หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาจรัญ อุตฺตมธมฺโม (บัวชูก้าน)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๗ ครั้ง
ปัญญาสชาดกปัจฉิมภาค เรื่องที่ ๙-๑๑ : การตรวจชำระและศึกษาเชิงวิเคราะห์ (๒๕๔๖)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาจรัญ อุตฺตมธมฺโม (บัวชูก้าน) ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๐๘/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาเทียบ สิริญาโณ
  ดร.สมิทธิพล เนตรนิมิตร
  นาย รังษี สุทนต์
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๐ กันยายน ๒๕๔๖
 
บทคัดย่อ

     การวิจัยคัมภีร์ปัญญาสชาดกปัจฉิมภาค ผู้วิจัยได้วิจัยชาดก ๓ เรื่อง คือ วรนุชชาดก สิรสาชาดก และ จันทฆาธชาดก พร้อมกันนี้ก็ได้วิจัยเรื่องนอกชาดก ๓ เรื่อง คือ ปุญจพุทธพยากรณ์ ปัญจพุทธศักราชวรรณนา และอานิสงส์ผ้าบังสุกุล
     ปัญญาสชาดก แต่ละชาดก กล่าวถึงการเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ของพระพุทธเจ้า มีการบำเพ็ญบารมีในลักษณะต่างๆ เช่น บริจาคทาน รักษาศีล เป็นต้น โดยที่ท่านผู้แต่งมีความประสงค์จะประกาศศาสนธรรมของพระพุทธเจ้า ผ่านตัวละครในชาดกเป็นสำคัญ สิ่งที่ท่านเน้นเป็นพิเศษก็คือ การทำความดี กับความชั่ว และผลที่ได้รับ
     เรื่องนอกชาดก คือ ปัญจพุทธพยากรณ์ กล่าวถึงการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ ๕ พระองค์ มีพระกกุสันธโพธิสัตว์เป็นต้น ปัญจพุทธศักราชวรรณนา กล่าวถึงพระโคดมสัมนาสัมพุทธเจ้า ทรงพยากรณ์ความเป็นไปในศาสนาของพระองค์ในช่วงระยะ ๕๐๐๐ ปีอานิสงส์ผ้าบังสุกุลกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของบุคคลผู้ถวายผ้าบังสุกุล และอานิสงส์ที่จะพึงได้รับ
     วิทยานิพนธ์นี้มี ๔ บท คือ
     บทที่ ๑ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ของการวิจัย ขอบเขตของการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
     บทที่ ๒ ศึกษาวิเคราะห์ และเปรียบเทียบคัมภีร์ปัญญาสชาดก
     บทที่ ๓ คัมภีร์ปัญญาสชาดกที่ตรวจชำระแล้ว
     บทที่ ๔ สรุปและข้อเสนอแนะ
     ในภาคผนวก ผู้วิจัยได้สรุปเนื้อหา วรนุชชชาดก สิรสาชาดก จันทฆาธชาดก ปัญจพุทธพยากรณ์ ปัญจพุทธศักราชวรรณนา และอานิสงส์ผ้าบังสุกุลไว้เป็นภาษาไทย เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจแต่ไม่มีความชำนาญในภาษาบาลี
     ปัญญาสชาดกปัจฉิมภาค ๓ ชาดก และเรื่องนอกชาดก ๓ เรื่อง มีเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์ การศึกษาเรื่องราวในพระพุทธศาสนาที่มีเนื้อหาเป็นธรรมะล้วน บางครังเป็นเรื่องยากที่จะทำความเข้าใจ แต่เมื่อได้ทำการวิจัยปัญญาสชาดก และเรื่องนอกชาดก ผู้วิจัยเห็นว่าสาระสำคัญอยู่ที่การนำเสนอ แระโยชน์ที่แท้จริงคือสิ่งที่ได้รับจากการศึกษา
     ธรรมะในพระพุทธศาสนาเอื้อประโยชน์สำหรับผู้ปฏิบัติ ผู้ที่มีธรรมะเป็นเครื่องดำเนินชีวิต ย่อมประสบแต่ความสุขและความเจริญ ปัญญาสชาดกมีหลักธรรมที่เป็นประโชนย์สามารถนำไปประพฤติปฏิบัติได้เป็นอย่างดี

Download : 254625.pdf
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕