เข้าชม : ๑๙๙๗๒ ครั้ง |
การบูรณาการหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการบริหารจัดการศูนย์พักพิงของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเพื่อผู้ประสบภัยน้ำท่วม |
|
ชื่อผู้วิจัย : |
นางสาวปมณฑ์ณัฐ จงวัฒนานุกูลกิจ |
ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๐๙/๒๐๑๓ |
ปริญญา : |
พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา) |
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ : |
|
พระเอกภัทร อภิฉนฺโท, ผศ.ดร. น.ธ.เอก, พธ.บ. (ครุศาสตร์), พธ.บ. (มนุษยศาสตร์), M.A., Ph.D. (Psy) |
|
ผศ.ดร. ประยูร สุยะใจ น.ธ.เอก, ป.ธ.๓, พธ.บ., B.J., Dip.In SR., กศ.ม., M.A.(Po), M.A.(Eco), M.A.(Psy), Ph.D.(Psy) |
|
. |
วันสำเร็จการศึกษา : |
|
|
บทคัดย่อ |
บทคัดย่อ
มหาอุทกภัยเมื่อปลายปี พ.ศ.๒๕๕๔ ส่งผลกระทบและทำให้เกิดความเสียหายอย่างฉับพลันต่อทรัพย์สิน ชีวิต จิตใจและสังคมเป็นอย่างยิ่ง ศูนย์พักพิงและการจัดกิจกรรมของเหล่าอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบภัยเกิดขึ้นมากมายในหลายพื้นที่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่ได้รับการจัดตั้งให้เป็นศูนย์พักพิงและดำเนินการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยนำหลักไตรสิกขามาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการ
การบริหารจัดการของศูนย์พักพิงในภาวะภัยพิบัติตามหลักไตรสิกขานั้น เริ่มต้นที่ด้านศีล คือ การเยียวผู้ประสบภัยทางกายภาพ ได้แก่ การจัดหาที่พักอาศัย อาหาร น้ำดื่ม น้ำใช้ สุขาและการสัญจร เป็นต้น เมื่อความต้องการทางกายภาพอันเป็นปัจจัยพื้นฐานต่อการดำรงชีวิตของผู้ประสบภัยได้รับการตอบสนองแล้ว จึงจัดกิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรมและกิจกรรมทางสังคม สร้างการมีส่วนร่วม พัฒนาระบบระเบียบทางสังคมที่เกื้อกูลต่อการเยียวยาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ประสบภัยในยามวิกฤติ จากนั้นจึงเน้นการจัดกิจกรรมด้านสมาธิ คือ การเยียวยาและพัฒนาจิตใจ โดยอาศัยพิธีกรรมทางพุทธศาสนาร่วมกับการปรึกษาเชิงพุทธจิตวิทยา และในท้ายที่สุดจึงเน้นการพัฒนาทางด้านปัญญา การวางท่าทีต่อความสูญเสีย และถ่ายทอดองค์ความรู้ในการพัฒนาปรับปรุงตนหลังภาวะภัยพิบัติ รวมทั้งการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแก่ผู้ประสบภัย
ผลการบริหารจัดการตามหลักไตรสิกขาพบว่า การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมช่วยให้ผู้ประสบภัยที่เข้าพักพิงที่ศูนย์ช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วม มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เกิดความพึงพอใจ ความประทับใจ และความสุขอย่างยั่งยืน
ดาวน์โหลด |
|
|
|
|