หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU
ภายในระบบ
หลักสูตร
รายละเอียดประจำวิชา
เอกสารประกอบการสอน
ตำราวิชาการ
บทความวิชาการ

หน้าหลัก » บทกความสุรพงษ์ » ความรู้เกี่ยวกับวิจัยในชั้นเรีย
 
เข้าชม : ๙๒๕๖๗ ครั้ง

''ความรู้เกี่ยวกับวิจัยในชั้นเรีย''
 
ผศ.สุรพงษ์ คงสัตย์ อ. ธีรชาติ ธรรมวงค์ (2551)

ความนำ

           การวิจัยในชั้นเรียนเป็นสิ่งที่ครูผู้สอนในยุคปัจจุบันต้องกระทำ เพราะเป็นการใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  .. 2542   การจัดการเรียนการสอนของครูนั้น เมื่อมีปัญหาการเรียนรู้หรือมีปัญหาการเรียนการสอนเกิดขึ้นไม่ว่าจะเกิดขึ้นกันตัวนักเรียนหรือเกิดขึ้นกับตัวครูเอง ครูผู้สอนต้องหาวิธี             และแนวทางในการแก้ปัญหานั้น ๆ   โดยใช้กระบวนการวิจัยการวิจัยในชั้นเรียนจึงเป็นหลักที่สำคัญเปรียบเสมือนลมหายใจที่จำเป็นในการเรียนการสอนของครู เพราะถ้าเกิดปัญหาเกี่ยวกับการเรียน               การสอนแล้ว ไม่มีการทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อหาสาเหตุของปัญหาแล้วจะทำให้ไม่รู้ถึงปัญหาและหาแนวทาง วิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้

           อนงค์พร  สถิตย์ภาคีกุล  (2544 : 62) ภายหลังหลังที่มีการใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  .. 2542 ครูผู้สอนในทุกระดับชั้นการศึกษามีการตื่นตัว  ขานรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา  ทั้งการปฏิรูปการศึกษา และการปฏิรูปการเรียนรู้  แนวคิดในเชิงบวกมีการปรับเปลี่ยนเจตคติ  การปฏิบัติตน เพื่อเตรียมตัวไปสู่ครูมืออาชีพ  เป็นผลทำให้ครูผู้สอน  ผู้เรียน และกระบวน              การเรียนการสอน แปรเปลี่ยนไป ประกอบกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกทั้งทางด้านเศรษฐกิจ  ข่าวสาร  และสังคม ก่อให้เกิดสรรพวิทยาการขึ้นใหม่มากมาย  ครูผู้สอนจึงจำเป็นต้องอาศัยยุทธศาสตร์  ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนหรือผู้เรียนมีความรู้ความสามารถเต็มตามศักยภาพ  เป็นคนเก่ง ดี  และมีความสุข ตามความคาดหวังของหลักสูตร  สังคมและประเทศชาติ  แนวคิดหนึ่งที่เอื้อต่อการพัฒนาการเรียนการสอนก็คือการวิจัยในชั้นเรียน

           ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  .. 2542 ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการวิจัยในมาตรา 24 (5) โดยกำหนดให้ผู้สอนสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้และในมาตรา 30 ระบุให้มีการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถทำการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ระดับการศึกษา   ด้วยเหตุผลเหล่านี้ถือได้ว่าการวิจัยในชั้นเรียนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญในการเรียน                การสอนของครูผู้สอนในยุคปัจจุบันที่เรียกกันว่าเป็นยุคของการปฏิรูปการศึกษา  

           ดังนั้น การวิจัยในชั้นเรียน จึงเป็นกระบวนการที่ช่วยให้ครูผู้สอนสามารถพัฒนาระบบ                   การจัดการเรียนการสอนของตนให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนทำให้กระบวนการจัดการเรียนรู้ของครู มีความเป็นวิชาชีพและมีความเป็นศาสตร์ในวิทยาการของการจัดการเรียนรู้มากขึ้น  เพราะการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  มีรูปแบบและวิธีการที่หลากหลายเพื่อให้สอดคล้องกับความถนัด  ความสนใจ และความต้องการของผู้เรียน โดยให้ครูผู้สอนนำกระบวนการวิจัยมาผสมผสานหรือบูรณาการใช้ในการจัดการเรียนการรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน และเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  สามารถใช้กระบวนการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้

         

 

 

 

 

ความหมายของการวิจัยในชั้นเรียน

           การวิจัย  คือ  การแก้ปัญหาแบบใหม่  การหาคำตอบแบบใหม่  โดยวิธีการที่เชื่อถือได้                 หรือวิธีการที่ยอมรับในศาสตร์นั้น ๆ

           การวิจัยในชั้นเรียน  คือ  การแก้ปัญหาของนักเรียนบางคน  บางเรื่อง  เพื่อพัฒนานักเรียน             คนนั้น กลุ่มนั้น เพื่อจะได้เรียนทันเพื่อนกลุ่มใหญ่ หรือวิธีที่ยอมรับในศาสตร์นั้น ๆ

           พิชิต  ฤทธิ์จรูญ  (2544 : 21)  การวิจัย  เป็นกระบวนการสืบค้นหาข้อเท็จจริง 

คำตอบ  องค์ความรู้ใหม่  หรือการสร้างพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ ด้วยวิธีการที่เป็นระบบและเชื่อถือได้เพื่อให้ได้ข้อค้นพบ  คำตอบ  องค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมที่เชื่อถือได้

             ไพจิตร  สดวกการ  (2545  : 4)  การวิจัยเป็นกระบวนการในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนที่ครูรับผิดชอบอย่างเป็นระบบ  เพื่อสืบค้นให้ได้สาเหตุของปัญหา แล้วหาวิธีแก้ไขหรือพัฒนาที่เชื่อถือได้  เช่น การสังเกต  จดบันทึก และวิเคราะห์หรือสังเคราะห์                 เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาหรือกระบวนการพัฒนาการเรียนการสอนของครู และพัฒนาการเรียนรู้                 ของผู้เรียนให้มีคุณภาพตามเป้าหมายที่กำหนดไว้  เพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้ได้รับการพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ

           สมบัติ  บุญประคม (2545 : 35)  การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ใช้กระบวนการปฏิบัติอย่างเป็นระบบ  ผู้วิจัยและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ และวิเคราะห์วิจารณ์ผลการปฏิบัติโดยใช้วงจร                    4 ขั้นตอน  คือ  การวางแผน   การลงมือทำจริง   การสังเกต  และการสะท้อนผลการปฏิบัติการดำเนินการต้องต่อเนื่อง เพื่อจะนำไปสู่การปรับปรุงแผนเข้าสู่วงจรใหม่  จนกว่าจะได้ข้อสรุปที่แก้ปัญหาได้จริง  หรือสภาพการณ์ของสิ่งที่ศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ความสำคัญของการวิจัยในชั้นเรียน

              การแก้ปัญหาหรือการพัฒนาผู้เรียนด้วยกระบวนการวิจัยที่ครูผู้สอนเป็นผู้ปฏิบัติ  เป็นสิ่งที่จะให้ผลดีแก่นักเรียนมากกว่าที่ครูแก้ปัญหาในชั้นเรียนของตนตามผลการวิจัยของผู้อื่น  เนื่องจากครูผู้สอนเป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้เรียนมากที่สุด  ครูจึงย่อมรู้ธรรมชาติ ภูมิหลังและสภาวะแวดล้อมของผู้เรียนดีกว่าผู้อื่น  แต่ครูต้องพยายามศึกษาค้นคว้าหาแนวทางแก้ปัญหาการเรียนการสอนที่ผู้อื่นทำไว้  เพื่อนำมาเป็นฐานความคิดในการปรับนำไปใช้ให้เหมาะสมกับผู้เรียนของตนและจะได้ทราบถึงข้อควรระวังที่ผู้วิจัยได้นำเสนอไว้  เพื่อป้องกันผิดพลาดซ้ำรอยเดิม    รวมทั้งควรปรึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้รู้

ผู้มีประสบการณ์ภายในโรงเรียน 

          การวิจัยในชั้นเรียนเป็นการพัฒนาการเรียนการสอนซึ่งเป็นหน้าที่หลักของครู และไม่ใช่เรื่อง             ที่ยุ่งยากเกินความสามารถของครู อย่างไรก็ตามการพัฒนาการเรียนการสอนเป็นงานที่ต้องใช้เวลา              และต้องทำอย่างต่อเนื่อง  การวิจัยในชั้นเรียนจึงไม่ใช่การวิจัยที่ทำเพียงครั้งเดียว  แต่ควรทำอย่างต่อเนื่องจนเป็นปกติของงานในหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาผู้เรียนของครู

 

 

 

 

ความแตกต่างระหว่างการวิจัยในชั้นเรียนกับการวิจัยทางการศึกษา

           อุทุมพร  (ทองอุไทย) จามรมาน  (2544 : 1) การวิจัยทางการศึกษาเป็นการวิจัยโดยนักวิจัย           ทางการศึกษา ส่วนการวิจัยในชั้นเรียนทำโดยครู

           การวิจัยในชั้นเรียนเป็นการทำโดยครูเพื่อแก้ปัญหาของนักเรียนบางคนหรือบางกลุ่มอาจจะเป็นกลุ่มขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ก็ตามแล้วแต่ปัญหาที่พบเพื่อหาวิธีการ และแนวทางปรับปรุง พัฒนา แก้ไข  ที่ถูกต้องผู้ที่จะได้รับประโยชน์ คือ นักเรียนหรือครูแล้วแต่กรณี  เป็นการวิจัยเชิงทดลองซึ่งจะทำในชั้นที่ตนสอนโดยมีการวิเคราะห์ สังเคราะห์สามารถทำได้ทุกวันทุกสัปดาห์ โดยใช้การสังเกต

           การวิจัยทางการศึกษาจะทำโดยนักวิจัยและนักการศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียน  ครู 

ผู้บริหาร  โรงเรียน  เรื่องที่สำคัญที่เกี่ยวกับการศึกษา ทั้งหมดนี้ส่วนมากจะทำการศึกษาวิจัยเป็นกลุ่มใหญ่  ทำตามระเบียบวิธีวิจัยทุกขั้นตอน มีการใช้สถิติ  ทำเพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่ในวงการการศึกษา  ส่วนมากจะอยู่ในการวิจัยประเภทเชิงปริมาณ

           สำอาง  สีหาพงษ์  (2544 : 62-63)  การวิจัยในชั้นเรียนเป็นการวิจัยในระดับชั้นเรียน                    และหรือในระดับโรงเรียน  (สถานศึกษาต่ำกว่าอุดมศึกษา)  มีเป้าหมายเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ  การวิจัยในชั้นเรียนมีขอบเขตอยู่ที่การแก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียนในชั้นเรียน โรงเรียนหรือสภาวะแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียน ห้องเรียน และโรงเรียน

           ความแตกต่างของการวิจัยในชั้นเรียนกับการวิจัยทางการศึกษา คือการวิจัยทางการศึกษา             เป็นการค้นปัญหาที่แท้จริงมีสาเหตุเกิดจากอะไร ซึ่งยังไม่มีการนำผลการวิจัยไปแก้ปัญหาแต่อย่างใด   ทั้งนี้เมื่อมีการแก้ปัญหาถือว่าผลการวิจัยได้นำไปใช้อย่างแท้จริงงานวิจัยจึงจะมีคุณค่า  สำหรับงานวิจัยในชั้นเรียนนั้น  จะเกี่ยวข้องกับการทำวิจัยเพื่อแก้ปัญหาของผู้เรียนในห้องเรียนโรงเรียนหรือสภาวะแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ  อีกทั้งเป็นการพัฒนาวิชาชีพครูให้มีศักยภาพ                ที่สามารถจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้นด้วย  อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของผู้เรียนให้สูงขึ้นโดยตรง ฉะนั้นสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างของการวิจัยในชั้นเรียนกับการวิจัยทางการศึกษา ดังนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ความแตกต่างระหว่างการวิจัยในชั้นเรียน/โรงเรียนกับการวิจัยทางการศึกษา

 

รายการ

การวิจัยในชั้นเรียน/โรงเรียน

การวิจัยทางการศึกษา

1.       ใครทำ

 

ครูประจำการ

ครูที่ว่าง นิสิต นักศึกษา ที่ทำวิทยานิพนธ์ นักการศึกษา

2.       ทำอะไร

แก้ปัญหานักเรียน บางคน  บางเรื่อง

แก้ปัญหาทางการศึกษา

3.       เริ่มที่ไหน

 

สังเกตว่านักเรียนบางคนเรียน

ไม่ทันเพื่อน มีพฤติกรรม

แตกต่างจากกลุ่ม

การทบทวนรายงานวิจัยที่

เกี่ยวข้อง

4.       ทำที่ไหน

ในห้อง/โรงเรียน

ในห้อง / โรงเรียน / ที่อื่นๆ

5.       การออกแบบการวิจัย

ไม่ต้อง (อย่างเป็นทางการ)

ต้อง (อย่างเป็นทางการ)

6.       สร้างเครื่องมือวัด

ไม่ต้อง ครูคือเครื่องมือเก็บข้อมูลโดยการสังเกต ซักถาม

ต้อง เช่น แบบสอบถาม

แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์

 แบบวัดต่าง ๆ แบบทดสอบ

7.       ระบุประชากร  กลุ่มตัวอย่างหรือไม่

ไม่ต้องใช้เลือกเฉพาะนักเรียน                        ที่เป็นปัญหา

ต้อง

8.       เก็บข้อมูลนานหรือไม่

ไม่นาน

นาน

9.       ใช้เวลาทำนานเท่าไร

2 วัน-2 สัปดาห์ / 1 ภาคเรียน

1 ปีการศึกษาเป็นอย่างน้อย

10.    ใน 1 ภาค การศึกษาทำ ได้กี่เรื่อง

หลายเรื่อง

อาจได้ 1 เรื่อง

11.    ใช้สถิติหรือไม่

ไม่ / ใช้สถิติแบง่าย ๆ

ต้อง

12.    ทำเมื่อไร

ทำไปสอนไป

หนีสอนไปทำ

13.    ทำเพื่ออะไร

เพื่อแก้ปัญหานักเรียน

เพื่อขอเป็นผลงาน/องค์ความรู้

14.    ความยาว/เรื่อง

2 – 3 หน้า

5 บท

15.    เสียค่าใช้จ่ายหรือไม่

ไม่ต้องเสีย

ต้อง

16.    อนาคตของผู้ทำ

ครูมืออาชีพ

นักวิจัยทางการศึกษา

17.    ทำเพื่อใคร

นักเรียน

ตัวเอง / สังคม / องค์กร

18.ชื่อเรื่อง

“การแก้ปัญหานักเรียน-กี่คน    ชั้นใด เรื่องอะไร”

การหาความสัมพันธ์ระหว่าง................การสำรวจ......................

การทดลอง......................

การเปรียบเทียบ.................

การพัฒนา.........................

การวิเคราะห์......................

การศึกษา...........................

การทำนาย.........................

การสรุปอ้างอิง...................

 

18.    ผลงานเอาไปทำอะไร

ความเป็นครู

เพื่อนำไปขอผลงานในที่สุด

19.    ขอบเขตที่ทำ

ทำในห้องเรียน/โรงเรียนของตน

นอกโรงเรียนของตน

 

ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างของการวิจัยในชั้นเรียนกับการวิจัยทางการศึกษา

ในลักษณะทั่วไป

 

ตารางเปรียบเทียบความแตกต่าง

ของการวิจัยในชั้นเรียนกับการวิจัยทางการศึกษาในลักษณะทั่วไป

การวิจัยในชั้นเรียน

การวิจัยทางการศึกษาโดยทั่วไป

-          สร้างองค์ความรู้เฉพาะในชั้นเรียน/โรงเรียนอ้างอิงไปกลุ่มอื่นไม่ได้

-          ดำเนินการโดยครู/บุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียน

-          อาศัยประสบการณ์ครู/บุคลากรทางการศึกษาแทนการเก็บข้อมูล

-          ประชากร คือ นักเรียนรายห้องรายโรงเรียนและรายบุคคลที่ทำการแก้ไข

-          วิเคราะห์เนื้อหาไม่ต้องใช้สถิติชั้นสูง

-    นำผลไปใช้เฉพาะรายคนรายห้องและโรงเรียน

-          สร้างองค์ความรู้และสรุปอ้างอิงได้

 

-          ดำเนินการโดยนักวิจัย/นักวิชาการ

 

-          อิงทฤษฎีหรือมีงานวิจัยรองรับเพื่อแก้ปัญหา

-          ประชากร คือ นักเรียนทั่วไป/ชุมชน/สังคม

-     วิเคราะห์โดยสถิติสรุปอ้างอิงหรือสถิติชั้นสูง

-          นักวิจัยอาจไม่ได้ใช้ประโยชน์แต่บุคคลอื่นจะนำไปใช้

 

 

ตารางการเปรียบเทียบการวิจัยในชั้นเรียนกับการวิจัยทางการศึกษา

เทคนิควิธีการใช้ในการวิจัย

( ระเบียบวิธี )

กระบวนการที่ใช้ในการพัฒนางาน

การวิจัยในชั้นเรียน

การวิจัยทางการศึกษา

( สัดส่วนเทคนิควิธีการใช้ )

( สัดส่วนเทคนิควิธีการใช้ )

1.      การใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหา

20 %

( ค่าประมาณ )

30 %

( ค่าประมาณ )

2.      การใช้การวิจัยทางวิชาการทั่วไป/การวิจัยสำรวจ/การวิจัยเชิงพัฒนา/การวิจัยเชิงทดลอง/การวิจัยประมาณผล ฯลฯ

 

 

30 %

 

 

50 %

3.      การใช้การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน/การทำงาน

50 %

20 %

รวม

100 %

100 %

 

 

ลักษณะของการวิจัยในชั้นเรียน

              ลักษณะของการวิจัยในชั้นเรียนที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดนับว่าเป็นองค์ประกอบของการทำวิจัย              ในชั้นเรียน

              1. จุดเริ่มต้นของการวิจัย  การวิจัยในชั้นเรียนเกิดขึ้นเนื่องจากมีปัญหาเกี่ยวกับการเรียน ของผู้เรียน หรือปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของครู แล้วครูเกิดความคิด  ความต้องการ              และปราถนาดีต่อผู้เรียนที่จะหาทางแก้ไขปัญหาหรือช่วยเหลือในรูปแบบต่าง ๆ

              2. ขอบเขตของการวิจัย  การวิจัยในชั้นเรียนมีขอบเขตที่แคบ และเฉพาะเจาะจง

              3. ครูผู้สอนเป็นศูนย์กลางของกระบวนการวิจัยทั้งหมด  โดยครูผู้สอนเป็นคนคิดเรื่อง                 และเป็นเจ้าของปัญหา เป็นผู้หาวิธีการแก้ไขหรือพัฒนา

              4. การดำเนินการวิจัยจะดำเนินไปพร้อม ๆ กับการเรียนการสอนปกติ  เพราะการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน หรือกระบวนการเรียนรู้

              5. การวิจัยในชั้นเรียนเป็นวิจัยปฏิบัติการ  เป็นการมุ่งแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียน              โดยจะต้องนำผลการวิจัยไปใช้ในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน หรือพัฒนา                 การจัดการเรียนการสอนของครูให้ทันต่อเหตุการณ์หรือสภาพปัญหาการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น

           อนงค์พร  สถิตย์ภาคีกุล  (2544 : 63 - 64) การวิจัยในชั้นเรียนมีรูปแบบการทำวิจัยได้หลายลักษณะ  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าจะศึกษาอะไรและเพื่อประโยชน์ใด จึงขอนำเสนอลักษณะของการวิจัย                    ในชั้นเรียน ดังนี้

              1.การวิจัยสำรวจ  เป็นการศึกษาลักษณะความจริง ตามสภาพจริงในเรื่องต่าง ๆ เพื่อรวบรวมข้อมูลและรายงานลักษณะที่มีอยู่ในสถานการณ์นั้นๆ เช่น  สำรวจปัญหาการใช้หลักสูตร  สำรวจการใช้หลักสูตร เป็นต้น

              2.การวิจัยหาความสัมพันธ์  เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปว่ามีความสัมพันธ์กันหรือไม่  มีอิทธิพลต่อกันหรือไม่ เช่น ศึกษาวิธีสอนของครูกับผลการเรียนรู้ของนักเรียน

              3.การวิจัยเปรียบเทียบ  เป็นการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบระหว่างตัวแปรตั้งแต่  2  ตัวขึ้นไปว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่  เช่น การศึกษาเปรียบเทียบนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอนอ่านจับใจความภาษาอังกฤษว่ามีผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษระหว่างคะแนนก่อนเรียนกับหลังเรียน  แตกต่างกันหรือไม่

              4.การวิจัยเชิงทดลอง  มี 2 ประเภท คือ การทดลองในสนามทดลองในสภาพธรรมชาติ  เช่น  ทดลองกับนักเรียนขณะอยู่ในห้องปกติ  และการทดลองในห้องปฏิบัติการ  ซึ่งสามารถจัดและควบคุมตัวแปรต่าง ๆ ได้ตามต้องการ

              4.การวิจัยเชิงทดลอง และพัฒนา  เป็นการศึกษาผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลงานที่ต้องพัฒนา  มีการสร้างผลงานบนรากฐานของผลการวิจัย  นำผลงานที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้ในภาคสนาม            ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับที่นำไปใช้จริง และมีการแก้ไขผลงานเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องจากที่ได้พบภาคสนาม  จนกระทั่งผลงานที่ร้างขึ้นบรรลุจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่กำหนดไว้

 

กระบวนการของการวิจัยในชั้นเรียน

           1. กำหนดปัญหาที่จะทำและศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง

           2. ตั้งสมมุติฐานการวิจัย / คาดคะเนคำตอบของปัญหา

           3. กำหนดรูปแบบหรือวิธีการที่จะใช้แก้ปัญหา

           4. สร้างเครื่องมือเพื่อเก็บรวมรวมข้อมูล

           5. วิเคราะห์ข้อมูล

           6. สรุปและเขียนรายงานการวิจัย

 

ปัญหาเพื่อการทำวิจัยในชั้นเรียน

              1.ปัญหาของนักเรียน  ได้แก่  ขาดเรียนบ่อย  หนีเรียน  นักเรียนมีจำนวนมากเกินไปไม่สนใจเรียน  อ่านหนังสือไม่ออก  ขาดความพร้อมในการเรียน  เกียจคร้าน  ขาดอุปกรณ์  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ  ไม่ใช้ภาษากลาง  ก้าวร้าว  ขาดคุณธรรม จริยธรรม

ขาดระเบียบวินัย  ฯลฯ

              2.ปัญหาด้านครู  ได้แก่  ขาดความรู้ความเข้าใจในการสอน  ไม่สอนแบบเน้นผู้เรียน                   เป็นสำคัญ  ไม่สอนตามแผน  มีเวลาไม่พอ  ไม่เอาใจใส่  ไม่ตรงต่อเวลา  มาทำงานสาย                            ขาดจรรยาบรรณ  ใช้อารมณ์ในการสอน  ครูทำผิดอบายมุข  ปัญหาส่วนตัว  ฯลฯ

 

ปัญหาในการทำวิจัยในชั้นเรียน

              1. ครูผู้สอนขาดความรู้  ความเข้าใจในกระบวนการของการทำวิจัยในชั้นเรียน

           2. เริ่มต้นไม่ถูก  มองปัญหาไม่ออก

           3. ขาดความร่วมมือจากผู้เรียน

           4. ขาดความร่วมมือจากผู้บริหารสถานศึกษา /ครูใหญ่ /อาจารย์ใหญ่ /เพื่อนร่วมงาน

           5. วางแผนการวิจัยไม่รัดกุม

           6. ระยะเวลาไม่เพียงพอ

           7. สภาวะแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย

 

การเขียนโครงการวิจัย

              การดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน จะต้องเขียนโครงการวิจัยเพื่อนำเสนอแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้คือ

           1. ชื่อโครงการวิจัย

           2. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

           3. วัตถุประสงค์ของการวิจัย

           4. สมมุติฐานการวิจัย

           5. ข้อตกลงเบื้องต้น

           6. ของเขตการวิจัย

           7. ประโยชน์ของงานวิจัยที่คาดว่าจะได้รับ

           8. นิยามศัพท์เฉพาะ

           9. วิธีดำเนินงานการวิจัย

               9.1 แบบวิจัยและตัวแปรการวิจัย

               9.2 ลักษณะและปริมาณของกลุ่มตัวอย่าง

               9.3 เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล

               9.4 วิธีการรวบรวมข้อมูล

               9.5 วิธีวิเคราะห์ข้อมูล

           10. ปฏิทินปฏิบัติการวิจัย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ส่วนประกอบของโครงการวิจัยในชั้นเรียน

จะทำวิจัยเรื่องอะไร

ทำไมจึงต้องทำ

มีคำศัพท์ใดต้องนิยาม

ศึกษาตัวแปรใดบ้าง

จะค้นหาตำตอบอะไร

ชื่อเรื่องอะไร

ความสำคัญของปัญหา

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

ตัวแปรที่ศึกษา

นิยามศัพท์เฉพาะ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


                                                                           

วิธีดำเนินการวิจัย

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

แผนการปฏิบัติงาน

จะทำอย่างไร

คาดว่าจะได้อะไร

    จะทำเมื่อไร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


บรรณานุกรม

 

พิชิต  ฤทธิ์จรูญ.  (2544).  การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน. 

            พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์สถาบันราชภัฏพระนคร.

ไพจิตร  สดวกการ.  (2545).  การวิจัยในชั้นเรียน.  กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

สมบัติ  บุญประคม.  (ตุลาคม 2545).  “ครูกับการวิจัยในชั้นเรียน การวิจัยเชิงปฏิบัติการ

ทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจ”.  วารสารวิชาการ.  5(10) : 35.

สำอาง  สีหาพงษ์.  (กันยายน 2544).  “การวิจัยในชั้นเรียน”.  วารสารวิชาการ. 

4(9) : 62-63.

อนงค์พร  สถิตย์ภาคีกุล.  (กรกฎาคม 2544).  “คำถามน่ารู้กับการวิจัยในชั้นเรียน”. 

วารสารวิชาการ.  4(7) : 62.

อุทุมพร  (ทองอุไร) จามรมาน.  (2544).  การวิจัยในชั้นเรียนและในโรงเรียนเพื่อ

พัฒนานักเรียน.  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ฟันนี่

(ที่มา: วิทยาเขตนครราชสีมา)
 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕