หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาวิเชียร โชติธมฺโม (จันทะมั่น )
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๖ ครั้ง
การศึกษาสภาวะของนิวรณ์ในวัมมิกสูตร
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาวิเชียร โชติธมฺโม (จันทะมั่น ) ข้อมูลวันที่ : ๑๔/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(วิปัสนาภาวนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาชิต ญานชิโต ป.ธ.๗, ศน.บ., M.A., Ph.D.
  พระครูปลัดสัมพิพัฒนธรรมมาจารย์ ป.ธ.๘, พธ. บ.,พธ.ม.
  อาจารย์นิมิตร โพธิพัฒน์ ป.ธ.๙
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๕
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

                          วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ เพื่อศึกษาหลักธรรมในวัมมิกสูตร เพื่อศึกษาสภาวะของนิวรณ์ และเพื่อศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนาโดยอาศัยนิวรณ์เป็นอารมณ์ การศึกษานี้ดำเนินการเก็บข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกาและคัมภีร์อื่นๆ ซึ่งถูกเรียบเรียงและบรรยายตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ

                          ผลการวิจัยพบว่า วัมมิกสูตรเป็นพระสูตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแก่พระกุมาร
กัสสปเถระโดยแสดงการเปรียบเทียบกับจอมปลวกประกอบด้วยธรรม ๑๕ ประการคือ ร่างกาย วิตก การประกอบการงาน พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระภิกษุผู้เป็นเสขะ ปัญญาอันประเสริฐ การปรารภความเพียร อวิชชา ความคับแค้นใจเนื่องจากความโกรธ วิจิกิจฉา นิวรณ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕กามคุณ ๕ นันทิราคะ และพระขีณาสพ

                          จากการศึกษาหลักธรรมในวัมมิกสูตรแล้วพบว่า นิวรณ์ ๕ คือ กามฉันทนิวรณ์ ธรรม

ชาติที่เป็นเครื่องกั้นความดี คือ ติดใจในกามคุณอารมณ์ ๕ อันมี รูป เสียง กลิ่น รส  และการสัมผัสถูกต้อง เมื่อว่าโดยลักขณาทิจตุกกะ คือ มีการถือมั่นซึ่งอารมณ์  เป็นลักษณะ พยาปาทนิวรณ์  รรม

ชาติที่เป็นเครื่องกั้นความดี คือ ความโกรธที่มุ่งจะปองร้ายผู้อื่น เมื่อว่าโดยลักขณาทิจตุกกะ คือ มีความหยาบกระด้าง  เป็นลักษณะ ถีนมิทธนิวรณ์ ธรรมชาติที่เป็นเครื่องกั้นความดี คือ ความหดหู่ ความท้อถอย เมื่อว่าโดยลักขณาทิจตุกกะ คือ มีความไม่ควรแก่การงาน เป็นลักษณะ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ธรรมชาติที่เป็นเครื่องกั้นความดี คือ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ เมื่อว่าโดยลักขณาทิจตุกกะ คือ มีความไม่สงบ เป็นลักษณะ วิจิกิจฉานิวรณ์ ธรรมชาติที่เป็นเครื่องกั้นความดี คือ  ความสงสัยลังเลในใจในสิ่งที่ควรเชื่อ ไม่แน่ใจ เมื่อว่าโดยลักขณาทิจตุกกะ คือมีความสงสัย เป็นลักษณะ

                          นิวรณ์เหล่านี้  เป็นหลักธรรมที่กางกั้นไม่ให้บรรลุความดี  นิวรณ์ทั้ง ๕   จัดเป็นธรรมหมวดหนึ่งในธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน    อันเป็นหลักการเจริญวิปัสสนาภาวนาตามสติปัฏฐาน ๔ ในการเจริญวิปัสสนาภาวนาโดยการพิจารณานิวรณธรรมนั้นมีหลักใ นการกำหนดคือว่า  เมื่อนิวรณ์ทั้ง ๕ เกิดขึ้น ผู้ปฏิบัติต้องมีสติตั้งมั่นกำหนดรู้ในนิวรณ์นั้นๆ ให้รู้ชัดการเกิดดับของนิวรณ์เป็นเพียงนามธรรมโดยสภาพธรรม ก็จัดเป็นนามธรรม  ที่เป็นปหาตัพพธรรม  ซึ่งเป็นธรรมที่ควรละ  เมื่อเกิดขึ้นกับจิตของผู้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ผู้ปฏิบัติใช้หลักโยนิโสมนสิการ  มีสติในการกำหนดรู้นิวรณ์ทั้ง ๕   เป็นการรู้สภาวธรรมของรูปนามโดยเท่าทันปัจจุบันอารมณ์    ผู้ปฏิบัติจะเห็นการเกิดดับโดยความเป็นพระไตรลักษณ์อย่างแท้จริงด้วยวิปัสสนาญาณ

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕