หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระรณยุทธ ชาตเมโธ (ถนอมศรี)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๐ ครั้ง
ศึกษาความเป็นมา และการเปลี่ยนแปลงประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาของชาวพุทธจังหวัดอุบลราชธานี (เขตเทศบาลอุบลราชธานี)
ชื่อผู้วิจัย : พระรณยุทธ ชาตเมโธ (ถนอมศรี) ข้อมูลวันที่ : ๐๓/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูธรรมธรศิริวัฒน์ สิริวฑฺฒโน, ดร. พธ.บ. MA.(Soc.), Ph.D. (Pali).
  ผศ.สุพิมล ศรศักดา, พธ.บ. (การสอนสังคมศึกษา), กศ.ม.(บริหารการศึกษา)
  ดร.เรืองเดช เขจรศาสตร์, พธ.บ. (ปรัชญา), ศษ.บ. (บริหารการศึกษา), พบ.ม. (พัฒนาสังคม), ปร.ด. (ไทศึกษา)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ () เพื่อศึกษาความเป็นมาประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาของชาวพุทธจังหวัดอุบลราชธานี () เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาของชาวพุทธจังหวัดอุบลราชธานี () เพื่อศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาของชาวพุทธจังหวัดอุบลราชธานี  การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยในเชิงคุณภาพ และลงภาคสนาม ผลการศึกษามีดังต่อไปนี้

ประเพณีเข้าพรรษานั้นได้มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงทรงพบปัญหาในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาของเหล่าสาวกในช่วงฤดูฝน เกิดเหตุการณ์ทำให้ชาวบ้านได้พากันติเตียนบรรดาเหล่าสาวก พระพุทธเจ้าได้บัญญัติสิกขาบทไว้เพื่อให้พระภิกษุปฏิบัติในช่วงเข้าพรรษา สำหรับ ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาของชาวพุทธจังหวัดอุบลราชธานี มีความเชื่อมาจากดั้งเดิมมาจากขนบธรรมเนียมที่มีมาแต่โบราณของชาวอีสานที่เรียกว่าว่า “ฮีตสิบสอง คองสิบสี่ โดยเชื่อว่าบุญเดือนแปด หรือบุญเข้าพรรษา เป็นเดือนที่สำคัญในทางพระพุทธศาสนาสำหรับพระสงฆ์

ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาแบบดั้งเดิมเป็นลักษณะของสังคมชนบท เชื่อตามหลักพระพุทธศาสนา และประเพณีที่สืบทอดกันมา ลักษณะการทำเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา หวังผลบุญกุศลที่แท้จริงในทางพระพุทธศาสนา เกิดจากการมีส่วนร่วมจากประชาชนทุกภาคส่วน ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงจากเดิมไปอย่างสิ้นเชิง เต็มไปด้วยความซับซ้อนเชิงทุนนิยม จนกระทั่งวัฒนธรรมแห่เทียนพรรษากลายเป็นสัญญาลักษณ์ของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 

แนวทางการอนุรักษ์ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาของชาวพุทธจังหวัดอุบลราชธานีคือประชาชนเข้ามีร่วมกิจกรรมต่างๆ ในการทำต้นเทียน การแห่เทียน การประกวดเทียน พร้อมทั้งได้ถ่ายทอดคติความเชื่อเกี่ยวข้องกับการทำเทียนพรรษาให้เด็กรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ และสืบทอดต่อกันจากรุ่นสู่รุ่น แต่ก็มีประสบกับปัญหาอุปสรรคโดยเฉพาะงบประมาณถึงแม้ได้รับการเกื้อหนุนจากภาครัฐ และเอกชนก็ตาม

 ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕