หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU
ภายในระบบ
หลักสูตร
รายละเอียดประจำวิชา
เอกสารประกอบการสอน
ตำราวิชาการ
บทความวิชาการ

หน้าหลัก » พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,รศ.ดร. » สงครามน้ำในลุ่มน้ำแม่ตาช้าง จ.เชียงใหม่: หลักการและเครื่องมือในการจัดการความขัดแย้งเชิงพุทธ
 
เข้าชม : ๑๒๐๓๙ ครั้ง

''สงครามน้ำในลุ่มน้ำแม่ตาช้าง จ.เชียงใหม่: หลักการและเครื่องมือในการจัดการความขัดแย้งเชิงพุทธ''
 
พระมหาหรรษา ธมฺมาหาโส, ผศ.ดร. (2548)

 

สงครามน้ำในลุ่มน้ำแม่ตาช้าง จ.เชียงใหม่:
หลักการและเครื่องมือในการจัดการความขัดแย้งเชิงพุทธ
โดย
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ผศ.ดร.
ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
*********************

๑. เกริ่นนำ
       “น้ำ” ถือได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในการอุปโภคบริโภค ด้วยเหตุดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ จึงมีกระแสพระราชดำรัสว่า “หลักสำคัญว่าต้องมี น้ำบริโภค น้ำใช้เพื่อการเพาะปลูก เพราะว่ามีชีวิตอยู่ที่นั้น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้ ถ้าขาดไฟฟ้าคนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้”
       ถึงกระนั้น เมื่อกล่าวถึง “น้ำ” ใน ค.ศ. ๑๙๙๕ อิสมาอิล เซราเจลดิน รองประธานธนาคารโลกได้กล่าวว่า สงครามในศตวรรษนี้คือการต่อสู้เพื่อแย่งชิงน้ำมัน แต่สงครามในศตวรรษหน้าจะกลายเป็นการต่อสู้เพื่อแย่งชิงน้ำ” จากการตั้งข้อสังเกตในลักษณะดังกล่าวนั้น ทำให้พบข้อเท็จจริงที่น่าสนใจว่า สงครามน้ำกำลังเกิดขึ้นในหลายประเทศด้วยกัน กล่าวคือ อินเดีย บังคลาเทศ ซูดาน อียิปต์ และเคนยา เป็นต้น เป็นเหตุให้องค์การสหประชาชาติออกมาเตือนว่า “ในอนาคตทรัพยากรน้ำจะวิกฤติ และจะทำให้เกิด ‘สงครามน้ำ’ มากขึ้นในเวทีระหว่างประเทศ”
       จากการ “คาดการณ์” ดังกล่าว นิวยอร์ก ไทมส์ หนังสือพิมพ์ต่างประเทศชี้ให้เห็นการขาดแคลนทรัพยากรน้ำในรัฐเท็กซัสสอดคล้องกับประเทศไทยว่า “บัดนี้ สำหรับเท็กซัส น้ำได้กลายเป็นของเหลวที่มีค่าดั่งทองแทนน้ำมันไปแล้ว” การนำเสนอประเด็นดังกล่าวมิได้เกินเลยความเป็นจริงนักเมื่อเกิดสถานการณ์ “วิกฤติน้ำ” อย่างรุนแรง ในปี ค.ศ. ๑๙๙๘ มี ๒๘ ประเทศพบปัญหาตึงเครียด หรือขาดแคลนน้ำ และคาดว่าตัวเลขนี้จะสูงขึ้นเป็น ๕๖ ประเทศภายในปี ค.ศ. ๒๐๐๕ ในช่วงปี ค.ศ. ๑๙๙๐ ถึง ค.ศ.๒๐๐๕ จำนวนประชากรที่อยู่ในประเทศที่มีน้ำไม่เพียงพอคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก ๑๓๑ ล้านเป็น ๘๑๗ ล้านคน
       ในขณะที่ประเทศไทย นับตั้งแต่มีการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ทำให้ ระบบเศรษฐกิจแบบ “ทุนนิยม” หรือ “บริโภคนิยม” ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การขยายตัวทางตัวเลข และการพัฒนาทางวัตถุนิยมนั้น ได้ก่อให้เกิด “สภาวะที่ไร้ความสมดุล” ระหว่างมนุษย์ ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และสังคม และผลที่เกิดขึ้นก็คือ “ความไม่สมนัย” ระหว่างเศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม ประเพณี และสิ่งแวดล้อม
 

อ่านบทความฉบับเต็ม

(ที่มา: รูปแบบการจัดการความขัดแย้งโดยพุทธสันติวิธี: ศึกษากรณีลุ่มน้ำแม่ตาช้าง จ.เชียงใหม่)
 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕