การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (๑) สภาพทั่วไปเกี่ยวกับวัดและการปฏิบัติกิจของพระสงฆ์ในเขตอีสานตอนล่าง และ (๒) เพื่อศึกษาบทบาทของวัดในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในเขตอีสานตอนล่าง รูปแบบการวิจัยเป็นเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ เทคนิคการวิเคราะห์และการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย (๑) ประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยใช้แบบสอบถาม ๔๒๙ ชุด และได้รับแบบสอบถาม ๓๖๓ ชุด คิดเป็นร้อยละ ๘๔.๖๒ (๒) การสนทนากลุ่ม โดยประกอบด้วย เจ้าอาวาส/รองเจ้าอาวาส ผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน, สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ไวยาวัจกร คณะกรรมการหมู่บ้าน
ผลการวิเคราะห์ พบว่า (๑) จำนวนพระภิกษุสงฆ์ที่จำพรรษาในปีที่ผ่านมา ประมาณ ๙ รูป วัดมีพื้นที่โดยเฉลี่ยประมาณ ๒๐.๙๑ไร่ วัดได้ปฏิบัติ/ดำเนินการให้วัดเป็นศูนย์กลางยึดเหนี่ยวทางจิตใจของสมาชิกในชุมชน ๓ ครั้งต่อเดือน วัดกับชุมชนมีการประกอบกิจกรรมการอบรมพัฒนาทางด้านศาสนาร่วมกัน ประมาณ ๓ ครั้งต่อเดือน วัดและชุมชนได้มีการเอื้อประโยชน์และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ๓ ครั้งต่อเดือน วัดเป็นแหล่งหรือสถานที่จัดกิจกรรมทางศาสนาประเพณีและวัฒนธรรม ๓ ครั้งต่อเดือน เป็นสถานที่จัดขนบธรรมเนียมหรือแบบแผนชีวิตของประชาชน นับตั้งแต่เกิดจนตาย ประมาณ ๔ ครั้งต่อเดือน วัดได้ดำเนินการให้เป็นแหล่งศูนย์รวมสร้างความศรัทธาของสมาชิกและชุมชน ประมาณ ๓ ครั้งต่อเดือน และวัดได้จัดให้มีการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณี และดูแลสิ่งแวดล้อม ประมาณ ๓ ครั้งต่อเดือน และวัดได้จัดและสร้างแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี ร้อยละ ๘๑.๙๐ และวัดได้สร้างหรือมีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ร้อยละ ๘๓.๖๐ การปฏิบัติกิจของเจ้าอาวาสหรือรองเจ้าอาวาสของวัดในชุมชน จากคะแนน เต็ม 4 มีระดับการปฏิบัติกิจในภาพรวมในระดับ ปานกลาง มีค่าเฉลี่ย ๓.๑๘ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ๐.๘๖
(๒) บทบาทของวัดในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในเขตอีสานตอนล่าง พบว่า บทบาทของวัดในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ๖ ด้าน โดยภาพรวมระดับ ปานกลาง จากคะแนน เต็ม 4 มีค่าเฉลี่ย ๓.๑๐ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ๐.๙๘ มีบทบาทของวัดในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยมีคะแนนเรียงตามลำดับดังนี้ ๑) ด้านงานสาธารณสงเคราะห์ ๒) ด้านงานปกครอง ๓) ด้านงานสาธารณูปโภค ๔) ด้านงานเผยแพร่ศาสนาธรรม ๕) ด้านงานศาสนศึกษา และ ๖) ด้านงานศึกษาสงเคราะห์ และระดับคุณภาพของการดำเนินการในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน พบว่า ชุมชนมีการดำเนินการในระดับ ดี คิดเป็นร้อยละ ๗๒.๕๐ ชุมชนมีการดำเนินการในระดับ ปานกลาง คิดเป็นร้อยละ ๑๕.๒๐ และ ชุมชนมีการดำเนินการในระดับ น้อย คิดเป็นร้อยละ ๑๒.๔๐
|