หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูพัชรคณาภิรักษ์ (ปัณณธรจารุวณฺโณ))
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๖ ครั้ง
ศึกษาการบริหารจัดการเชิงพุทธของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์บ้านโคกมน ตำบลโคกมน อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์
ชื่อผู้วิจัย : พระครูพัชรคณาภิรักษ์ (ปัณณธรจารุวณฺโณ)) ข้อมูลวันที่ : ๓๑/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาประมวล ฐานทตฺโต, ดร. ป.ธ. ๖,พธ.บ., M.A. (Ling), M.A., Ph.D. (Pali& Bud.)
  ดร.ประยูรแสงใสป.ธ.๔,พ.ม., พธ.บ., M.A., (Ed) P.G.DIP. In Journalism, Ph.D. (Ed.)
  ดร.วิทยา ทองดีป.ธ. ๓, พ.ม., พธ.บ.,ศษ.บ., ศษ.ม.(เทคโนโลยีการศึกษา), Ph.D. (Social Sc.)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

                      วิทยานิพนธ์เรื่อง  ศึกษาผลการบริหารจัดการเชิงพุทธของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์บ้านโคกมน  ตำบลโคกมน  อำเภอน้ำหนาว  จังหวัดเพชรบูรณ์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติ พัฒนาการ ของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ และ แนวคิดการบริหารจัดการเชิงพุทธ ของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์บ้านโคกมนเพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่นำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการองค์กรของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์บ้านโคกมนเพื่อศึกษาผลที่ได้รับจากการนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์บ้านโคกมน

                      ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์บ้านโคกมนมีพัฒนาการต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มก่อตั้งวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๔๘ ผลการดำเนินการมีสมาชิกเพิ่มจำนวนมากขึ้น ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน  ๑๒๔๐ ราย  มีเงินทุนในกองทุนสะสมของสมาชิกหรือเงินหุ้น ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สี่ล้านบาท)  ยึดแนวคิดการบริหารจัดการเชิงพุทธมาใช้ในการพัฒนาการจัดการและการบริหารงานกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ อย่างเป็นระบบ

                       หลักพุทธธรรมที่นำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการองค์กร ของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์บ้านโคกมน คือ  พละ๔  พลังแห่งธรรมปัญญา  ประกอบด้วยปัญญาพละ  วิริยะพละอนวัชชพละ  และสังคหพละ   ได้แก่หลักสัปปุริสธรรม  หลักสัจจะและปัญญา  หลักทิฏฐธัมมิกัตถะประโยชน์  หลักอิทธิบาท และหลักสัมมาอาชีพ

                    ผลของการนำหลักพุทธธรรมมา ป ระยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ บุคลากร  การเงิน  และการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม  ของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์บ้านโคกมน ก่อให้เกิดขวัญกำลังใจในการทำงาน  และการประสานระหว่างบุคคล มีประสิทธิภาพมากขึ้น  ชุมชนได้รับผลจากการบริหาร หลายด้านเช่นด้านสวัสดิการ คือมีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลเป็นต้น ด้านผลผลิตการสร้างรายได้แก่ชุมชน ด้านการประกอบอาชีพ คือสมาชิกมีทุนในการประกอบกิจการ ด้านสังคม วัฒนธรรมประเพณีประจำเดือน  อาศัยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา  ทำให้คนในสังคมเกิดความรัก ความเข้าใจ ความสมานฉันท์ได้หวนกลับสู่ชุมชน เพราะผู้คนได้มีโอกาสมาพบปะแลกเปลี่ยนทุกข์สุขมากยิ่งขึ้น ความเป็นชุมชนปรากฏขึ้นแทนที่ความทะเลาะเบาะแว้งกันทำให้สมาชิกในกลุ่มมีวินัย เป็นคนซื่อสัตย์ ไม่คดโกง อันเป็นผลจากระบบบริหารจัดการที่ต้องการความมีสัจจะ จึงบรรลุถึงประโยชน์ร่วมกันของชุมชนทำให้สมาชิกมีหลักยึดในยามทุกข์ยาก ไม่ว่าจะประสบเหตุใดๆ ก็ยังมีครอบครัว มีชุมชนคอยให้กำลังใจ มีเงินออกเป็นตัวสนับสนุนค้ำจุนให้เกิดความอบอุ่นใจทำให้สมาชิกเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การให้สวัสดิการคนป่วยที่นอนโรงพยาบาล หากคนป่วยสูบบุหรี่ ก็จะถูกปรับสวัสดิการ เป็นต้น ทำให้ชุมชนมีพลังต่อรองกับพ่อค้า นักธุรกิจจากภายนอกได้ เพราะการบริหารจัดการร่วมกัน รวมกลุ่มกันซื้อขายสินค้า ซึ่งป้องกันการถูกเอารัดเอาเปรียบดังที่ผ่านมาและทำให้ชุมชนเกิดความภาคภูมิใจมากขึ้น เห็นได้จากการริเริ่มคิด วางแผนทำกิจกรรมใหม่ๆ อีกหลายอย่างในด้านธุรกิจของชุมชน ต่างจากแต่ก่อนที่ไม่ได้กล้าคิด กล้าทำและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม คือ การดูแลสิ่งแวดล้อม ไม่ทำลายธรรมชาติ และการใช้สอยทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕