หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางกาญจนา เฮเซอ
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๓ ครั้ง
การศึกษาวิธีการแก้ปัญหาความรุนแรงของเยาวชนด้วยมรรค ๘ : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านหนองกุงโนนทัน อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น
ชื่อผู้วิจัย : นางกาญจนา เฮเซอ ข้อมูลวันที่ : ๓๐/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสุวิธานพัฒนบัณฑิต, ดร. พธ.บ.(ศาสนา), ศศ.ม.(ปรัชญา), Ph.D.
  ผศ.ดร.โสวิทย์ บำรุงภักดิ์, ป.ธ.๗, พธ.บ. (ปรัชญา), M.A.(Bud.), พธ.ด. (พระพุทธศาสนา)
  ดร.ประยูร แสงใส ป.ธ.๔,พ.ม., พธ.บ., M.A., (Ed.) P.G.DIP. In Journalism, Ph.D. (Education)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

                  วิทยานิพนธ์นี้  มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ๓ ประการ คือ  เพื่อศึกษาสภาพปัญหาความรุนแรงของเยาวชนในสังคมไทย  เพื่อศึกษาปัญหาและผลกระทบจากปัญหาความรุนแรงของเยาวชนโรงเรียนบ้านหนองกุงโนนทัน  อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น และเพื่อศึกษาวิธีการแก้ปัญหาความรุนแรงของเยาวชนด้วยมรรค ๘ ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพและมีการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายนำผลการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์ด้วยวิธีพรรณนา

                  ผลการวิจัยพบว่า เยาวชนเป็นบุคคลที่มีอายุไม่เกิน ๑๘ ปี  ซึ่งเป็นผู้ที่มีความสำคัญต่อครอบครัว  ต่อชุมชนและต่อประเทศชาติมาก  และเยาวชนในปัจจุบัน มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปในลักษณะเป็นความรุนแรง  หรือเป็นพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์มากขึ้น  เช่นความก้าวร้าว  หาเรื่องชกต่อย  หนีโรงเรียน  กล่าววาจาหยาบคาย  ไม่ชอบทำงานที่ได้รับมอบหมาย  ผลการเรียนต่ำ  มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรและติดยาเสพติดเป็นต้น  นอกจากนี้ยังเป็นเด็กที่เศร้าซึม  หมกมุ่น  หงุดหงิดง่าย  มีความขัดแย้งในใจ  ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง  ไม่กล้าทำอะไรเพราะกลัวผิดเป็นต้น  ซึ่งล้วนแต่เป็นปัญหาความรุนแรงในสังคมไทยปัจจุบัน      ปัญหาและผลกระทบจากปัญหาความรุนแรงของเยาวชน  โรงเรียนบ้านหนองกุงโนนทัน  แยกออกเป็น    ส่วนคือส่วนที่เป็นปัญหาได้แก่  การขาดวินัย  ไม่มีความรับผิดชอบ  ไม่ซื่อสัตย์  ไม่ตรงต่อเวลา  ไม่สามารถพึ่งตนเองได้  ไม่อดทน  ไม่ขยันหมั่นเพียง  ไม่ใฝ่รู้ใฝ่ศึกษา  ไม่รู้จักบาปบุญ  ชอบใช้ความรุนแรงเป็นต้น  และส่วนที่เป็นผลกระทบได้แก่เพิ่มรายจ่ายในครอบครัว  วงศ์ตระกูลเสียหาย  คนในชุมชนขาดความสงบสุข  คุณภาพของการเรียนตกต่ำ

                  การแก้ปัญหาความรุนแรงของเยาวชนด้วยมรรค    นั้น  เริ่มด้วยด้วยวิธีการเรียกว่าการสร้างความเห็นที่ถูกต้องคือมีความเห็นว่าการได้เกิดเป็นคนเป็นสิ่งยากยิ่ง  เป็นความโชคดีที่ได้เรียนหนังสือ  การเรียนต้องมาก่อนการเล่น  สร้างความคิดที่ถูกต้องคือเป็นคนคิดแบบมีไตร่ตรองหรือเป็นคนมองโลกในแง่ดี  การสื่อสารที่ดีงามคือไม่พูดคำที่ก่อความเข้าใจผิด  พูดความจริงเสมอ  ทำงานที่ถูกต้อง  เสียสละในการทำกิจกรรมของโรงเรียน  การทำหน้าที่อย่างซื่อตรง  เป็นการทำหน้าที่ในฐานะผู้เรียนด้วยความไม่ลอกการบ้านและข้อสอบเพื่อนเป็นต้น  การมีความเพียรที่ถูกต้องคือเพียรชนะความเกียจคร้านเช่นการไปเที่ยวเตร่  การไม่ทำงานบ้าน  การไม่เข้าร่วมกิจกรรมในชั้นเรียนเป็นต้นการมีความรู้ตัวเสมอว่า  เราเป็นลูกของพ่อแม่  เป็นนักเรียนต้องตั้งใจเรียน  และการมีจิตใจมั่นคงไม่อ่อนไหวไปตามเพื่อนและสิ่งแวดล้อมรอบข้างที่ไม่ดี

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕