่ การตอบแทนด้วยวัตถุสิ่งของ ด้วยการรับใช้ดูแล ด้วยความเคารพเชื่อฟัง  บุคคลผู้มีความกตัญญูเป็นคนดี ได้รับการยกย่องสรรเสริญ ส่วนโทษของการไม่มีความกตัญญู ย่อมทำให้ตนเองและสังคม มีแต่ความเดือดร้อน  หลักธรรมที่ส่งเสริมความกตัญญู คือ สังคหวัตถุ ๔ พรหมวิหาร ๔ ฆราวาสธรรม ๔ โภคอาทิยะ ๕ คารวะ ๖ สาราณียธรรม ๖ ทิศ ๖ เป็นต้น

                      พฤติกรรมด้านความกตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านหนองช้าง ตำบลเขวาทุ่ง อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด สรุปผลการศึกษาดังนี้  ๑) ท่านเลี้ยงเรามาแล้ว   เลี้ยงท่านตอบ  โดยรวมสรุปพฤติกรรม ด้านท่านเลี้ยงเรามาแล้วเลี้ยงท่านตอบ คือ นักเรียนเตรียมอาหารและน้ำดื่มให้มารดาบิดา   ดูแลทำความสะอาดห้องนอนของมารดา   จัดอาหารและยาตามที่แพทย์ให้มารดาบิดาเมื่อเจ็บป่วย   นักเรียนซักเสื้อผ้าให้มารดาบิดา  เป็นต้น ๒) ด้านช่วยทำการงานของท่าน   นักเรียนหุงข้าวทำกับข้าวให้บิดามารดารับประทาน   กวาดบ้าน   ถูบ้าน   ล้างถ้วยล้างจาน   กรอกน้ำใส่ตู้เย็น   เก็บสิ่งของเครื่องใช้ภายในบ้านอย่างระมัดระวัง   ช่วยทำธุระภายนอกบ้านแทนบิดามารดา  ไปซื้อของนอกบ้านแทนบิดามารดา  เป็นต้น  ๓) ดำรงวงศ์ตระกุล คือ นักเรียนไหว้บิดามารดาก่อนออกจากบ้านและกลับเข้าบ้าน   นักเรียนเป็นคนดีมีนิสัยมัธยัสถ์   ขยันตั้งใจเรียนหนังสือ   ๔) ประพฤติตนให้เหมาะสมแก่การรับทรัพย์มรดก  คือ นักเรียนพูดคุยกับบิดามารดาด้วยกิริยามารยาทสุภาพเรียบร้อย   ให้ของขวัญแก่บิดามารดาในโอกาสพิเศษ   เช่นวันขึ้นปีใหม่   วันสงกรานต์   วันแม่ เป็นต้น ๕) ทำบุญอุทิศให้ท่านเมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว  คือ นักเรียนชวนบิดามารดาไปถวายสังฆทานที่วัดเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษ  ทำบุญทอดกฐิน   ผ้าป่าเพื่อสร้างวัด  เป็นต้น  

                      แนวทางในการปลูกฝังความกตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดา สรุปได้ดังนี้คือ สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนาที่ควรจะให้ความรู้ทางพระพุทธศาสนาเพื่อช่วยกระตุ้นเตือนและปลูกฝังคุณธรรม โดยเฉพาะความกตัญญูกตเวทีให้เกิดขึ้นกับเด็กโดยผ่านการ ปลูกฝังและกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การเข้าค่ายอบรมคุณธรรม การปฏิบัติธรรม ตลอดทั้งกิจกรรมวันแม่ วันพ่อรวมถึงการพาเด็กเข้าวัดทำบุญ ตักบาตร ไหว้พระ สวดมนต์ นั่งสมาธิภาวนา เป็นต้น เพราะความกตัญญูกตเวทีนั้น สามารถกระทำได้ โดยท่านเลี้ยงเรามาแล้วเลี้ยงท่านตอบ ช่วยทำการงานของท่าน  ดำรงวงศ์ตระกูล ประพฤติตนให้เหมาะสมแก่การรับทรัพย์มรดก ทำบุญอุทิศให้ท่านเมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว เพราะการบำรุงบิดามารดานั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่นักเรียนจะต้องกระทำทันทีที่มีโอกาสในปัจจุบันโดยไม่ต้องรอโอกาสมาถึง

 ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕