หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูชัยกิจจารักษ์ ฐิตธมฺโม (เทวินทร์)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๙ ครั้ง
ประสิทธิผลการจัดการศาสนศึกษาของพระสังฆาธิการ ในอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี
ชื่อผู้วิจัย : พระครูชัยกิจจารักษ์ ฐิตธมฺโม (เทวินทร์) ข้อมูลวันที่ : ๑๐/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรม ,พธ.บ., M.A., Ph.D. (Pol.Sc)
  พระมหาบุญเลิศ อินทปญฺโ, ผศ., พธ.บ., ศศ.ม, รป.ม.(การจัดการความขัดแย้ง)
  อาจารย์ ดร.พิเชฐ ทั่งโต พธ.บ., M.A., Ph.D. (Pol. Sc.)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๕
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

   

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาประสิทธิผลการจัดการศาสนศึกษาของพระสังฆาธิการ ในอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่มีต่อประสิทธิผลการจัดการศาสนศึกษาของพระสังฆาธิการ ในอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล  ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่มีต่อประสิทธิผลการจัดการศาสนศึกษาของพระสังฆาธิการ ในอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี โดยในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสม (Mix Method Research)    การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เก็บข้อมูลภาคสนาม (Field Study) จากพระสงฆ์ผู้ที่อาศัยอยู่ ในอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการเปิดตารางขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๑๒๗ รูป โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ลักษณะของแบบสอบถามเป็นทั้งปลายปิด และปลายเปิด ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ โดยหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (T-Test) และค่าเอฟ (F-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) ในกรณีที่พบความแตกต่างตั้งแต่ ๓ กลุ่มขึ้นไป โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยสุดที่สุด (Least Significant Difference : LSD)

ผลการวิจัยพบว่า

๑.      ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่คือ ผู้ที่มีอายุ ๕๑๖๐ ปี จำนวน ๕๓ รูป คิดเป็นร้อย

ละ ๔๑.๗ ผู้ที่มีพรรษา ๕ - ๑๐ พรรษา จำนวน ๕๘ รูป คิดเป็นร้อยละ ๔๕.๗ ผู้ที่มีวุฒิการศึกษาประถมศึกษา จำนวน ๖๐ รูป คิดเป็นร้อยละ  ๔๗.๒ ผู้ที่มีวุฒิการศึกษานักธรรมเอก จำนวน ๔๒ รูป คิดเป็นร้อยละ ๓๓.๑ ผู้ที่ไม่มีวุฒิเปรียญธรรม จำนวน  ๑๑๔  รูป คิดเป็นร้อยละ ๘๙.๘

               ๒. ความคิดเห็นของของพระสงฆ์ที่มีต่อประสิทธิผลการจัดการศาสนศึกษาของพระสังฆาธิการ ในอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ย ( = ๓.๙๕, S.D. = ๐.๖๕๓) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า พระสงฆ์ที่มีต่อประสิทธิผลการจัดการศาสนศึกษาของพระสังฆาธิการ ในอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรีอยู่ในระดับมากทุกด้านตามลำดับ คือ ด้านการจัดการศึกษา ด้านหลักสูตรการเรียน  ด้านการจัดการเรียนการสอน  ด้านปัจจัยสนับสนุนการเรียนการสอน  ด้านการศึกษาสงเคราะห์  ด้านการประเมินผลการเรียน

      ๓. การเปรียบเทียบประสิทธิผลการจัดการศาสนศึกษาของพระสังฆาธิการ ในอำเภอชัย

บาดาล จังหวัดลพบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ พรรษา วุฒิการศึกษาสามัญ          วุฒิการศึกษาทางธรรม วุฒิการศึกษาทางบาลี พบว่า พระสงฆ์ที่อาศัยอยู่ในอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลที่มีอายุ พรรษา วุฒิการศึกษาสามัญ วุฒิการศึกษาทางธรรม ต่างกันมีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการจัดการศาสนศึกษาของพระสังฆาธิการ ในอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ไม่แตกต่างกันจึงปฏิเสธสมมติฐาน ส่วนพระสงฆ์อาศัยอยู่ในอำเภอชัยบาดาล        จังหวัดลพบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลที่มีวุฒิการศึกษาทางบาลี  มีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการจัดการศาสนศึกษาของพระสังฆาธิการ ในอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี แตกต่างกันจึงยอมรับสมมติฐาน

               ๔. ปัญหา อุปสรรคเกี่ยวกับประสิทธิผลการจัดการศาสนศึกษาของพระสังฆาธิการ ในอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ดังนี้ ๑. ขาดความพร้อมในการจัดระบบการเรียน การสอน ทั้งในเรื่องของการจัดหลักสูตร ๒. ขาดงบประมาณ ในการดำเนินการจัดการศึกษา ๓. ขาดแคลนครูผู้สอนที่มีประสบการณ์      ๔. ขาดระบบในการจัดการศึกษา ๕. การจัดเวลาเรียนยังไม่เป็นระบบ ไม่แน่นอน ๖. มีเวลาเรียนน้อยเกินไป จึงไม่สามารถทำความเข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง

      สำหรับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประสิทธิผลการจัดการศาสนศึกษาของพระสังฆาธิการ         ในอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ดังนี้ .  ควรคัดเลือกเนื้อหาเพื่อนำมาสอนให้สัมพันธ์กับผู้เรียน จัดตารางการศึกษาให้ตรงกับหลักสูตร .  ควรสรรหางบประมาณมาดำเนินการให้เพียงพอต่อความต้องการด้านการจัดการศึกษา .  ควรสรรหาครูที่มีความรู้ ภูมิความรู้แตกฉานและเข้าใจทั้งทางโลกทางธรรม .  เป็นระบบที่ดี และควรแบ่งเวลาเรียนให้เหมาะสม  .  ควรจัดให้เรียนตลอดทั้งปี และมีการสับเปลี่ยนเรียนวิชาอื่นด้วย

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕