หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระวิสุทธิภัทรธาดา(ดร.),และคณะ
 
เข้าชม : ๔๘๘ ครั้ง
การพัฒนาจริยธรรมเชิงพุทธของหมู่บ้านจักสาน
ชื่อผู้วิจัย : พระวิสุทธิภัทรธาดา(ดร.),และคณะ ข้อมูลวันที่ : ๑๑/๑๑/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
 
 
 
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ

รายงานการวิจัย : การพัฒนาจริยธรรมเชิงพุทธของหมู่บ้านจักสาน : กรณีศึกษากลุ่มจักสาน อำเภอพนัสนิคม  จังหวัดชลบุรี

 

               การวิจัยเป็นแบบกึ่งทดลอง(Quasi-Experimental Research) เพื่อศึกษาการพัฒนาจริยธรรมเชิงพุทธของหมู่บ้านจักสาน และเปรียบเทียบผลการทดลองการเข้าร่วมกิจกรรมโปรแกรมการกระทำสาเหตุระหว่างก่อนและหลังการอบรมตามหลักพัฒนาจริยธรรมเชิงพุทธและปัจจัยจิตลักษณะเดิม กรณีศึกษา กลุ่มจักสาน  อำเภอพนัสนิคม  จังหวัดชลบุรี  ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาประชากร กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 40 คน จากการสุ่มแบบ(Cluster  Random Sampling) โดยใช้กลุ่มเป็นหน่วยสุ่ม ด้วยการจับสลากมาจำนวน 1 กลุ่ม ในจำนวนทั้งหมด 6 กลุ่ม ได้จำนวนสมาชิกกลุ่มจักสานที่กำลังทำงานอยู่ จำนวน 40 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามจำนวน 11 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)และt-test.
                ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
        ผลการศึกษาการพัฒนาจริยธรรมเชิงพุทธของหมู่บ้านจักสาน กรณีศึกษา กลุ่มจักสาน  อำเภอพนัสนิคม  จังหวัดชลบุรี พบว่า ภาพรวมค่าเฉลี่ยของคะแนนรวมของกลุ่มตัวอย่างจากแบบสอบถามด้านความเชื่อตามหลักธรรมอิทธิบาท 4   ความเชื่อตามหลักธรรมพละ 5   ความเชื่อตามหลักธรรมทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ 4   ความเชื่อตามหลักธรรมสังคหวัตถุ 4 ความเชื่อตามหลักธรรมหิริโอตัปปะ   และความเชื่อตามหลักธรรมพรหมวิหาร 4  ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยระดับคะแนนเพิ่มขึ้น มากขึ้นกว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาจริยธรรมเชิงพุทธ  
         ผลการวิจัยพบว่า การประเมินโครงการโดยภาพรวม พบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนรวมของกลุ่มตัวอย่างจากแบบสอบถามการประเมินโครงการ สรุปภาพรวมโครงการฝึกอบรมรูปแบบการพัฒนาจริยธรรมเชิงพุทธอยู่ในระดับมาก 
                จากผลการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยพบว่าความสำคัญในการนำหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนามาบูรณาการเพื่อให้เกิดผลต่อกลุ่มอาชีพจักรสานและพุทธศาสนิกชนทั่วไป ซึ่งทำให้เกิดมิติของการเผยแผ่หลักคำสอนต่อบุคคลในสังคมและชุมชน ที่ช่วยส่งเสริมให้เข้าถึงหลักธรรมได้โดยง่าย โดยเฉพาะการสอนเรื่องหลักธรรมทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ 4   และ/หรือหลักของความพอเพียงเป็นเรื่องที่คนทั่วไปมักตกอยู่ในความประมาทในการดำเนินชีวิต แต่ในโปรแกรมการกระทำสาเหตุ ได้จัดชุดกิจกรรมที่นำมาประยุกต์ใช้ได้ผลเชิงประจักษ์และมีความสมบูรณ์ในกิจกรรมทุกชุด ค่าเฉลี่ยระดับคะแนนเพิ่มขึ้น หลังเข้าร่วมกิจกรรมในระดับมาก 
 

 ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕