หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางสาวนพรัตน์ สมสวาสดิ์
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๐ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์อริยมรรคมีองค์๘เพื่อการหลุดพ้นจากกรรม
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวนพรัตน์ สมสวาสดิ์ ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระศรีคัมภีรญาณ (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ/วันจันทร์), รศ.ดร.ป.ธ.๙, ศษ.บ.,พธ.ม.,(พระพุทธศาสนา) Ph.D (Pali&Buddhist Studies)
  ดร. ประพันธ์ ศุภษร ป.ธ.๗, พธ.บ. ,ศศ.ม. (พุทธศาสนศึกษา)พธ.ด.(พระพุทธศาสนา)
  อาจารย์ อดุลย์ คนแรง ป.ธ.๙, พธ.บ., อภิ.บ., น.บ., ศษ.บ.,ศษ.ม.(จารึกภาษาไทย)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๔
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

             

                 วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาอริยมรรคมีองค์ ๘ ในพระพุทธศาสนา      ๒ )เพื่อศึกษากรรมในพระพุทธศาสนา ๓) เพื่อศึกษาอริยมรรคมีองค์๘ ในฐานะเป็นทางดำเนินเพื่อการหลุดพ้นจากกรรมตามแนวพระพุทธศาสนา โดยงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารชั้นปฐมภูมิ ได้แก่ พระไตรปิฎก เอกสารชั้นทุติยภูมิ ได้แก่ อรรถกถา คัมภีร์ ตำรา งานวิจัยเอกสารและสิ่งตีพิมพ์ เป็นต้น

                  ผลการวิจัยพบว่า อริยมรรคคือแนวทางในการปฏิบัติหรือแนวทางการดำเนินชีวิต อันจะนำไปสู่ทางแห่งความดับทุกข์ และหลุดพ้นจากกรรมเป็นวิธีการที่บุคคลนำเอากฎเกณฑ์ของธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตของตน  กรรม หมายถึง การกระทำของบุคคลที่ประกอบด้วยเจตนา การกระทำของบุคคลที่ยังมีกิเลส จากหลักวัฏฏะ ๓ ซึ่งหมุนเวียนสืบทอดต่อๆกันไป ทำให้เกิดการเวียนว่ายตายเกิด หรือเป็นวงจรแห่งความทุกข์ ได้แก่ กิเลส กรรม วิบาก ซึ่งอธิบายได้ว่า กิเลส เป็นเหตุให้เกิดกรรม เมื่อทำกรรมได้รับวิบากคือผลของกรรมนั้น อันเป็นปัจจัยให้เกิดกิเลสแล้วทำกรรมหมุนเวียนต่อไปอีก และสามารถหลุดพ้นจากกรรมได้โดยการใช้อริยมรรคมีองค์๘หลักปฏิบัติในอริยมรรคมีองค์๘ พูดโดยย่อเป็นศีล สมาธิ ปัญญา ย่อได้อีกเป็น สมถะ-วิปัสสนาหรือ รูปกับนาม เมื่อปฏิบัติตามแล้วได้ประโยชน์ปัจจุบันประโยชน์ด้านคุณค่าชีวิต ประโยชน์ที่เป็นสาระแท้จริงของชีวิตรู้แจ้งสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง รู้เท่าทันคติธรรมดาของสังขารธรรม ไม่ตกเป็นทาสของโลกและชีวิต มีจิตใจเป็นอิสระโปร่งโล่งผ่องใส ไม่ถูกบีบคั้นคับข้องจำกัดด้วยความยึดติดถือมั่นหวั่นหวาดของตนเอง ปราศจากกิเลสเผาลนที่ทำให้เศร้าหมองขุ่นมัว อยู่อย่างไร้ทุกข์ ประจักษ์แจ้งความสุขประณีตภายในที่สะอาดบริสุทธิ์สิ้นเชิงอันประกอบพร้อมด้วยความสงบเยือกเย็นสว่างไสวเบิกบานโดยสมบูรณ์

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕