หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระณรงค์เศรษฐ์ ิตเมโธ (คุมมณี)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๖ ครั้ง
ศึกษาการเจริญวิปัสสนาภาวนาหมวดธาตุมนสิการบรรพะในมหาหัตถิปโทปมสูตร
ชื่อผู้วิจัย : พระณรงค์เศรษฐ์ ิตเมโธ (คุมมณี) ข้อมูลวันที่ : ๑๔/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(วิปัสนาภาวนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูใบฎีกามานิตย์ เขมคุตฺโต ศน.บ., M.A., Ph.D.
  พระมหาโกมล กมโล ป.ธ.๘, พธ.บ., ศศ.ม.
  อาจารย์นิมิตร โพธิพัฒน์ ป.ธ.๙
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๕
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

                      วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ  ศึกษาหลักธรรมในมหาหัตถิปโท-ปมสูตร  และศึกษาการเจริญวิปัสสนาหมวดธาตุมนสิการบรรพะ โดยศึกษาจากคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และคัมภีร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เรียบเรียงบรรยายตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ

                      จากการศึกษาพบว่า มหาหัตถิปโทปมสูตร เป็นพระสูตรที่พระสารีบุตรกล่าวอุปมาถึงรอยเท้าสัตว์ทั้งหลายรวมลงในรอยเท้าช้าง กุศลธรรมทั้งหลายนับเข้าในอริยสัจ ๔ โดยชื่อพระสูตรตั้งตามเนื้อหาใจความสำคัญ ในพระสูตรได้อธิบายละเอียดถึงทุกขอริยสัจ แสดงถึงการที่มนุษย์ทุกข์เพราะความเข้าไปยึดมั่นในขันธ์จึงกลายเป็นอุปาทานขันธ์ อันว่าโดยย่อได้แก่ รูปขันธ์ นามขันธ์ ในรูปขันธ์ประกอบเพียงธาตุ ๔ โดยชี้ประเด็นที่ทุกขเวทนานั้นเกิดจากมหาภูตรูปใดมหาภูตรูปหนึ่งกำเริบเท่านั้น พร้อมทั้งกล่าวถึงการปฏิบัติวิปัสสนาเพื่อความพ้นทุกข์

                      การเจริญวิปัสสนาในพุทธศาสนามีทางสายเดียว คือ สติปัฏฐาน ๔ ได้แก่ กายานุปัส-สนา  เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา และธัมมานุปัสสนา ในการพิจารณากายในกายนั้นธาตุ-มนสิการบรรพะเป็นหนึ่งในวิธีการปฏิบัติวิปัสสนา โดยแนวการปฏิบัติเหมือนกับในมหาหัตถิปโท-ปมสูตร การพิจารณากายประกอบเพียงธาตุ ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม จนเห็นลักษณะหรืออาการของธาตุนั้น ๆ มีวิธีการกำหนด ๒ ลักษณะ  ๑) แบบย่อ กำหนดลักษณะหรืออาการของธาตุ  ๒) แบบพิสดาร คือ กำหนดพิจารณาแยกออกเป็นส่วน ๆ

                      การเจริญธาตุมนสิการในขณะกำหนดอิริยาบถต่าง ๆ ถ้าลักษณะอาการของธาตุปรากฏให้ผู้ปฏิบัตินำสภาวธรรมเหล่านั้นมากำหนดพิจารณา ซึ่งผู้ปฏิบัติสามารถสังเกตลักษณะชัดเจนของธาตุ คือ ธาตุดิน มีลักษณะแข็ง-อ่อน ธาตุน้ำ มีลักษณะซึม-ซาบ  ธาตุไฟ มีลักษณะร้อน-เย็น ธาตุลม มีลักษณะหย่อน-ตึง สติที่เข้าไปตั้งมั่นพิจารณาเห็นสภาวธรรมสามารถยกขึ้นสู่อารมณ์วิปัสสนาเกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัดละความยึดมั่นในรูปขันธ์

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕