หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูอาทรปริยัติยานุกิจ (สุจิตฺโต/เพียรสองชั้น)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๐ ครั้ง
การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ ๔ ในการบริหารงานบุคลากรโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
ชื่อผู้วิจัย : พระครูอาทรปริยัติยานุกิจ (สุจิตฺโต/เพียรสองชั้น) ข้อมูลวันที่ : ๐๑/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหามิตร ฐิตปญฺโญ, ดร. ป.ธ.๔, พธ.บ. (รัฐศาสตร์),พธ.ม. (พระพุทธศาสนา), Ph.D. ( Bud.)
  ผศ.ดร.สุวิน ทองปั้น, พธ.บ. (ปรัชญา), M.A. (Phil.), Ph.D. (Phil.)
  ผศ.ดร.ชาญชัย ฮวดศรี, พธ.บ. ( สังคมศึกษา ),M.A. ( Pol.Sc.),Ph.D.( Soc.Sc.)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

                  

                         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ ๑) เพื่อศึกษาหลักสังคหวัตถุ ๔ ฐานะเป็นหลักการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรทางการศึกษา ๒) เพื่อศึกษาปัญหาของบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา  ในอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ๓) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ ๔ ในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลากรทางการศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในอำเภอสุวรรณภูมิ  จังหวัดร้อยเอ็ด  การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม  โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ   ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญประชากร ได้แก่ บุคคลากรทางการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูผู้สอน และเจ้าหน้าที่ของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาจำนวน ๔ แห่ง ได้แก่ (๑) โรงเรียนสุพรรณภูมิพิทยา (๒) โรงเรียนปริยัติทุ่งศรีเมืองวิทยา  (๓) โรงเรียนวัดกลางปุญญาคม  (๔) โรงเรียนสุเทพนครวิช    จำนวนประชากรทั้งสิ้น ๗๒ รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ  มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๗ สถิติที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                         ผลการวิจัยพบว่า

                         ความหมายและความสำคัญของหลักสังคหวัตถุ ๔ ในพระพุทธศาสนาเถรวาท  คือ  หลักการสงเคราะห์ หมายความว่าเมื่อมนุษย์อยู่รวมกันเป็นหมู่ เป็นสังคม คนในสังคมจะต้องรู้จักสงเคราะห์ อนุเคราะห์กันตามฐานะ คนในสังคมจึงจะมีความรักใคร่ปรองดองกัน ซึ่งจะทำให้สังคมราบรื่น มีความสงบ

                         ปัญหาของบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา                     ในอำเภอสุวรรณภูมิ  จังหวัดร้อยเอ็ด  ปัญหาด้านขาดแคลนบุคลากรขาดแคลนสื่อและวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ขาดแคลนตำราเรียนและคู่มือครูอาคารและสถานที่เรียนอยู่ในสภาพที่ทรุดโทรมและไม่เพียงพอ บุคลากรส่วนใหญ่ยังมีประสบการณ์น้อยขาดครูสอนสายวิชาสามัญและมีครูอาจารย์ลาออกอยู่บ่อย ๆนักเรียนมาจากครอบครัวที่ยากจนมีปัญหาทางสังคม ครอบครัวแตกแยกทําให้นักเรียนเป็นคนก้าวร้าว ไม่มีความสนใจในการเรียน นักเรียนบางส่วนลาออกกลางคันรวมทั้งปัญหาเกี่ยวกับนักเรียนขาดเรียนนานไม่มี การลาออก และมีการเข้าออกบ่อย หลักสูตรไม่ค่อยชัดเจนไม่มีจุดยืนทีแน่ ขาดอุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอน นักเรียนเป็นสามเณรมีกรอบปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ประกอบกับมีการศึกษาอบรมที่เน้นธรรม-บาลี มีกิจกรรมประจำวันที่ส่งเสริมพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม ความมีวินัย และความรับผิดชอบซึ่งส่งผลโดยตรงต่อพฤติกรรมนักเรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำเป็นเพราะโรงเรียนมีปรัชญาในการจัดการศึกษาที่เน้นศาสนามากกว่าทางด้านสามัญ และนักเรียนมีเวลาเรียนในสายสามัญเพียงครึ่งหนึ่งของเวลาที่ควรจะเป็น ประกอบกับโรงเรียนมีข้อจำกัดด้านงบประมาณในการจัดหาสื่อการเรียนการสอนซึ่งส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนโดยตรง                

                         การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ ๔ ในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในอำเภอสุวรรณภูมิ  จังหวัดร้อยเอ็ด   โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง ๔  ด้าน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ  ด้านสมานัตตตา ด้านปิยวาจา ด้านอัตถจริยา และด้านทาน ผลการวิเคราะห์แบบสัมภาษณ์ การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ ๔ ในการปฏิบัติหน้าที่ คือ หลักสังคหวัตถุ ๔ ส่วนใหญ่ รับฟังความคิดเห็นและเปิดโอกาสให้ทุกคน ผู้พูดจาสุภาพ อ่อนหวาน จิตสำนึกในการให้บริการ และ ให้คำปรึกษาแนะนำ

                             การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ ๔ในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลากรทางการศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในอำเภอสุวรรณภูมิ  จังหวัดร้อยเอ็ด บุคลากรทางการศึกษาควรให้ความอนุเคราะห์และช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  พูดจากับประชาชนด้วยความสุภาพ จริงใจ และพร้อมที่จะให้บริการ ควรให้การบริการประชาชนโดยไม่มุ่งหวังว่าจะได้รับผลตอบแทน สิ่งของหรือคำชมเชย  ควรทำงานในหน้าที่โดยมีจิตสำนึกและหลักการในการรักษาผลประโยชน์ของทางราชการ และเอื้อประโยชน์ต่อประชาชนโดยส่วนรวม  ควรให้บริการแก่ประชาชนทุกคนที่มาติดต่อราชการอย่างเท่าเทียมกัน และเป็นธรรม

 ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕