หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูสังฆรักษ์โสภณ โสภโณ (ดียิ่ง)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๙ ครั้ง
การดำเนินงานพัฒนาโรงเรียนวิถีพุทธ เขตคลองสามวา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๒
ชื่อผู้วิจัย : พระครูสังฆรักษ์โสภณ โสภโณ (ดียิ่ง) ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ. ดร.สมศักดิ์ บุญปู่ ป.ธ.๔,พธ.บ.,M.A., Ph.D.
  พระครูโสภณพุทธิศาสตร์ ป.ธ.๓,พธ.บ. M.A.
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๔
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง การดำเนินงานพัฒนาโรงเรียนวิถีพุทธ  เขตคลองสามวา  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต ๒ ครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงานพัฒนาโรงเรียนวิถีพุทธเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร เพื่อเปรียบเทียบแนวทางการดำเนินงานพัฒนาโรงเรียนวิถีพุทธเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร จำแนกตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหาร ครู อาจารย์  ในโรงเรียนวิถีพุทธ เขตคลองสามวา จำนวน ๑๒๖ คน ได้มาโดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (StratifiedRandom Sampling) ตามตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างแบบสำเร็จรูปของ Krejcie & Morgan แบ่งตามสัดส่วนในแต่ละโรงเรียน สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่  และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (Standard Deviation) สถิติทดสอบค่าที (t-test) และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวน       ทางเดียว (One-Way Analysis of Variance: F-test)

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 

๑.  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานพัฒนาโรงเรียนวิถีพุทธ  เขตคลองสามวา  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๒ โดยการหาค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  พบว่า  การดำเนินงานพัฒนาโรงเรียนวิถีพุทธ  เขตคลองสามวา  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๒ โดยภาพรวมทุกด้าน อยู่ในระดับปานกลาง  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน  พบว่า  อยู่ในระดับมาก ๓ ด้าน และอยู่ในระดับปานกลาง ๔  ด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ขั้นเตรียมการ รองลงมาได้แก่ การเผยแพร่ผลการดำเนินงาน และด้านการพัฒนาบุคลากร  (ครู) ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่  ด้านการจัดสภาพองค์กร รองลงมาได้แก่กระบวนการประเมินผล ด้านการพัฒนาผู้เรียน (นักเรียน)  และด้านการสนับสนุนการดำเนินงาน ตามลำดับ   

๒.  ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการดำเนินงานพัฒนาโรงเรียนวิถีพุทธ เขตคลองสามวา  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๒ จำแนกตามเพศชายและเพศหญิง โดยการทดสอบค่าที (t-test)  โดยภาพรวม  พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ เมื่อพิจารณา  เป็นรายด้านก็พบว่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

๓.  ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบ การดำเนินงานพัฒนาโรงเรียนวิถีพุทธ  เขตคลองสามวา  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๒ จำแนกตามอายุ สถานภาพทางครอบครัว ระดับการศึกษา ระยะเวลาที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนวิถีพุทธและขนาดโรงเรียนของกลุ่มตัวอย่าง                      โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way Analysis of Variance: ANOVA)  ดังนี้

             ๑)  จำแนกตามอายุ โดยภาพรวม พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านก็พบว่า ด้านการพัฒนาบุคลากร (ครู) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

             ๒) จำแนกตามสถานภาพสมรส โดยภาพรวม พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านก็พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ          ที่ระดับ ๐.๐๕

             ๓) จำแนกตามระดับการศึกษา โดยภาพรวม พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านก็พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

             ๔) จำแนกตามระยะเวลาที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โดยภาพรวม พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านก็พบว่า แตกต่างกัน     อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

             ๕) จำแนกตามขนาดโรงเรียนของกลุ่มตัวอย่าง โดยภาพรวม พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการพัฒนาบุคลากร (ครู) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

 ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕