หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU
ภายในระบบ
หลักสูตร
รายละเอียดประจำวิชา
เอกสารประกอบการสอน
ตำราวิชาการ
บทความวิชาการ

หน้าหลัก » เกี่ยวกับการศึกษา » แสงธรรมแสงทองส่องการศึกษาไทย
 
เข้าชม : ๑๒๙๖๔ ครั้ง

''แสงธรรมแสงทองส่องการศึกษาไทย''
 
พระมหาลิขิต รตนรํสี (2551)

แสงธรรมแสงทองส่องการศึกษาไทย

 

[1]พระมหาลิขิต รตนรํสี                   

ความรู้  เป็นสิ่งที่มวลมนุษย์ทั้งหลาย  จะต้องแสวงหาเพื่อสร้างเสริมชีวิตของตัวเอง ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข  และความรู้นั้น ถือว่าเป็นแสงทองส่องทางแห่งชีวิตด้วย เพราะว่า จะอำนวยความสะดวกสบายมากมายและช่วยประคองตนให้มีวิถีชีวิตได้อย่างไม่ผิดพลาด   [2]ความรู้นั้น ท่านเปรียบเสมือนกับรถยนต์  ความรู้ก็เหมือนไฟหน้ารถ  รถยนต์ที่วิ่งอยู่บนถนน  มีดวงไฟสำหรับส่องทางไว้ข้างหน้าสองดวง  แม้จะวิ่งไปในยามค่ำคืน  มืดแสนมืดอย่างก็ได้ เพราะไฟหน้ารถมันส่องสาดนำไปข้างหน้าทำให้มองเห็น  ว่ามีหลุมมีบ่อ  มีเครื่องกีดขวางตรงไหน  ตรงไหนทางโค้ง  ตรงไหนทางตรง ตรงไหนต้องเลี้ยว  ตรงไหนต้องถอย  ตรงไหนควรชลอความเร็ว  ตรงไหนควรเร่งทำเวลาได้  นี้คือ  ประโยชน์ของไฟหน้ารถ  มันช่วยให้รถวิ่งไปได้อย่างราบรื่น ไม่เลี้ยวรถตกถนน  จนถึงจุดหมายปลายทาง

          ชีวิตคนจำต้องมีความรู้  มีสติปัญญา  เป็นเครื่องมือสำคัญ  ช่วยชีวิตให้ดำเนินไป  เพราะว่าความรู้จะส่องเหตุส่องผล ส่องผิด ส่องถูก  ส่องทิศทางให้แก่ชีวิต จะคอยกำจัดความมืดมนให้แก่ชีวิต            ภาษิตทางพระศาสนาก็รับรองความรู้หรือปัญญาไว้ว่า  “ปญฺญา โกสฺมึ  ปชฺโชโต”  

ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก   และอีกภาษิตหนึ่งว่า  ปญฺญา  นรานํ  รตนํ”      ปัญญา เป็นดวงแก้วของนรชน

          การศึกษาของไทยในอดีตขึ้นอยู่กับสถานที่ที่ให้การศึกษา  เป็นต้นว่า  บ้าน  วัด   วัง   สถานที่เหล่านี้มีความแตกต่างกัน คือ  บ้านนั้น  เน้นการประกอบอาชีพสืบทอดต่อๆ  กันมา  ส่วนวัด เน้นทางด้านจริยธรรม  วัฒนธรรม  ขนบธรรมเนียม ประเพณี อบรมให้เป็นมีศีลธรรม  และวัง ถือว่าเป็นแหล่งรวมนักปราชญ์ราชบัณฑิต จึงจัดการศึกษาได้อย่างกว้างขวางทั้งด้านพุทธศึกษา  จริยศึกษา  อาชีวะศึกษา    หลักสูตรที่นำมาใช้ในการเรียนการสอนนั้นขึ้นอยู่กับครูผู้สอนเป็นสำคัญ ประกอบด้วยความต้องการของผู้เรียนเป็นหลัก  และลักษณะวิชาที่ถ่ายทอด

              การที่มนุษย์ได้รับการศึกษาตามลำดับเป็นขั้นเป็นตอน จนกว่าผู้นั้นจะประสบผลสำเร็จทางด้านการศึกษาจนได้ขึ้นชื่อว่าเป็นบัณฑิต   [3]เพราะว่า คำว่าบัณฑิต  ในความหมายของวงการศึกษา หมายถึง ผู้สำเร็จปริญญา มีใบรับรองของสถาบันการศึกษา  ก็ใบประกาศนียบัตรนั่นเอง แต่เป็นระดับอุดมศึกษา  จึงยกระดับแยกเรียกใหม่ เพื่อให้ศักดิ์ศรีดูศักดิ์สิทธิ์ขึ้น  พ้นจากระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ซึ่งถือกันว่าเป็นระดับทารก ที่เริ่มจะเดียงสาหรือเดียงสาให้สมบูรณ์ได้

                  การที่ตัวเราเองมีความพยายามศึกษาเล่าเรียนพ้นจากมัธยมศึกษามุ่งสู่การศึกษาที่เรียกได้ว่าปริญญาตรีนั้นมีคุณค่าสำหรับชีวิตที่ดำเนินต่อไป  ดังคำกลอนที่กล่าวไว้ว่า

             

                             “ปริญญานั้นหรือคือกระดาษ

                             มันมิอาจเปลี่ยนแปลงสันดานได้

                             คุณความดีทำยากลำบากไซร์

                             มีเกียรติยิ่งใหญ่กว่าปริญญา”

                             “ปริญญานั่นหรือคือบัตรผ่าน

                             สู่เส้นทางการงานของคนเก่ง

                             เป็นสิ่งรองรับความหวั่นแกรง

                             เพระเหตุตนเองไม่เก่งจริง”

              ถึงตัวเราเองจะได้รับปริญญาดังใจที่เราหวังไว้ก็ตามแต่ถ้าจิตใจของเราไม่จบปริญญาตรีด้วยก็ถือได้ว่าตัวเราเองไม่จบปริญญาตรีอย่างแท้จริง

              ธรรมเป็นประตูนำพาที่จะจูงจิตใจของคนเราให้ไปสู่การศึกษาอย่างมีคุณภาพ  จึงได้มีหลักธรรมที่เหมาะกับนักเรียน  นักศึกษา และนักค้นคว้า   บุคลคลเหล่านี้จะประสบผลสำเร็จทางด้านการศึกษาได้นั้น จะต้องปฏิบัติตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เป็นต้นว่า

            . จักร     ซึ่งจักร   ประการนี้ เป็นเครื่องเป็นไปแก่มนุษย์และเทวดาผู้ประกอบเป็นเครื่องที่มนุษย์และเทวดาประกอบแล้ว ย่อมถึงความเป็นใหญ่ (และ) ความไพบูลย์ในโภคะทั้งหลาย ต่อกาลไม่นานนัก จักร    เป็นไฉน คือ จักร    อย่าง   คือ

.  ปฏิรูปเทสวาสะ  คือ การได้อยู่ในประเทศที่สมควร    คำว่า ประเทศที่สมควรนั้นได้แก่    สถานที่หรือถิ่นที่มีคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแผ่ไปถึง หรือเป็นที่อยู่หรือเป็นที่ผ่านไปมาของพระสัมมาสัมพุทธเจา พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสาวก หรืออุปาสก อุปาสิกา ผู้นับถือพระรัตนตรัย

.  สัปปุริสูปัสสยะ  คือ การเข้าไปอาศัยสัตบุรุษ หรือการคบหาสัตบุรุษ   เพราะฉะนั้น การคบหาสัตบุรุษจึงเป็นปัจจัยประการที่    ในการดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง 

 ส่งที่จะควบคุมพฤติกรรมและจิตใจของมนุษย์ได้นั้น  คือ หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา เพราะว่าพระพุทธศาสนานั้นเป็นของคูกับสังคมมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน

โดยเฉพาะประเทศไทยมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติตลอดมานับแต่โบราณ  หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาเป็นหลักยึดเหนี่ยวทางจิตใจของพระพุทธศาสนิกชนให้ไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เพื่อเป็นคนดีมีคุณธรรม  ทำให้สังคมมีความสงบเรียบร้อยประเทศชาติมีความเจริญมั่นคงเป็นปึกแผ่นมาจนทุกวันนี้  พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ทางเป็นพุทธมามกะ ได้ทรงทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคงมานถึงทุวันนี้

          ครั้นมาถึงปัจจุบันผลจากกระบวนการรับเอาอารยะธรรมตะวันตกเข้า การเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเพื่อให้ประชาชนมีความอยู่ดีกินดีตามมาตรฐานของโลกตะวันตก  เช่น ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสาธารณสุข อุดมการณ์ประชาธิปไตยซึ่งสนับสนุนคุณค่าเสรีภาพในการดำเนินชีวิต  และสนับสนุนความเสมอภาคในโอกาส และการแข่งขันเพื่อความเจริญก้าวหน้าทางสังคมของแต่ละบุคคล ได้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจจากระบบเกษตรกรรมไปสู่แบบอุตสาหกรรม ขณะเดียวกันประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ ของไทยส่วนใหญ่ซึ่งเคยเหมาะสมและผูกพันกับวิถีชีวิตตามแบบเกษตรกรรมไดรับผลกระทบกระเทือนผู้คนให้หันไปสนใจวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับวัตถุมากกว่าวัฒนธรรมทางด้านจิตใจ อันเป็นสาเหตุให้คนไทยหย่อนในเรื่องคุณธรรม  จนทำให้เกิดการทุจริตเกิดขึ้นในองค์การและนำความเดือดร้อนให้เกิดขึ้นแก่สังคมไทยส่วนใหญ่ คือประเทศชาติ

                   สังคมไทยกำลังเผชิญกับสถานการณ์ความไม่สงบเรียบร้อยในด้านต่างๆ  ได้แก่ปัญหาการก่ออาชญากรรม ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคภูมิป้องกันพกพร่อง (โรคเอดส์)  ซึ่งมีรากฐานมาจากความสำส่อนทางเพศและการใช้อุปกรณ์ยาเสพสารเสพติดร่วมกัน ปัญหาการใช้สารเสพติดในเด็กและเยาวชน ปัญหาการถูกละเมิดทางเพศ ปัญหาทะเลาะวิวาทของนักเรียนนักศึกษาเป็นต้น  หลากหลายปัญหาต่างๆ เหลานี้ สะสมทวีคุณมากยิ่งขึ้นทุกวัน และกำลังกัดกร่อนโครงสร้างของสังคมไทยที่แต่เดิมเป็นสังคมที่ไม่ละอายต่อการทำบาปและทำชั่วทั้งปวง 

          เป็นที่สังเกตว่าในสองทศวรรษที่ผ่านมานี้เรามักจะพบว่า  ผู้ก่ออาชญากรรมหรือกระทำความผิดในด้านต่างๆ มีอายุเฉลี่ยน้อยลง  ส่วนใหญ่จะเป็นเด็กและเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 15-25  และในจำนี้ผู้ที่กระทำความผิดที่เป็นเพศหญิงเพิ่มมากขึ้น  และยังสอดคล้องผลการศึกษาของสำนักเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ  (2548)  ได้ระบุประเด็นปัญหารุนแรงที่สุดที่เด็กและเยาวชนอายุระหว่าง 12 ถึง 24  ปี  เกี่ยวข้องได้แก่  เหล้า/บุหรี่,หนีเรียน,ยาเสพติด,เพศสัมพันธ์ และการพนัน สถาบันรามจิตติ (2548) ได้ประเมินสถานการณ์ของปัญหาเด็กและเยาวชนไทย เกิดจากการขาดอบอุ่นในครอบครัว,ห่างไกลวัด,ใช้ชีวิตยามว่างตามห้างสรรพสินค้า,ใช้มือถือและพูดคุยผ่านทาอินเตอร์เน็ต,ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย และเล่นการพนันผ่านโทรศัพท์ระบบ sms ปัญหาพฤติกรรมเด็กและเยาวชนทั้งหมดนี้จะส่งผลกระทบต่อครอบครัวและสังคมไทย เนื่องจากการวางรากฐานการเรียนรู้ คู่คุณธรรม เกิดขึ้นจากการเรียนรู้จากวัยเด็กจนถึงอายุ 24 ปี  เมื่อเด็กและเยาวชนขาดการปลูกฝังคุณธรรมในช่วงต้นของชีวิตจะทำให้เป็นผู้ใหญ่และครอบครัวที่ด้อยคุณธรรมในอนาคต (กรมการศาสนา, 2550 : บทนำ) นอกจากนี้ยังพบว่า  เด็กและเยาวชนมีแนวโน้มห่างเหินหลักธรรมทางศาสนา โดยเยาวชนร้อยละ 45 ไม่เคยไปทำบุญตักบาตร  และร้อยละ 65   ไม่เคยไปวัดฟังธรรมเลยใสรอบ 1 เดือน เป็นต้น    ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวสะท้อนปัญหาของสังคมไทยได้อย่างดีว่า  พฤติกรรมของเด็กและเยาวชนในปัจจุบันกำลังอยู่ในขั้นวิกฤต และจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขโดยเร่งด่วน

          เมื่อสังคมไทยเกิดปัญหาต่างๆ มากมายและบทบาทของพระสงฆ์ในอดีตที่เคยเป็นทีพึ่งทางใจของพุทธศาสนิกชนก็เปลี่ยนไป และสิ่งพระสงฆ์เคยทำในอดีต เช่น  เป็นหมอยา  เป็นครู  เป็นที่พึ่งทางใจ  เป็นศาลยุติธรรม  กลับไม่จำเป็นที่ต้องพึ่งพิง  เพราะมีโรงพยาบาล มีโรงเรียน มีจิตแพทย์ มีศาลปกครองของบ้านเมืองอยู่     [4]โดยเฉพาะเยาวชนในยุคปฏิรูปการศึกษานี้ มีพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ จึงทำไม่ให้เกิดวิกฤตการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะเกิดวิกฤตการณ์ทางสังคมพื้นฐาน คือ สถาบันครอบครัวในสังคมไทย เพราะไม่มีคุณธรรมเป็นตัวตั้ง ไปยึดเอาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเป็นตัวตั้งจึงทำให้จิตใจของเยาชนไม่เจริญไปตามความทันสมัยในด้านต่างๆ  สอดคล้องกับการศึกษาในเชิงลึกพบว่าปัจจัยเกื้อหนุนที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนคือ การหลั่งไหลของวัฒนธรรมข้ามชาติที่แฝงมากับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของสังคมไทย จากสังคมเกษตรกรรมมาเป็นสังคมอุตสาหกรรมกรรมทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานเป็นจำนวนมาก  ผลจากทั้งสองปัจจัยดังกล่าวกระทบต่อโครงสร้างระบบครอบครัวดั่งเดิมโดยตรง กล่าวคือ ทำให้ขาดดุลยภาพภายในครอบครัว สภาพการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดทางเศรษฐกิจและส่งผลให้ปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง บิดา มารดา  บุตรหลานลดน้อยถอยลงเป็นลำดับ ความผูกพันทางใจ ความห่วงหาอาทรซึ่งกันและกันได้ยากยิ่งในปัจจุบัน  เงินและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ถูกนำมาทดแทน

           เมื่อจะมีพัฒนาทางด้านการศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษาพร้อมทั้งการพัฒนาเด็กและเยาวชนของชาติให้เป็นคนดีมีคุณธรรมและจริยธรรมไปพร้อมกันนั้น จะให้เกิดผลสัมฤทธิ์และมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริงได้นั้นต้องอาศัยหลักการพัฒนาที่บิดามารดา ครู อาจารย์ในสถานศึกษา ควรใช้หลักการสร้างแก่เด็กและเยาวชน ประการ  คือ

          [5]. พัฒนาทางด้านร่างกาย  คือต้องพัฒนาให้แข็งแรงด้วยอาหาร อากาศ ออกกำลังกาย พักผ่อนตามสมควร และประสาทสัมพันธ์

          .  ด้านความรู้  คือ ต้องให้ความรู้ด้านวิชาการ ปฏิบัติการ ประสบการณ์ และรู้จักคิดด้วยเหตุผล แล้วนำไปใช้ได้

          .  ด้านความประพฤติ  คือ ต้องให้มีศีลธรรม มีความเรียบร้อยทางกาย วาจา  และใจให้มีคุณธรรม คือ สภาวะคุณความดีประจำใจ ให้มีจริยธรรม คือ คุณความดีที่ควรประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย ให้มีวัฒนธรรม คือ มุ่งหวังความเจริญของหมู่คณะตามวิถีชีวิตที่มีระเบียบแบบแผน

          .  ด้านสังคม คือ ให้รู้จักวางตัวเป็นผู้นำ ผู้ตาม ผู้ให้ ผู้รับ มีสัมมาคารวะและมารยาท รู้จักกาลเทศะ รู้จักอดกลั้นรอยคอยเล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่น ได้ดี มีระเบียบวินัย รู้หน้าที่ความสำคัญของชุมชนและครอบครัว ปฏิบัติตน ได้เหมาะสม

           .  ด้านอารมณ์  คือ รู้จักควบคุม และแสดงออกได้อย่างเหมาะสม ขณะทำงานร่วมกับผู้อื่น พัฒนาธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ไม่ทำลายธรรมชาติ และสาธารณสมบัติ ไม่ทิ้งขยะรักษาความสะอาดใช้นำไฟอย่างประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น

                ดังนั้น  คนจะสมบูรณ์สู่ความเป็นมนุษย์ได้อย่างแท้จริงนั้น ต้องอาศัยหลัก  ประการ คือ

                           [6].  การอบรมด้านศีลธรรม

                           .  การศึกษาเล่าเรียน

                           .  การตอบแทนคุณของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

                           .  การรู้จักกตัญญูกตเวทิตาธรรม

          ดังบทกลอนที่เป็นเสียงสะท้อนจากกลอนแห่งธรรมะแห่งการศึกษาฝากไว้ว่า

                             [7]“กล้วยไม้ออกดอกช้า  ฉันใด

                                การศึกษาก็เป็นไป          ฉันนั้น

                                แต่ออกดอกคราวใด         งามเด่น

                                การศึกษาปลุกปั้น             เสร็จแล้วแสนงาม”

                                “มีสัจจะทมะและขันตี

                                  กตัญญูกตเวทีอย่าโฉงเฉง

                               

                                         

                                       รักพ่อแม่พวกพ้องต้องยำเกรง

                                        เรียนให้เก่งได้ยิ่งแก่ทุกคน”

                                        “รู้อะไร  ไม่สู้  รู้วิชา

                                           ถือภาษิต  ศึกษา  สุนทรภู่

                                           สอนให้คน   ศึกษา  หาความรู้

                                           ไว้เชิดครู   ช่วยตน  ให้พ้นภัย”

                                            “สุ  สดับวากย์ไว้  เสาวณิต

                                              จิ  ตริตรองนึกคิด  ที่อ้าง

                                              ปุ  ถามที่เป็นปริศ-นานั่น เถิดดเอย

                                             ลิ   ขิตไว้อย่าร้าง  เพื่อแก้กันลืม”             

          ดังนั้น  การศึกษาของไทยในยุคปฏิรูปการศึกษาจะประสบผลสำเร็จจะต้องอาศัยความมุ่งมั่นตั้งใจจริงของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งกระบวนการ ที่จะต้องผนึกกำลังเพื่อสร้างสรรค์คุณภาพของเด็กและเยาวชนไทยให้ก้าวหน้าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง  เพื่อสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ตามแนวทางที่จะเป็น สิ่งที่จะเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาการศึกษาไทยได้อย่างแท้จริงนั้น คือต้องอาศัยระบบหลักพุทธธรรมทางพระพุทธศาสนา

           

  หนังสืออ้างอิง

                 นิราลัย. เสียงสะท้อนจากกลอนธรรม. กรุงเทพฯ : ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม, ๒๕๔๖.

              สอ้อน  แสนสุภา. คู่มือปฏิบัติศาสนกิจ. เชียงใหม่ : .ทรัพย์การพิมพ์, ๒๕๔๕.

               พระมหาลิขิต  รตนรํสี. ธรรมทรรศน์. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

                            วิทยาเขตขอนแก่น, ๒๕๔๙.

             พระพิจิตรธรรมวาที (ชัยวัฒน์  ธมฺมวฑฺฒโน).   เทศนาวาไรตี้. กรุงเทพฯ : เลี่ยงเซียง, ๒๕๓๙.

 

 

                           

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 



[1] ป.ธ.๔,พธ.บ.,กศ.ม., รักษาการหัวหน้าสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน,มจร.วิทยาเขตขอนแก่น วิทยาลัยสงฆ์เลย.

[2] พระพิจิตรธรรมวาที (ชัยวัฒน์  ธมฺมวฑฺฒโน).   เทศนาวาไรตี้. (กรุงเทพฯ : เลี่ยงเซียง, ๒๕๓๙)  หน้า  ๒๘๘

[3] พระพิจิตรธรรมวาที (ชัยวัฒน์ ธมฺมวฑฺโน). เรื่องเดียวกัน   หน้า ๒๘๓

[4]  พระมหาลิขิต  รตนรํสี. ธรรมทรรศน์, (มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น, ๒๕๔๙) หน้า ๖๕

[5]  สอ้อน  แสนสุภา. คู่มือปฏิบัติศาสนกิจ. (เชียงใหม่ : ส.ทรัพย์การพิมพ์, ๒๕๔๕) หน้า  ๗๐

[6] สอ้อน แสนสุภา. เรื่องเดียวกัน,  หน้า ๖๐

[7] นิราลัย. เสียงสะท้อนจากกลอนธรรม. (กรุงเทพฯ : ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม, ๒๕๔๖) หน้า  ๙๓-๙๘

(ที่มา: วิทยาลัยสงฆ์เลย)
 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕