ชื่อรายงานการวิจัย: การศึกษาประสิทธิภาพการใช้บริการห้องสมุดมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่
ผู้วิจัย: ผศ.ฉวีวรรณ สุวรรณาภา ,นางสาวพัฒน์นรี อัฐวงศ์ และ
นางสาวอรอนงค์ วูวงศ์
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการใช้บริการห้องสมุดมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ ใน ๓ ด้าน คือ ๑. สภาพการใช้บริการของห้องสมุด ๒. ความพึงพอใจและความต้องการของผู้ใช้บริการห้องสมุด ๓. ปัญหาและอุปสรรคการใช้บริการห้องสมุด
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ อาจารย์และเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ จำนวน ๓๐ รูป/คน
นิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ในปีการศึกษา ๒๕๕๓จำแนกเป็น นิสิตชั้นปีที่ ๑ – ๔ จำนวน ๔๓๒ รูป ได้แก่ นิสิตหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา จำนวน ๒๖ รูป และ นิสิตหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต วิชาชีพครู จำนวน ๘๗ รูป/คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย
๑. สภาพการใช้ ส่วนใหญ่ช่วงเวลาในการใช้บริการห้องสมุดตามช่วงเวลาวันเสาร์ - วันอาทิตย์ (เวลา ๑๒.๐๐ – ๑๖.๓๐ น.) รองลงมา ใช้บริการห้องสมุดช่วงเวลาวันจันทร์ - วันศุกร์ (เวลา ๑๒.๐๐ – ๑๖.๓๐ น.) วิธีการใช้บริการ ส่วนใหญ่ใช้บริการห้องสมุดตามวิธีการใช้บริการโดยค้นจากชั้นเก็บหนังสือ/วารสารด้วยตนเอง ในการหาสิ่งพิมพ์ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ใช้บริการการยืมหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ของห้องสมุด ๑ – ๒ ครั้งต่อเดือน ใช้บริการบริการยืม - คืน หนังสือ/เอกสาร
๒. ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาเขตแพร่ รวมทุกด้าน โดยภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง คิดเป็นค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (µ =๓.๔๐ , = .๖๐) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านอาคารสถานที่และด้านบุคลากรมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการบริการของห้องสมุด, ด้านวัสดุครุภัณฑ์และด้านทรัพยากรสารสนเทศ อยู่ในระดับความพึงพอใจปานกลาง
๓. ความต้องการของผู้ใช้บริการห้องสมุด มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ โดยภาพรวมอยู่ระดับความต้องการมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (µ = ๓.๗๖, = .๖๘) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความต้องการอยู่ในระดับมากทุกข้อโดยจัดหาหนังสืออ้างอิงให้มากขึ้น มากเป็นอันดับแรก รองลงมา จัดหาหนังสือใหม่ๆ เพิ่มขึ้น, บริการแปลเอกสาร, รวบรวมรายชื่อหนังสือหรือวัสดุที่มีในห้องสมุด, เพิ่มจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มากขึ้น, บอกรับวารสารภาษาไทยให้มากขึ้น, บริการถ่ายเอกสารราคาประหยัด, ขยายเวลาให้บริการให้มากขึ้น, บอกรับวารสารภาษาอังกฤษมากขึ้น, เก็บหนังสือและเอกสารสำคัญๆให้อยู่ในสภาพดี และจัดทำคู่มือการใช้/แนะนำห้องสมุด
๔. ปัญหาและอุปสรรคการให้บริการห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ รวมทุกด้าน โดยภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง คิดเป็นค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (µ = ๒.๙๐, = .๗๐) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านการบริการของห้องสมุดอยู่ในระดับปานกลางเป็นอันดับแรก รองลงมาด้านวัสดุครุภัณฑ์, ด้านบุคลากร, ด้านทรัพยากรสารสนเทศและด้านอาคารสถานที่
ดาวน์โหลด
|