หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาไชยณรงค์ ภทฺทมุนี (เสริมแก้ว)
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๑ ครั้ง
บทบาทด้านการสาธารณสงเคราะห์ของวัดชลประทานรังสฤษดิ์อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาไชยณรงค์ ภทฺทมุนี (เสริมแก้ว) ข้อมูลวันที่ : ๑๐/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม พธ.บ.,M.A.,Ph.D.(Pol. Sc.)
  อาจารย์พระมหาสม กลฺยาโณพธ.บ.,M.S.W.,Ph.D.(Social Work)
  ผศ.ชวัชชัย ไชยสา พธ.บ., M.A.
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ๑) ศึกษาระดับความคิดเห็นของพระสงฆ์และประชาชนต่อบทบาทด้านการสาธารณสงเคราะห์ของวัดชลประทานรังสฤษดิ์ อำเภอปากเกร็ด  จังหวัดนนทบุรี๒) เปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสงฆ์และประชาชนต่อบทบาทด้านการสาธารณสงเคราะห์ของวัดชลประทานรังสฤษดิ์ อำเภอปากเกร็ด  จังหวัดนนทบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะที่มีต่อบทบาทการ  สาธารณสงเคราะห์ของวัดชลประทานรังสฤษดิ์ อำเภอปากเกร็ด  จังหวัดนนทบุรีโดยในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Method) โดยระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)เก็บข้อมูลภาคสนาม (Field Study) จากพระสงฆ์วัดชลประทานรังสฤษดิ์และประชาชนทั่วไปที่เข้ามาปฏิบัติธรรม ณ วัดชลประทานรังสฤษดิ์จำนวน ๒๒๒ รูป/คนโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire)เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ลักษณะของแบบสอบถามเป็นทั้งปลายปิด และปลายเปิด ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ โดยหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation :S.D.) ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าเอฟ (F-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจึงได้ทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference:LSD)

              และโดยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (QualitativeResearch) ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant)

ผลการวิจัยพบว่า

                   ๑. บทบาทด้านการสาธารณสงเคราะห์ของวัดชลประทานรังสฤษดิ์ อำเภอปากเกร็ด  จังหวัดนนทบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๓๒ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน

                   ๒. ผลการเปรียบเทียบบทบาทด้านการสาธารณสงเคราะห์ของวัดชลประทานรังสฤษดิ์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคลทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างตัวแปร พบว่า พระสงฆ์และประชาชน มีผลทำให้ความคิดเห็นต่อบทบาทด้านการสาธารณสงเคราะห์ของวัดชลประทานรังสฤษดิ์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี แตกต่างกัน จึงเป็นการยอมรับสมมติฐานทุกข้อที่ตั้งไว้

                   ๓.ผลจากการสัมภาษณ์พระสงฆ์ภายในวัดชลประทานรังสฤษดิ์พบว่ามีข้อสรุปได้ดังนี้โดยภาพรวมงานด้านสาธารณสงเคราะห์ของวัดนั้นมีความสำคัญมาก เพราะเป็นการช่วยเหลือสนับสนุนช่วยเหลือคน ช่วยเหลือสังคม และบทบาทของพระสงฆ์และวัดนั้นสามารถเข้าถึงประชาชนได้เป็นอย่างดีมาก โดยเฉพาะด้านภัยพิบัติต่างๆ ทั้งพระสงฆ์และวัดทั่วประเทศก็ได้ให้การสงเคราะห์กันเป็นอย่างมาก ตลอดจนการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาความยากจน และการประกอบอาชีพให้แก่ประชาชนได้เป็นอย่างดี ในการพัฒนางานด้านสาธารณสงเคราะห์นี้ต้องอาศัยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาจะมีประโยชน์ต่อชุมชนมาก ก็ต้องอาศัยยึดหลักสังคหวัตถุธรรม ๔ ประการทำให้การทำงานด้านการสาธารณสงเคราะห์สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ตลอดจนสามารถที่จะยึดเหนี่ยวน้ำจิตน้ำใจทั้งวัดและทั้งบ้านและผู้ที่อยู่อาศัยในเขตชุมชนนั้นก็จะพลอยได้รับประโยชน์รับความสุขเสมอ

                             ๔. ข้อเสนอแนะในบทบาทด้านการสาธารณสงเคราะห์ของวัดชลประทานรังสฤษดิ์    อำเภอปากเกร็ด  จังหวัดนนทบุรี จำแนกตามรายด้านของการวิจัย คือ๑) ด้านการดำเนินกิจการเพื่อการช่วยเหลือเกื้อกูล ควรมีการวางแผนที่ดีในการบริหารจัดการ การกระจายงานและการประชาสัมพันธ์ ๒) ด้านการช่วยเหลือเกื้อกูลกิจการของผู้อื่นเพื่อสาธารณประโยชน์ ควรสนับสนุนเฉพาะบางกิจกรรมที่มีความสำคัญและไม่ต้องใช้พื้นที่ในการจัดกิจกรรมมากนักเนื่องด้วยสถานที่ทางวัดไม่ค่อยพอเพียง๓) ด้านการช่วยเหลือเกื้อกูลสถานที่อันเป็นสาธารณสมบัติ ในด้านนี้พระสงฆ์และประชาชนส่วนใหญ่มีความเห็นว่าดีและเหมาะสมอยู่แล้ว ควรจะมีการกระจายงานในลักษณะนี้ไปตามวัดต่างๆเพื่อให้เกิดประโยชน์กับสาธารณชนมากกว่านี้และ ๔) ด้านการช่วยเหลือเกื้อกูลประชาชนทั่วไป ควรมีการจัดตั้งกองทุนสำรองเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางธรรมชาติและจัดให้มีการเปิดรับอาสาสมัครช่วยเหลือกิจกรรมที่อาจจะมีมากขึ้นในอนาคต

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕