หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นิวัฒน์ ชัยภาณุเกียรติ์
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๗ ครั้ง
ศึกษาอนุปัสสนาในจูฬสัจจกสูตร
ชื่อผู้วิจัย : นิวัฒน์ ชัยภาณุเกียรติ์ ข้อมูลวันที่ : ๑๔/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(วิปัสนาภาวนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสุรชัย วราสโภ ป.ธ.๗, พธ.บ., M.A., Ph.D.
  ผศ.ดร.สุเทพ พรมเลิศ ป.ธ.๙, พธ.บ., ศศ.ม., พธ.ด.
  ผศ.เวทย์ บรรณกรกุล ป.ธ.๙, พธ.บ., ศษ.ม.
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๕
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์เรื่อง “ศึกษาอนุปัสสนาในจูฬสัจจกสูตร” มีวัตถุประสงค์ ๒  ประการ คือ   เพื่อศึกษาหลักธรรมในจูฬสัจจกสูตร และเพื่อศึกษาแนวทางเจริญอนุปัสสนาในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาเฉพาะในจูฬสัจจกสูตร    โดยการศึกษาข้อมูลเนื้อหาหลักธรรมของ  จูฬสัจจกสูตร  ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท  คือพระไตรปิฎก  อรรถกถา  ฎีกา  และคัมภีร์ อื่น ๆ  ที่เกี่ยวข้อง  โดยการ  เรียบเรียงบรรยายตรวจสอบโดยผู้เชียวชาญ  บรรยายเชิงพรรณนา

จากการศึกษาพบว่า  จูฬสัจจกสูตร  เป็นพระสูตรที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า             สาธกโวหารกับสัจจกนิครนถ์   ในเรื่องของ   อัตตา   และอนัตตา   เนื่องจากเหตุที่                สัจจกนิครนถ์สำคัญผิดในขันธ์ ๕  ว่าเป็นอัตตา  พระพุทธองค์ทรงแนะนำสั่งสอนว่า   รูป  เวทนา  สัญญาสังขาร  วิญญาณ  ไม่เที่ยง  รูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณไม่ใช่อัตตา  นี้คือหลักไตรลักษณ์  อันเป็นกฎธรรมชาติที่ทรงค้นพบ  อันแสดงถึงสามัญลักษณะทั้ง ๓  คือ  อนิจจัง  ทุกขัง  และอนัตตา  

ในตอนท้ายของพระสูตร  สัจจกนิครนถ์  ได้ทูลถามเพื่อขอความรู้ว่า  ภิกษุจะเป็นพระอรหันตขีณาสพด้วยเหตุใด  ตรัสตอบว่า  ด้วยการไม่ยึดถือขันธ์ ๕ ว่า  เป็นของเรา  เราเป็นนั่น  นั่นเป็นอัตตาของเรา  นั้นก็คือหลักปฏิบัติวิปัสสนา  ซึ่งอยู่ในขั้นการพิจารณาของอนุปัสสนา  คือการพิจารณา  กิริยา  อาการ  โดยเป็นการตามดู  ตามรู้อยู่เนือง ๆ มีขันธ์ ๕  เป็นอารมณ์ของวิปัสสนา   เป็นภาวนามยปัญญา   คือ  การเจริญสติ  สมาธิ  และเจริญปัญญา  ให้เห็นว่าขันธ์ ๕  ตกอยู่ในกฎของไตรลักษณ์  ขันธ์ ๕  และธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา  ไม่ใช่อัตตา  ซึ่งถือว่าเป็นหลักสำคัญที่ทำให้สภาวะอนุปัสสนาเกิดใน  หลักปฏิบัติที่กล่าวนั้นก็คือหลักสติปัฏฐาน ๔  โดย  สติตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ของวิปัสสนา   คือ  รูปนาม  ที่ปรากฏในฐานทั้ง ๔  คือ   กาย   เวทนา   จิต   และธรรม   เป็นฐานในการเจริญสติ  มี ๔   หมวดคือ  กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน  สติที่เข้าไปตั้งมั่นใน รูป-นาม  โดยพิจารณาเห็นกาย  เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน  สติที่เข้าไปตั้งมั่นใน  รูป-นาม  โดยพิจารณาเวทนา  จิตตานุปัสนาสติปัฏฐาน  สติที่เข้าไปตั้งมั่นใน รูป-นาม  โดยพิจารณาอาการของจิต  ธรรมมานุปัสสนา  สติปัฏฐาน  สติที่เข้าไปตั้งมั่นใน รูป-นาม  โดยพิจารณาหมวดธรรม  ทั้งหมดให้เป็นไปในอาการ  ไม่เที่ยง  เป็นทุกข์  และเป็นอนัตตา  เกิดสมาธิและปัญญาเกิดความเบื่อหน่ายละอุปาทานขันธ์  ดับทุกข์ได้โดยสิ้นเชิง

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕