บทคัดย่อ
การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษากับการสื่อสารที่จัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning /PBL) มีจุดมุ่งหมาย ๑) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการเรียนรายวิชาภาษากับการสื่อสารที่จัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน และ ๒) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการเรียนการสอนรายวิชาภาษากับการสื่อสารที่จัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
๑. การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของแผนการเรียนรู้รายวิชาภาษากับการสื่อสารที่จัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน พบว่า คะแนนเฉลี่ยของนิสิตจากการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงานของนิสิตระหว่างเรียน ที่เรียนตามแผนการเรียนรู้รายวิชาภาษากับการสื่อสารที่จัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เท่ากับร้อยละ ๘๔.๐๐ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ ๕.๑๑ คิดเป็นร้อยละ ๘๖.๐๐ ของคะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
๒. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษากับการสื่อสารที่จัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน พบว่า คะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษากับการสื่อสารที่จัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานก่อนเรียนเท่ากับ ๒๐.๒๐ และ จากส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ ๓.๘๐ คิดเป็นร้อยละ ๖๗.๓๓ จากคะแนนเต็ม ๓๐ คะแนน และคะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน เท่ากับ ๒๕.๖๗ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๑.๙๓ คิดเป็นร้อยละ ๘๕.๕๖ จากคะแนนเต็ม ๓๐ คะแนน
๓. การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของการเรียนการสอนรายวิชาภาษากับการสื่อสารที่จัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน พบว่า ประสิทธิภาพของการเรียนการสอนรายวิชาภาษากับการสื่อสารที่จัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน มีค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน ๒๐.๒๐ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ๓.๘๐ ค่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน ๒๕.๖๗ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ๑.๙๓ เมื่อนำไปทดสอบความแตกต่างด้วยสถิติ t พบว่าประสิทธิภาพทางการเรียนการสอนรายวิชาภาษากับการสื่อสารที่จัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
๔. ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษากับการสื่อสารที่จัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน พบว่า คะแนนเฉลี่ยจากการจัดแผนการเรียนรู้รายวิชาภาษากับการสื่อสารที่จัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ทั้ง ๑๐ แผน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๖๙.๑๐ คิดเป็นร้อยละ ๖๙.๑๐ ของคะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน และผลการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๒๕.๖๗ คิดเป็นร้อยละ ๘๕.๕๖ ของคะแนนเต็ม ๓๐ คะแนน ดังนั้น ประสิทธิภาพของแผนการเรียนรู้รายวิชาภาษากับการสื่อสารที่จัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน นิสิตชั้นปีที่ ๑ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ส่วนกลาง มีค่าประสิทธิภาพ ๖๙.๑๐/๘๕.๕๖ เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
๕. ความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการเรียนการสอนรายวิชาภาษากับการสื่อสารที่จัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน สรุปได้ดังนี้
๑) ความพึงพอใจของนิสิตที่เรียนด้วยการจัดแผนทางการเรียนรายวิชาภาษากับการสื่อสารที่จัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ด้านการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐานอยู่ในระดับมาก โดยมีความพึงพอใจเป็นรายข้อทุกข้ออยู่ในระดับพึงพอใจมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๘๙
๒) ความพึงพอใจของนิสิตที่เรียนด้วยการจัดแผนทางการเรียนรายวิชาภาษากับการสื่อสารที่จัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ด้านการประเมินอาจารย์ผู้สอน อยู่ในระดับพึงพอใจมาก โดยมีความพึงพอใจเป็นรายข้อทุกข้ออยู่ในระดับพึงพอใจมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๘๘
ดาวน์โหลด |