หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระอธิการสมบัติ ธมฺมานนฺโท (รักษาภักดี)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๘ ครั้ง
การศึกษาความเชื่อประเพณีการฝังศพของชาวบ้านเชียงเหียน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
ชื่อผู้วิจัย : พระอธิการสมบัติ ธมฺมานนฺโท (รักษาภักดี) ข้อมูลวันที่ : ๐๓/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาประมวล ฐานทตฺโต, ดร. ป.ธ. ๖, พธ.บ.(ภาษาไทย),M.A. (Ling), M.A., Ph.D.(Pali& Bud).
  ดร. ประยูร แสงใส ป.ธ.๔, พ.ม., พธ.บ. (สังคมศึกษา), M.A.in Ed, P.G.DIP IN JOURNALISM, Ph.D.(Ed.)
  ผศ.ดร. โสวิทย์ บำรุงภักดิ์ ป.ธ.๗, พ.ม., พธ.บ.(ปรัชญา), M.A.(Bud), พธ.ด. (พระพุทธศาสนา)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

                  วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของเมืองเชียงเหียน  เพื่อศึกษาคติความเชื่อประเพณีการฝังศพของชาวบ้านเชียงเหียนในปัจจุบัน และเพื่อศึกษาคุณค่าความเชื่อประเพณีการฝังศพที่มีต่อชาวบ้านเชียงเหียน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเน้นการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์

                  ผลจากการวิจัยพบว่าชาวบ้านเชียงเหียน มีวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีความเชื่อที่เป็นเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ที่สอดคล้องกับประวัติศาสตร์ มีความสัมพันธ์กับวรรณกรรมที่สำคัญของภาคอีสาน คือเรื่องผาแดงนางไอ่และประเพณีบุญบั้งไฟ และประเพณีพิธีกรรมความเชื่อเกี่ยวกับชีวิตหลังความตายซึ่งแตกต่างจากชุมชนอื่นอย่างชัดเจน        

ความเชื่อประเพณีการฝังศพของชาวบ้านเชียงเหียนมีจุดมุ่งหมายอันเดียวกัน คือต้องการส่งให้ดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับไปสู่สุคติที่ดี ไม่ให้ผิดจารีตประเพณีที่โบราณได้เคยทำมา มีรูปแบบของพิธีกรรมการฝังศพซึ่งแตกต่างจากชุมชนอื่น คือ เมื่อมีคนตายแบบไม่ปกติห้ามเผาเด็ดขาด ต้องฝังอย่างเดียว เพราะจะผิดจารีตประเพณี (คะลำ) จะทำให้ญาติผู้ตายและชาวบ้านเดือดร้อนจึงไม่นิยมเผา ถ้าตายนอกบ้านห้ามนำศพเข้ามาในบ้าน ห้ามเก็บศพไว้ค้างคืน ไม่มีพระสงฆ์นำหน้าจูงศพไปป่าช้า การตายโหงต้องฝังอย่างเดียว ตายวันนั้นต้องนำไปฝังวันนั้น ต่อมาจึงอนุโลมให้รอจนกว่าจะถึงเช้าจึงนำไปฝัง และยังมีวิธีเสี่ยงทายไข่ เป็นการจัดพิธีกรรมที่ยังยึดถือปฏิบัติอยู่จนถึงทุกวันนี้

                 คุณค่าความเชื่อประเพณีการฝังศพของชาวบ้านเชียงเหียนถือว่าเป็นแบบอย่างที่ดีที่เราได้ทำตามประเพณีที่ปู่ย่าตายายได้เคยกระทำมา  และเป็นการช่วยเหลือกันให้กำลังใจญาติผู้ตายและได้สืบทอดประเพณี วัฒนธรรมที่มีแต่โบราณไว้ไม่ให้สูญหายไป ส่วนทางด้านชุมชน ทำให้เกิดความสามัคคีกันและเข้าใจซึ่งกันและกันมีจุดประสงค์เพื่อแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที และเป็นการแสดงออกถึงน้ำใจของญาติพี่น้องและคนในชุมชน ก่อให้เกิดสิ่งที่มีคุณค่าทางจริยธรรมในการดำเนินชีวิต มีการบำเพ็ญบุญ ให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา เป็นต้น

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕