หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นายวิรุฬห์ศักย์ แนวภูวนนท์
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๐ ครั้ง
ศึกษาการจัดสวัสดิการชุมชนของวัดพระธาตุช่อแฮ ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
ชื่อผู้วิจัย : นายวิรุฬห์ศักย์ แนวภูวนนท์ ข้อมูลวันที่ : ๓๑/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระอธิการบุญเสริม กิตติวณฺโณ,ดร.,พธ.บ., ร.บ., ร.ม., M.Phil.,Ph.D.
  ดร.ปาริชาต บุญญาวิวัฒน์, อบ.(ภาษาอังกฤษ), นศ.ม., (นิเทศศาสตร์พัฒนาการ), คด.(การศึกษานอกระบบ)
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

คัดย่อ

 

                        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ ๑) เพื่อศึกษาการจัดสวัสดิการชุมชนตามแนวของพระพุทธศาสนา ๒) เพื่อศึกษาการจัดสวัสดิการชุมชนตามแนวขององค์การสวัสดิการสังคม และ ๓) เพื่อศึกษาความเป็นมา หลักการ ลักษณะ และกระบวนการของการจัดสวัสดิการชุมชนของวัดพระธาตุช่อแฮ ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่โดยการใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประชากรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ประชาชนและพระภิกษุสามเณร ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการและการรับสวัสดิการของวัดพระธาตุช่อแฮ     ได้กลุ่มตัวอย่างมาโดยการสุ่มแบบเจาะจงประกอบด้วย ๖ กลุ่ม คือ ๑) พระภิกษุ สามเณร       ๒) เจ้าหน้าที่วัดพระธาตุช่อแฮ ๓) คณะกรรมการวัดพระธาตุช่อแฮ ๔) ร้านค้าชุมชน              ๕) ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลช่อแฮและตำบลป่าแดง ๒ หมู่บ้าน และ ๖) องค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวัดพระธาตุช่อแฮ รวม ๔๐ รูป/คนเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย  แบบฟอร์มบรรณิกรณ์ข้อมูลจากการศึกษาเอกสารปฐมภูมิ และเอกสารทุติยภูมิ แบบสัมภาษณ์ และแนวคำถามในการสนทนากลุ่ม(Focus Group Discussion) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content  Analysis) ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และขอบเขตของการศึกษา ผลของการศึกษามีดังนี้

                    ๑. การจัดสวัสดิการในพระพุทธศาสนา  สรุปผลการศึกษาได้ ๔ ประเด็น คือ ๑) เป็นการจัดสวัสดิการที่ยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน อาศัยหลักของคุณธรรม และจริยธรรมโดยเน้นประโยชน์ ๓ ด้าน คือ ประโยชน์ส่วนตน  ประโยชน์ส่วนรวมหรือเพื่อผู้อื่น และประโยชน์สูงสุดเพื่อบรรลุมรรคผล และนิพพาน๒)หลักธรรมที่สัมพันธ์กับการจัดสวัสดิการชุมชน ได้แก่       ราชสังคหวัตถุ ๔, นาถกรณธรรม ๑๐, สังคหวัตถุ ๔๓)หลักการสงเคราะห์(อัตถะ๓)ได้แก่       (๑) ทิฏฐธัมมิกัตถะการสงเคราะห์ปัจจัยสี่ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตต่อปัจเจกบุคคล(๒) สัมปรายิกัตถะการสงเคราะห์เพื่อให้สังคมมีความสงบสุข มุ่งแก้ปัญหาสังคมโดยรวม และ (๓) ปรมัตถะการสงเคราะห์ด้านจิตใจ เพื่อให้บุคคลดับทุกข์ทางใจ และดับปัญหาทางกายโดยสิ้นเชิงและ     ๔)หลักการจัดสวัสดิการตามแนวพระพุทธศาสนามี ๗ ประการ คือ (๑)หลักเหตุผล (๒) หลักทางสายกลาง (๓) หลักพึ่งตนเอง  (๔) สมดุลทั้งวัตถุและจิตใจ ๕) ค่อยเป็นค่อยไป                  (๖) สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายหลักของชีวิต คือ การดับทุกข์หรือปัญหาได้ ๗)ไม่ก่อทุกข์ให้กับทั้งตนเองและผู้อื่น

                        ๒. การจัดสวัสดิการชุมชนขององค์การสวัสดิการสังคมสรุปผลการศึกษาได้       ๕ ประเด็น คือ ๑) ความหมาย คือ การจัดบริการรูปแบบใดก็ตามที่ทำให้คนในชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดี มีความสุข  มีความมั่นคง ปลอดภัย เป็นองค์รวมของการดำรงชีวิตของคน สิ่งมีชีวิตอื่นๆ และสิ่งแวดล้อมที่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน ๒) ลักษณะการจัดสวัสดิการชุมชน มี ๙ ลักษณะ คือ  (๑) การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน (๒) การสนองความต้องการของชุมชน (๓)การมีเอกลักษณ์ของชุมชนเอง (๔) การตรวจสอบเพื่อรู้ปัญหาและแก้ไข (๕) การสั่งสมประสบการณ์ (๖) วิถีการดำเนินชีวิต (๗) การสร้างผู้นำที่มีประสบการณ์ (๘) การสร้างเครือข่ายชุมชน (๙) การปรับตัวและรูปแบบการจัดสวัสดิการชุมชนมี ๗ รูปแบบ คือ (๑) จัดจากฐานองค์กรการเงินชุมชน (๒) จัดจากฐานการผลิต/ธุรกิจชุมชน (๓) จัดจากฐานทรัพยากรธรรมชาติ/สิ่งแวดล้อม (๔) จัดจากฐานอุดมการณ์ / ศาสนา คำสอน (๕) จัดจากฐานชุมชนเมือง (๖) จัดจากฐานผู้สูงอายุ (๗) จัดจากฐานผู้นำชุมชน และหน่วยงานต่างๆ  ๓) แนวคิดการจัดสวัสดิการชุมชนในปัจจุบัน คือ การทำให้คนและชุมชนมั่นคงเป็นตัวของตัวเอง ลดการพึ่งพาภายนอก นำไปสู่การพึ่งตนเองในมิติอื่นๆตั้งแต่เกิดจนถึงตาย  ๔) หลักการจัดสวัสดิการชุมชน ๗ ประการ (๑) สอดคล้องกับวิถีชีวิต (๒) เริ่มจากเล็กไปใหญ่ (๓) เงินเป็นเพียงเครื่องมือ ไม่ใช่เป้าหมาย (๔) ไม่ก่อให้เกิดการแบ่งแยกในชุมชน (๕) สามารถเชื่อมโยงกันได้ตั้งแต่เกิดจนตาย (๖) ต้องเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ (๗) ต้องทำด้วยความรักและอดทน ๕) กระบวนการจัดสวัสดิการชุมชนในปัจจุบันมี  ขั้นตอน คือ (๑) จุดประกายความคิด (๒) ค้นหาศักยภาพและทุนในท้องถิ่น  (๓) ขยายแกนนำให้ครอบคลุมพื้นที่ปฏิบัติการ (๔) ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานในท้องถิ่น (๕) การตั้งกองทุนสวัสดิการชาวบ้าน (๖)  การบริหารกองทุน  (๗) การติดตามประเมินผล และ(๘) การขยายผล

                        ๓. การจัดสวัสดิการของวัดพระธาตุช่อแฮ สรุปผลการศึกษาได้ ๔ ประเด็น คือ    ๑) ความเป็นมาเกิดขึ้นครั้งแรกจากเหตุการณ์อุทกภัยครั้งร้ายแรง ในปี พ.ศ.ใดไม่ปรากฏหลักฐาน ทำให้ประชาชนเดือดร้อน และอพยพมาอาศัยอยู่ในพื้นที่ของวัด และทางวัดให้ประชาชนมีสิทธิ์อยู่อาศัยต่อมาทางวัดได้มีการจัดสวัสดิการด้านต่างๆขึ้นอย่างหลากหลาย     ๒) หลักการและแนวคิดในการจัดสวัสดิการชุมชนยึดหลักการสำคัญ ๒ ประการ คือ นโยบาย๙ ข้อ ๙ มงคล และ หลักการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันโดยการคืนสวัสดิการที่ดีกลับสู่สังคม๓) ลักษณะของการจัดสวัสดิการชุมชนของวัดพระธาตุช่อแฮ แบ่งได้ ๘ ด้านคือ( ๑) ด้านการส่งเสริมอาชีพและรายได้ (๒) ด้านการส่งเสริมการศึกษา (๓) ด้านการส่งเสริมกิจกรรมสาธารณประโยชน  (๔) ด้านการดูแลสุขภาพ (๕ ) ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต  (๖) ด้านการมีส่วนร่วม (๗) ด้านการพัฒนาจิตใจ และ(๘) ด้านความพึงพอใจ

                      . กระบวนการจัดสวัสดิการชุมชนของวัดพระธาตุช่อแฮ สามารถเทียบเคียงได้กับระบบ PDCA  ๔ ขั้นตอน ได้แก่  (๑) P : Plan การวางแผน (๒) D : Do การปฏิบัติตามแผน          (๓) C : Checking การตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน และ (๔) A : Action การปรับปรุงแก้ไข

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕