หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระวรรณดี โชติธมฺโม
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๖ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์อิทธิพลของไตรลักษณ์ต่อทัศนคติเกี่ยวกับชีวิตและความตาย :กรณีศึกษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลกำปงจาม ประเทศกัมพูชา
ชื่อผู้วิจัย : พระวรรณดี โชติธมฺโม ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาทองศรี เอกวํโส, ดร., ป.ธ.๓, พธ.บ., M.A., Ph.D.
  รศ.ดร.เมธาวี อุดมธรรมนุภาพ, Ph.D. (Psychology).
  ผศ.ดร.ประยูร สุยะใจ, ป.ธ.๓, พธ.บ., B.J., กศ.ม., M.A.,M.Ed.,Ph.D. (Psychology).
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๓
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

                  การศึกษาวิเคราะห์อิทธิพลของไตรลักษณ์ต่อทัศนคติเกี่ยวกับชีวิตและความตาย : กรณีศึกษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลกำปงจาม ประเทศกัมพูชา มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดชีวิตและความตายในพระพุทธศาสนาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับไตรลักษณ์ และ ๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์อิทธิพลของไตรลักษณ์ต่อทัศนคติเกี่ยวกับชีวิตและความตาย ของผู้ป่วยในโรงพยาบาลกำปงจาม อำเภอเมืองกำปงจาม จังหวัดกำปงจาม ประเทศกัมพูชา

      งานวิจัยฉบับนี้ มีลักษณะเป็นการพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis)การสัมภาษณ์แบบเชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ป่วยในโรงพยาบาลกำปงจาม ประเทศกัมพูชา จำนวน ๒๐ คน

 

       ผลการวิจัยพบว่า

      ) แนวคิดเรื่องชีวิตและความตายในพระพุทธศาสนาเถรวาท

      ตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท ความตายปรากฏแก่ทุกชีวิต ไม่เลือกเวลา หรือสถานที่ เมื่อเข้าใจในความตาย ก็ควรดำรงอยู่ในความไม่ประมาท ขวนขวายทำกิจที่ควรทำ คฤหัสถ์ไม่พึงประมาทในชีวิต รีบเร่งทำความดีต่าง ๆ ก่อนความตายมาเยือน ก็ไม่ควรประมาทในชีวิต รีบเร่งทำความเพียรเพื่อให้บรรลุถึงความสิ้นกิเลส คือการเข้าถึงพระนิพพาน

 

      ๒) แนวคิดเกี่ยวกับไตรลักษณ์

                  กฎไตรลักษณ์เป็นกฎเกณฑ์ที่แน่นอนตายตัว เป็นกฎธรรมดาสามัญที่มีอยู่ในธรรมชาติ และสรรพสิ่งที่อยู่ในกฎเกณฑ์ของธรรมชาติไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ สรรพสิ่งล้วนตกอยู่สภาวะของหลักการนี้ด้วยเหตุว่าสิ่งทั้งหลายมีอยู่ในรูปของกระแส ส่วนประกอบแต่ละอย่าง ล้วนประกอบขึ้นจากส่วนประกอบอื่น ๆ ย่อยลงไป แต่ละอย่างไม่มีตัวตนของมันเอง มีการเกิดดับสืบต่อกันไป ไม่เที่ยง ไม่คงที่ ไม่อยู่ในอำนาจตัวตน

 

๓) อิทธิพลของไตรลักษณ์ต่อทัศนคติเกี่ยวกับชีวิตและความตาย

ชีวิตและความตายทัศนคติพระพุทธศาสนาเถรวาทเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาต้องเข้าใจและปรับชีวิตให้ได้กับสิ่งนั้น ๆ ดำเนินชีวิตให้มีความสุข โดยไม่ทำให้ผู้อื่นเดือนร้อนใช้ธรรมมะเป็นเครื่องนำทางชีวิต ละทิ้งสิ่งที่ทำให้เกิดทุกข์ ไม่ยึดติดกับสิ่งใด ๆ ใช้ชีวิตอย่างมีสติ และพอเพียง รักษาศีล ๕ ปฏิบัติธรรม ทำสมาธิ ยอมรับความไม่แน่นอน (ความไม่คงที่)

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕