เข้าชม : ๑๙๙๘๘ ครั้ง |
การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้สำหรับสำนักปฏิบัติธรรมในประเทศไทย |
|
ชื่อผู้วิจัย : |
นายอุทัย สติมั่น |
ข้อมูลวันที่ : ๓๑/๐๘/๒๐๑๓ |
ปริญญา : |
พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา) |
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ : |
|
พระศรีคัมภีรญาณ (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ),รศ.ดร. ป.ธ.๙,ศษ.บ.,พธ.ม.,Ph.D (Pali & Buddhist Studies) |
|
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, รศ.ดร., ป.ธ.๖, พธ.บ.(ปรัชญา), ศศ.ม.,(พุทธศาสนศึกษา),พธ.ด. (พระพุทธศาสนา) |
|
ดร.พัทธนันท์ หรรษาภิรมย์โชค ค.ด.(เทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา) |
วันสำเร็จการศึกษา : |
๒๕๕๖ |
|
บทคัดย่อ |
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง “การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้สำหรับสำนักปฏิบัติธรรมในประเทศไทย” นั้น ผู้วิจัยได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ ๓ ประการ ด้วยกัน กล่าวคือ เพื่อวิเคราะห์ขั้นตอนและองค์ประกอบของการจัดการความรู้ในพระพุทธศาสนา เพื่อวิเคราะห์สภาพการจัดการความรู้ของสำนักปฏิบัติธรรมในประเทศไทย และเพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการความรู้สำหรับสำนักปฏิบัติธรรมในประเทศไทย
๑) จากการศึกษาวิเคราะห์ขั้นตอนและองค์ประกอบของการจัดการความรู้ในพระพุทธศาสนา พบว่าการจัดการความรู้ในพระพุทธศาสนา ปรากฏในรูปแบบของโครงสร้างการบริหารจัดการองค์กรสงฆ์ที่ชัดเจน มีการยกย่องพระสาวกที่โดดเด่นไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ ส่วนเครื่องมือในการจัดการความรู้ปรากฏในรูปแบบของหลักธรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการจัดการความรู้ได้แก่อปริหานิยธรรม หลักสาราณียธรรม หลักสัปปุริสธรรม หลักวุฒิธรรม และหลักสัมมัปธาน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมในการจัดการความรู้ตามรูปแบบของกิจจาธิกรณ์ หลักกิจวัตร ๑๐ ประการ และการสังคายนา เป็นต้น
ดาวน์โหลด |
|
|