เข้าชม : ๒๐๐๐๐ ครั้ง |
ศึกษารูปแบบและคุณค่าของอุโบสถในพระพุทธศาสนาเถรวาท |
|
ชื่อผู้วิจัย : |
พระครูวชิรธรรมารม (วิเชียร ชินทตฺโต) |
ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๐๘/๒๐๑๓ |
ปริญญา : |
พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา) |
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ : |
|
พระมหาบาง เขมานนฺโท, ดร. ป.ธ.๕, M.A. (Bud.), M.A. (Phil.),Ph.D.(Phil.) |
|
พระมหาบาง เขมานนฺโท, ดร. ป.ธ.๕, M.A. (Bud.), M.A. (Phil.),Ph.D.(Phil.) |
|
พระมหาบาง เขมานนฺโท, ดร. ป.ธ.๕, M.A. (Bud.), M.A. (Phil.),Ph.D.(Phil.) |
วันสำเร็จการศึกษา : |
๒๕๕๖ |
|
บทคัดย่อ |
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์เรื่อง ศึกษารูปแบบและคุณค่าของอุโบสถในพระพุทธศาสนาเถรวาท มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาความเป็นมาของพระอุโบสถในพระพุทธศาสนา ๒) เพื่อศึกษารูปแบบของพระอุโบสถในประเทศไทย ๓) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของพระอุโบสถในสังคมไทยปัจจุบัน
ผลของการวิจัยพบว่า
รูปแบบอุโบสถที่ทำการศึกษา ประกอบด้วยรูปแบบการสร้างจากทั้งสี่ภาคของประเทศไทย โดยผู้วิจัยได้ทำการศึกษาแบบเจาะจงจากการออกภาคสนาม และข้อมูลด้านปฐมภูมิ ทุติยภูมิ โดยสรุปมี ๑๕ รูปแบบ ซึ่งรูปแบบของพระอุโบสถในพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นสถาปัตยกรรมของไทยในอดีตล้วนเป็นรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามสภาพของความเปลี่ยนแปลงและกาลเวลา ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพการณ์นั้นเป็นอย่างไร หรือขึ้นอยู่กับความคิดร่วมกับเจ้าอาวาสแต่ละวัดของชุมชนนั้น ๆ
การวิเคราะห์คุณค่าของพระอุโบสถ ที่มีความสำคัญต่อสังคมไทยในด้านการทำสังฆกรรม ตามพระธรรมวินัย มี 4 อย่าง คือ 1.) อปโลกนกรรม การปรึกษาหารือ 2. ) ญัตติ สวดเผดียงสงฆ์ (การประชุมที่มีการสวดตั้งเรื่องที่จะประชุม) 3. )ญัตติทุติยกรรมวาจา สวดตั้งญัตติ และสวดอนุสาวนา (ถามความเห็นที่ประชุม) 4 . )ญัตติจตุตถกรรมวาจา สวดตั้งญัตติและสวดกรรมวาจาถึงสามครั้ง ซึ่งผู้ที่จะสร้างพระอุโบสถให้สำเร็จต้องมีอธิษฐานธรรมอยู่ในใจ ๔ ข้อ คือ ปัญญา สัจจะ จาคะ และอุปสมะ ด้านความดี คุณความดีที่ทำไว้ที่ส่งผลให้ในปัจจุบันชาติและอนาคตชาติที่ได้สร้างไว้ ด้วยการบริจาคทรัพย์ที่มีอยู่ สร้างพระอุโบสถเสนาสนะในอารามต่าง ๆ ผู้ที่บำเพ็ญกุศลย่อมได้รับบุญมาก คือ ผลแห่งบุญ ๕ ประการ คือ ๑) กิตติสัทโท ชื่อเสียงย่อมฟุ้งขจรไป ๒) วิสาระโท เป็นคนแกล้วกล้าอาจหาญในการเข้าในสมาคม ๓) ปิโย เทวะมนุสสานัง เป็นที่รักใคร่ของคน และมนุษย์ทั้งหลาย ๔) อลัมมุฬโห กาลัง กโต เป็นผู้ไม่หลงทำกาละ (สิ้นชีวิต) ๕) สุคติปรายโน เป็นชนผู้มีสุคติเป็นเบื้องหน้า
ดาวน์โหลด
|
|
|