หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสมุห์ทรง สญฺญโต (ทองคุ้ม)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๓ ครั้ง
บทบาทของวัดไร่ขิงที่มีต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
ชื่อผู้วิจัย : พระสมุห์ทรง สญฺญโต (ทองคุ้ม) ข้อมูลวันที่ : ๒๕/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม, พธ.บ., M.A., Ph D. (Pol. Sc.)
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ, ผศ., พธ.บ. (เกียรตินิยม), ศศ.ม.,รป.ม.
  อาจารย์ ดร.ยุทธนา ปราณีต, พธ.บ., รบ., M.A., Ph.D. (Pol. Sc)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ (๑) เพื่อศึกษาบทบาทของวัดไร่ขิงที่มีต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม (๒) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทของวัดไร่ขิงที่มีต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม (๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทของวัดไร่ขิงที่มีต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยทำการสุ่มแบบแบ่งพื้นที่ (Area Sampling) แล้วทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) ตามสัดส่วนของประชากร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม (Questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.)  ทดสอบสมติฐานโดยใช้การทดสอบค่าที (t-test) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปร ๒ ตัวแปรที่เป็นอิสระต่อกันและค่าเอฟ (F-test) โดยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ โดยวิธีหาผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD)  นอกจากนี้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ (Interview) โดยวิธีการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน ๕ ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลการสัมภาษณ์ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาประกอบบริบท (Content Analysis Technique) 

 

 

 

 

ผลการวิจัยพบว่า

๑. บทบาทของวัดไร่ขิงที่มีต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นต่อบทบาทของวัดไร่ขิงที่มีต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

๒. ผลการเปรียบเทียบบทบาทของวัดไร่ขิงที่มีต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความแตกต่างตัวแปร พบว่า เพศ อายุ รายได้ และอาชีพ มีผลให้ประชาชนมีความคิดเห็นต่อบทบาทของวัดไร่ขิงที่มีต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ไม่แตกต่างกัน จึงเป็นการปฏิเสธสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ ส่วนด้านระดับการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑ ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้

๓. ผลการสัมภาษณ์ พบว่า วัดไร่ขิงมีบทบาทในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชาชนในเขตตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เป็นอย่างมาก และมีบทบาทโดยใช้การบริหารกิจการคณะสงฆ์เข้ามาส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชาชน ซึ่งประกอบด้วย ๓ ด้าน ด้วยกัน ด้านการเผยแผ่ การพัฒนาจิตใจ และด้านการสาธารณสงเคราะห์

๔. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทของวัดไร่ขิงที่มีต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม พบว่า วัดไร่ขิงควรมีการวางแผนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุก เนื่องจากประชาชนไม่ค่อยให้ความสำคัญ วัดไร่ขิงต้องเข้าไปให้ใกล้ประชาชนมากที่สุด เพื่อเผยแผ่ธรรมให้ประชาชนได้ทราบข้อดี และข้อเสีย ในการดำเนินชีวิต เพื่อให้การดำเนินชีวิตของประชาชนไปในทางที่ถูกต้องเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนเอง ผู้อื่น และสังคม

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕