หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสัมฤทธิ์ เตชปุญฺโญ (จำเนียร)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๗ ครั้ง
ความคิดเห็นของครูในโรงเรียนต่อการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๑(กรุงเทพมหานคร)
ชื่อผู้วิจัย : พระสัมฤทธิ์ เตชปุญฺโญ (จำเนียร) ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย พธ.บ., M.Ed., Ph.D.
  พระมหาสมบูรณ์ สุธมฺโม ป.ธ.๗, พธ.บ., พธ.ม.
  ผศ.ดร.อินถา ศิริวรรณ พธ.บ., M.Ed., Ph.D.
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๔
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

                         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูในโรงเรียนต่อการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาและเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน เขตบางกอกใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑ (กรุงเทพมหานคร) ซึ่งครอบคลุมงาน ๕ ด้านคือ ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารงานกิจการนักเรียน ด้านการบริหารงานธุรการและการเงิน และด้านการบริหารงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม ซึ่งส่งให้ครูในโรงเรียนเขตบางกอกใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑ (กรุงเทพมหานคร) จำนวน ๑๖๕ คน

                         ผลการวิจัยพบว่า

๑.    ครูที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ ๕๑-๖๐ ปี มีวุฒิการศึกษาปริญญาตรี มีประสบการณ์ทำงานมากกว่า ๓๐ ปี

๒.  ความคิดเห็นของครูในโรงเรียน เขตบางกอกใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑ (กรุงเทพมหานคร) การบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา ตามภาระงาน ๕ ด้านโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านและรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้านและทุกข้อ คือ ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารงานกิจการนักเรียน ด้านการบริหารงานธุรการและการเงิน และด้านการบริหารงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน

๓.   ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานของผู้บริหาร สถานศึกษาจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคลด้านเพศ พบว่า ความคิดเห็นของครูต่อการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมและเปรียบเทียบเป็นรายด้าน พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ส่วนการเปรียบเทียบเป็นรายข้อ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ได้แก่ มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมความประพฤติระเบียบวินัยและจริยธรรมในโรงเรียน, ผู้บริหารครูอาจารย์และบุคลากรเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องความประพฤติ ระเบียบวินัยและจริยธรรม, มีคณะกรรมการติดตามประเมินครูอาจารย์และบุคลากร และนำผลการประเมินไปพัฒนา และผู้บริหารครูและคณะกรรมการสถานศึกษาร่วมกันจัดกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ส่วนการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นของครูต่อการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคลด้านอายุ พบว่า ความคิดเห็นของครูต่อการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวม และเมื่อเปรียบเทียบเป็นรายด้าน พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕  ส่วนการเปรียบเทียบเป็นรายข้อ พบว่า ส่วนใหญ่อายุ ต่ำกว่า ๒๕ ปี มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ได้แก่ ผู้บริหารส่งเสริมสนับสนุนการใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน , การจัดกิจกรรมให้ความรูความเข้าใจให้เห็นประโยชน ความจำเป็น การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน และงานธุรการ การเงิน และพัสดุของโรงเรียนเป็นระบบถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕